กฟผ. ผุดแผนแม่บทยานยนต์ไฟฟ้า (EV) รองรับใช้ไฟโตตามแผนพีดีพีใหม่


การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตั้งคณะกรรมการฯ จัดทำแผนแม่บทยานยนต์ไฟฟ้า ตั้งรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ตามแผนพีดีพี ซึ่งตั้งเป้าไว้ที่ 1.2 ล้านคัน ภายในปี 2579 คาดแผนฯ แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคมนี้

นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กฟผ. อยู่ระหว่างจัดทำแผนแม่บทด้านการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าของ กฟผ. โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการฯ เข้ามาศึกษาให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายนนี้ และจะดำเนินการจัดทำแผนศึกษาให้แล้วเสร็จในช่วงเดือนสิงหาคม 2562 เพื่อให้สอดรับกับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (พีดีพี) ที่ตั้งเป้ารถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 1.2 ล้านคันภายในปี 2579 และมีสถานีประจุรองรับกว่า 1,000 แห่ง ส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ละปีจะเพิ่มสูงขึ้น

ทั้งนี้แผนแม่บทยานยนต์ไฟฟ้าดังกล่าว จะพิจารณาถึงปริมาณรถยนต์ไฟฟ้าที่จะเข้ามาในอนาคต ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อม จัดหาไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งมองว่าในช่วง 4-5 ปี คงจะเข้ามาไม่เร็วนัก แต่ในช่วง 10 ปีหลังจากนั้นอาจเป็นไปได้ โดยจะต้องนำมาคำนวณแผนผลิตไฟฟ้าเพื่อรองรับรถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าว

สำหรับการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าของ กฟผ. ยังอยู่ระหว่างศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนรถที่ใช้ในส่วนกลางของ กฟผ. ซึ่งในปัจจุบันมีหลายพันคัน เพื่อจะทยอยปรับเป็นรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด โดยในปีนี้ จะนำรถมินิบัสมาใช้ส่งพนักงานกลางของ กฟผ. ทั้งหมด 11 คัน รวมทั้งจะเร่งพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงของ กฟผ. ที่วิจัยร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. และพัฒนารถโดยสารประจำทางใช้แล้วของ ขสมก. อีกจำนวน 4 คัน ให้เป็นรถโดยสารไฟฟ้าต้นแบบ ซึ่งดัดแปลงเครื่องยนต์จากเชื้อเพลิงน้ำมันให้กลายเป็นเครื่องยนต์ไฟฟ้า คาดว่าจะแล้วเสร็จได้ภายในปี 2562

ขณะที่ในส่วนของการพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้านั้น กฟผ. อยู่ระหว่างการพิจารณาเลือกพื้นที่จัดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าในสถานีไฟฟ้าย่อยของ กฟผ. ที่ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 230 แห่ง เพื่อรองรับรถยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบัน กฟผ. ได้เปิดสถานีประจุไฟฟ้าไปแล้ว รวม 23 แห่ง ใน 8 พื้นที่ทั่วประเทศ แบ่งเป็น สถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบธรรมดา (Normal Charge) จำนวน 11 สถานี และสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบเร็ว (Quick Charge) จำนวน 12 สถานี ซึ่งได้เปิดโครงการให้ประชาชนที่ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการนำร่องใช้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าของ กฟผ. ได้ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยเริ่มเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2562


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save