ราคาน้ำมันพุ่ง สหรัฐเตรียมคว่ำบาตร ประเทศนำเข้าน้ำมันอิหร่าน


  • เมื่อวานนี้ (22 เมษายน 2562) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก พุ่งสูงขึ้นฉับพลัน หลังรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การการนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังตัดสินใจเพิ่มมาตรการปิดกั้นการส่งออกน้ำมันของอิหร่าน โดยอาจยกเลิกสิทธิพิเศษสำหรับ 8 ชาติ ในการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านได้ต่ออีก 6 เดือน หลังสหรัฐประกาศมาตรการแซงก์ชั่นอิหร่านไปเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นมาตรการปิดกั้นการส่งออกน้ำมันต่ออิหร่าน เพื่อบีบให้อิหร่านเปิดการเจรจาว่าด้วยโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ใหม่ ซึ่งจะทำให้ประเทศอย่างจีน อินเดีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ ตุรกี อิตาลี และกรีซ ที่ยังสามารถนำเข้าน้ำมันดิบของอิหร่านได้จนถึงขณะนี้ ไม่สามารถทำได้อีกต่อไป โดยหากฝ่าฝืนอาจเผชิญหน้ากับมาตรการแซงก์ชั่นจากสหรัฐโดยตรง

หลังการประกาศท่าทีดังกล่าวของสหรัฐฯ ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้นทันทีกว่า 3% โดยคำสั่งซื้อน้ำมันดิบชนิดเบรนท์ล่วงหน้าเพิ่มขึ้น 3.2% ไปอยู่ที่ 74.30 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งนับเป็นระดับราคาที่สูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบเวสต์ เท็กซัส อินเตอร์มีเดียต (ดับเบิลยูทีไอ) ได้ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน โดยปรับตัวขึ้นกวา 2.9% มาอยู่ที่ระดับ 65.87 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นราคาสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคมปีที่ผ่านมาเช่นกัน

นายปีเตอร์ เคียร์แนน นักวิเคราะห์ด้านพลังงานของบริษัทวิจัยอีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิท (อีไอยู) ระบุว่า การสูญเสียน้ำมันดิบจากอิหร่านจากมาตรการดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อตลาดโลกสูงมากขึ้น ในท่ามกลางความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ส่งผลลบต่อผู้ส่งออกรายอื่นอย่างประเทศเวเนซุเอลาและลิเบียอยู่แล้ว อีกทั้งมาตรการดังกล่าวยังมาเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับการปรับลดปริมาณน้ำมันดิบในตลาดโลกของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือ โอเปค นั่นยิ่งทำให้ซัพพลายในตลาดที่ก่อนหน้านี้ตึงตัวอยู่แล้ว มีผลให้น้ำมันดิบเบรนท์ปรับราคาสูงขึ้นกว่า 1 ใน 3 ส่วนดับเบิลยูทีไอเองก็ปรับราคาเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยปัจจุบันปรับขึ้นแล้วกว่า 40%

ทั้งนี้ความเคลื่อนไหว และราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นดังกล่าว จะส่งผลกระทบมากที่สุดต่อกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้เพราะประเทศอย่างจีนและอินเดีย ถือเป็นลูกค้ารายใหญ่สุดของอิหร่าน รวมถึงเกาหลีใต้เองซึ่งก่อนหน้านี้นำเข้าน้ำมันจากอิหร่านเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีก็อาจจะได้รับผลกระทบนี้ด้วยเช่นกัน


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save