น้ำตาลบุรีรัมย์ ชูโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมชีวมวล เสริมความมั่นคงด้านพลังงานทดแทน


          บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BRR หนึ่งในผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมน้ำตาลของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ที่ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 

          ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 22,000 ตันอ้อยต่อวัน เปิดหีบอ้อยประมาณ 120 วันต่อหนึ่งฤดูหีบอ้อย หรือคิดเป็นปริมาณอ้อยประมาณ 2.3 ล้านตัน มีกากอ้อยเหลือจากกระบวนการผลิตปีละมากกว่า 750,000 ตัน จึงใช้เงินลงทุนรวมมากกว่า 1,000 ล้านบาท จัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมชีวมวลขึ้น 2 แห่ง คือ โรงไฟฟ้าบริษัท บุรีรัมย์พลังงาน จำกัด (BEC) และ โรงไฟฟ้าบริษัท บุรีรัมย์เพาเวอร์ จำกัด (BPC) โรงไฟฟ้าภายในบริเวณเดียวกับโรงงานน้ำตาลเพื่อนำกากอ้อยมาผลิตไอน้ำและไฟฟ้า กำลังการผลิตไอน้ำรวม 185 ตัน/ชั่วโมง ส่งไอน้ำแรงดันสูงไปผลิตไฟฟ้า กำลังการผลิตรวมทั้ง 2 โรง 19.8 เมกะวัตต์ จำหน่ายไฟฟ้าที่ผลิตได้ 16 เมกะวัตต์ ให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ภายใต้สัญญา VSPP แบบ Non-Firm และส่งไฟฟ้าและไอน้ำบางส่วนกลับไปขายให้แก่โรงงานน้ำตาลเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต


          สำหรับโรงไฟฟ้า BEC นั้น มีกำลังการผลิตติดตั้ง 9.9 เมกะวัตต์ ใช้กากอ้อยเป็นเชื้อเพลิงหลัก และยังสามารถใช้ไม้สับ ใบอ้อย และแกลบ เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกด้วย BEC จำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ กฟภ. จำนวน 8 เมกะวัตต์ และใช้ภายในโรงงาน 1.9 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้า BEC ตั้งอยู่บนพื้นที่ใกล้เคียงกับโรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ เพื่อความสะดวกในการนำกากอ้อยที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลมาใช้เป็นเชื้อเพลิง และสะดวกในการจ่ายไฟฟ้า
          ส่วน BPC นั้นเป็นโรงไฟฟ้าแห่งที่ 2 ของกลุ่มบริษัทน้ำตาลบุรีรัมย์ มีกำลังการผลิตติดตั้งจำนวน 9.9 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 100 ตัน/ชั่วโมง ใช้กากอ้อยเป็นเชื้อเพลิงหลัก ใช้ไม้สับและใบอ้อยเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระแสไฟฟ้าเช่นเดียวกับ BEC อีกทั้งโรงไฟฟ้า BPC ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับโรงไฟฟ้า BEC และโรงงานน้ำตาล BSF เพื่อความสะดวกในการขนส่งกากอ้อยที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าโดยไฟฟ้าที่ผลิตได้จะจำหน่ายให้แก่ กฟภ. ซึ่ง BPC ได้เข้าทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า กับ กฟภ.ในระบบ Feed-in-Tariff (FiT) ที่ปริมาณพลังงานไฟฟ้าสูงสุด 8 เมกะวัตต์ ที่ระบบแรงดัน 22,000 โวลต์ โครงการดังกล่าวมีขนาดเนื้อที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 46.96 ไร่ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 5 ส่วนหลักๆ ได้แก่ พื้นที่โรงไฟฟ้า พื้นที่บ่อกักเก็บน้ำดิบ พื้นที่สีเขียว พื้นที่ก่อสร้างสำนักงาน และอาคารเก็บเชื้อเพลิง                 อย่างไรก็ตาม โรงไฟฟ้าใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง ออกแบบและบริหารจัดการโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบ ดำเนินการผลิตสอดคล้องกับรอบการผลิตและการใช้พลังงานของโรงงานน้ำตาล โดยใช้กากอ้อย 1,200-1,400 ตัน/วัน ในฤดูหีบอ้อย และใช้กากอ้อยที่เก็บรวบรวมไว้ 900-1,050 ตัน/วัน นอกฤดูหีบอ้อย เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหม้อไอน้ำ ผลิตไอน้ำแรงดันสูง 40 Bar อุณหภูมิ 150-500 oC ไฟฟ้าส่วนที่เหลือนำไปใช้ผลิตไฟฟ้าจำหน่ายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, ใช้เองภายในโรงงานไฟฟ้า และส่งส่วนหนึ่งไปใช้งานภายในโรงน้ำตาล ซึ่งไอน้ำที่ใช้ผลิตไฟฟ้าแล้วจะมีความดันต่ำลงแต่ยังคงมีความร้อน จึงสามารถนำกลับไปใช้ในกระบวนการผลิตของโรงงานน้ำตาลได้ ถือเป็นการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
           ส่วนเงินลงทุนรวมสำหรับโรงไฟฟ้าทั้งสองโรง ประมาณ 1,089 ล้านบาท สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าปีละ 100,000 MWh และไอน้ำมากกว่า 1.5 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ารายได้จากการจำหน่ายพลังงานมากกว่า 70 ล้านบาท/ปี ทำให้มีผลตอบแทน (IRR) ประมาณ 22% และมีระยะเวลาคืนทุนประมาณไม่เกิน 5 ปี                                                                                               โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมชีวมวล ของ บริษัท บุรีรัมย์พลังงาน (BEC) จำกัด และบริษัท บุรีรัมย์ เพาเวอร์ จำกัด (BPC) ได้รับรางวัลดีเด่นด้านพลังงานทดแทน ประเภทโครงการพลังงานความร้อนร่วม (Cogeneration) จากการประกวด Thailand Energy Awards ประจำปี ค.ศ. 2017 และ ค.ศ. 2018 และทั้ง 2 โรงยังได้รับคัดเลือกส่งเข้าร่วมการประกวด ASEAN Renewable Energy Project Competition ประเภท Cogeneration ด้วย โดย BEC เข้าร่วมการประกวดปี ค.ศ. 2017 และได้รับรางวัลชนะเลิศ ส่วน BPC ได้รับคัดเลือกส่งเข้าร่วมการประกวดปี ค.ศ. 2018 อีกด้วย 

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save