สวทช. มุ่งพัฒนาตั้งศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่รองรับการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า


สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานราชการสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มุ่งสร้างเสริมการวิจัย พัฒนา ออกแบบ พร้อมส่งเสริมด้านการพัฒนากำลังคนและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และสนับสนุนการดำเนินงานทุกส่วนสู่สังคมฐานความรู้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปัจจุบันผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ คือ ดร. ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ซึ่งเป็นผู้นำระบบบริหารคุณภาพ อีกทั้งยังมีความรู้และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบคุณภาพอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในคณะทำงานจัดตั้งรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เป็นอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการเทคนิครางวัลคุณภาพแห่งชาติ และผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานของ สวทช. ให้เดินหน้าพัฒนาเพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติ

ศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่รองรับการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าดร. ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมอุตสาหการ (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับรางวัลเหรียญทองเรียนดีจากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และทุนรัฐบาลไทยเพื่อศึกษาต่อจนจบปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมการผลิต จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ โดยได้เริ่มงานครั้งแรกปีพ.ศ. 2536 ในตำแหน่งนักวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ต่อมาในปีพ.ศ. 2540 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโครงการระบบคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งรับผิดชอบให้คำปรึกษาในการพัฒนาระบบคุณภาพแก่ผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และในปีพ.ศ. 2543 ย้ายมาปฏิบัติงานด้านบริหารในตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยดูแลงานในสายสนับสนุนต่าง ๆ ตั้งแต่งานบริหารบุคลากร งานพัฒนาองค์กร งานการเงินและบัญชี และงานพัสดุ เป็นต้น หลังจากนั้นปีพ.ศ. 2547 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองผู้อำนวยการ สวทช. และต่อมาปีพ.ศ.2559 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สวทช. จนถึงปัจจุบัน

ดร.ณรงค์ ได้ริเริ่มโครงการต่าง ๆ ใน สวทช. อีกมากมายพร้อมปรับภาพลักษณ์องค์กร สวทช. โดยล่าสุดเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ผลักดัน สวทช. ลงนามความร่วมมือกับบริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด โดยมอบให้ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) เป็นแล็บทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าแห่งแรกในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน เป็นห้องปฏิบัติการทดสอบแบตเตอรี่ และห้องปฏิบัติการทดสอบยานยนต์อัตโนมัติ โดยตั้งเป้าให้เกิดการใช้งานห้องปฏิบัติการทดสอบแบตเตอรี่ในประเทศไทย และพัฒนาทักษะองค์ความรู้ของผู้ปฏิบัติงานทดสอบในประเทศ ซึ่งจะเป็นศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศไทยสำหรับรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ประเภท BEV เพื่อให้เกิดการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี และสนับสนุนการทดสอบแบตเตอรี่ในยานยนต์ไฟฟ้าที่ครอบคลุม รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในอนาคต เพื่อรองรับการมาถึงของรถยนต์กลุ่มนี้ในอนาคต

ดร. ณรงค์ กล่าวถึงแนวคิดการจุดประกายสำหรับความร่วมมือดังกล่าวว่า “จุดเริ่มต้นเนื่องมาจากทางบริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ฯ มีความตั้งใจจะผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่ง สวทช. ในฐานะเป็นหน่วยงานภาครัฐ เราได้ศึกษาค้นคว้าวิจัย และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกัน จึงเล็งเห็นว่าน่าจะทำให้เกิดการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในไทยขึ้นได้ จึงตัดสินใจร่วมกันจัดตั้งศูนย์ทดสอบแบตเตอร์รี่สำหรับชาร์จไฟเพื่อให้เป็นการผลิตแบตเตอรี่และปฏิบัติการทดสอบเท่าเทียมระดับโลก และยังสามารถส่งออกไปยังนานาประเทศได้อีกด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในทุก ๆ ด้าน”

ศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่รองรับการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

สำหรับคุณสมบัติของแบตเตอรี่ลิเธียมนี้ เป็นนวัตกรรมที่สามารถเก็บกักพลังงานได้ดี น้ำหนักเบา และสามารถชาร์จซ้ำ ๆ ได้หลายครั้ง ซึ่งจากการทดสอบแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดสำหรับรถเบนซ์สามารถวิ่งได้ระยะทางไกล 500 กิโลเมตร หรือวิ่งระยะทางไกลที่สุดต่อการชาร์จไฟ 1 ครั้ง และกรณีหากผู้ขับขี่ต้องขับอยู่ในถนนที่มีน้ำท่วมสูง การทำงานของแบตเตอรี่ลิเธียมที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงที่สุดจึงสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่ได้ตลอดการเดินทาง ทั้งนี้ เนื่องจากลิเธียมเป็นส่วนประกอบหลักของแบตเตอรี่ เป็นสารที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนง่ายและอาจเกิดการติดไฟขึ้นได้ จึงต้องมีการควบคุมกระบวนการผลิต การใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ การดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงที่ถูกต้อง

ศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่รองรับการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

“PTEC จัดตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบแบตเตอรี่ทั้งในระดับเซลล์ โมดูล และแบตเตอรี่แพ็ค และการจัดตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบยานยนต์ไร้คนขับแห่งอนาคตแบบครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย เช่น การทดสอบประสิทธิภาพการชาร์จ-ดิสชาร์จ เพื่อประมาณอายุการใช้งาน และการรับประกันอายุแบตเตอรี่ที่ยาวนาน การทดสอบความปลอดภัยของแบตเตอรี่เมื่อเกิดการจมน้ำ จากสถานการณ์น้ำท่วมถนนและการตกลงในน้ำ การทดสอบความปลอดภัยของแบตเตอรี่ เมื่อขับบนถนนทางลูกรัง ถนนดิน ซึ่งมีฝุ่นมากของประเทศไทย รวมทั้ง การทดสอบสภาวะการทำงานของแบตเตอรี่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบทันทีทันใดจากร้อนสู่เย็นแบบทันทีทันใด เพื่อส่งแบตเตอรี่ไปจำหน่ายต่างประเทศ และการทดสอบการทำงานของแบตเตอรี่ด้วยการจำลองสภาวะการสั่นสะเทือนการกระแทก เมื่อขับบนถนนขรุขระ การตกหลุมบ่อบนถนน ตกไหล่ทาง และกระแทกคอสะพาน เป็นต้น” ดร.ณรงค์ กล่าว

ศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่รองรับการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

ดังนั้น PTEC สวทช. จึงเป็นห้องแล็บสำหรับปฏิบัติการทดสอบแบตเตอรี่ที่จะช่วยผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมพลังงานใหม่ในประเทศไทย โดยห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานสากลจะทำให้อุตสาหกรรมในประเทศประหยัดค่าทดสอบ ค่าขนส่ง สามารถแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่ที่ไม่เป็นไปตามที่ออกแบบ และเพื่อสนองนโยบายการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ และพัฒนาฐานการผลิตแบตเตอรี่ให้เกิดในประเทศไทยอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 94 กรกฎาคม-สิงหาคม 2562 คอลัมน์ GREEN People โดย กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save