สจล. จัดงาน “KMITL Engineering Project Day 2019” แสดงนวัตกรรมอัจฉริยะ ฝีมือนักศึกษา


สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดงาน “KMITL Engineering Project Day 2019” โครงการผลงานด้านวิศวกรรม ประจำปี 2562 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัตดิ์ อธิบการบดี สจล. กล่าวในหัวข้อ “วิศวกรไทยกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมในยุคดิจิทัล” พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.คมสัน มาลิสี คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการจัดงานเพื่อแสดงผลงานจากการรวบรวมวิจัยและนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์อัจฉริยะฝีมือนักศึกษาใน 20 สาขาวิชา กว่า 400 ผลงาน ที่มีแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมสจล. โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดงาน “KMITL Engineering Project Day 2019” งานแสดงผลงานจากการรวบรวมวิจัยและนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์อัจฉริยะฝีมือนักศึกษาใน 20 สาขาวิชา กว่า 400 ผลงาน ที่มีแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

สำหรับผลงานที่นำมาจัดแสดงในโครงการครั้งนี้กลุ่มนักศึกษาได้มุ่งเน้นประดิษฐ์นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม และนวัตกรรมอัจฉริยะสายสุขภาพ ได้แก่ นวัตกรรมการลดการไหลของน้ำในดินเพื่อการปรับปรุงดินอย่างยั่งยืน เป็นพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมที่นำวัสดุธรรมชาติที่มีต้นทุนต่ำเพื่อทดแทนวัสดุคาร์บอนสูง ด้วยการนำแบคทีเรียเดกซ์ทรานซึ่งเป็นแบคทีเรียธรรมชาติมาใช้เพื่อลดอัตราการไหลของน้ำในดิน ทดแทนวิธีเดิมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงดิน ขณะที่นวัตกรรมเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบไม่สัมผัสร่างกาย เป็นเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดโดยอาศัยหลักการนำไฟฟ้าของน้ำตาลในเลือดด้วยทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ หลักการอิมพีแดนซ์ ซึ่งสามารถบอกได้ว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ และเพื่อให้เกิดความสะดวกในการวัดค่าน้ำตาลในเลือดโดยไม่จำเป็นต้องเจาะเลือด โดยยิ่งระดับน้ำตาลในเลือดยิ่งต่ำ ค่าอิมพีแดนซ์ (ค่าความต้านทาน) จะยิ่งสูง ในขณะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ค่าอิมพีแดนซ์จะยิ่งต่ำ

สจล. จัดงาน “KMITL Engineering Project Day 2019” แสดงนวัตกรรมอัจฉริยะ ฝีมือนักศึกษา

นวัตกรรมตะเกียบชีวภาพรับประทานได้ โดยใช้วัตถุดิบจากแป้งถั่วเหลืองและแป้งข้าวโพด เพื่อทดแทนตะเกียบไม้ไผ่ชนิดใช้แล้วทิ้ง ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณปัญหาขยะที่มีมากในปัจจุบัน เพราะสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ หรือ ย่อยสลายไปด้วยการทานตะเกียบพร้อมกับอาหาร สำหรับการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมต้นแบบขาเทียมควบคุมด้วยคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ มีแนวคิดในการออกแบบระบบขาเทียมโดยควบคุมการเคลื่อนไหวด้วยคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) เพื่อแปลงสัญญาณและจำลองรูปแบบลักษณะคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อที่ใช้โปรแกรมและส่งไปยังระบบควบคุมขาเทียมเพื่อประมวลผลด้วยโปรแกรม Arduino ให้ขาเทียมเคลื่อนไหวได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน

ระบบการจัดการวันเก็บเกี่ยวทุเรียนบนสมาร์ทโฟน โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนข้อมูลทางการเกษตร ซึ่งรูปแบบการทำงานของระบบจะเชื่อมต่อบลูทูธระหว่างชุดอุปกรณ์สแกนกับแอปพลิเคชั่น จากนั้นนำไปสแกนที่ติดอยู่กับต้นทุเรียน ระบบจะแสดงรหัสประจำต้นทุเรียนในการจดบันทึกข้อมูลรหัสต้น ปีการผลิต วันดอกบาน วันเก็บเกี่ยว รุ่นของดอก/ผล และจำนวนลูก เพื่อคำนวณวันเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งเกษตรกรเจ้าของสวนทุเรียนสามารถลงในแอปพลิเคชันบนมือถือสมาร์ทโฟน

โครงการด้านวิศวกรรม “KMITL Engineering Project Day 2019” ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทำให้เกิดการทำงานเป็นทีม การวิเคราะห์ สังเคราะห์ ด้วยความรู้ที่นักศึกษาได้เรียนและลงมือค้นคว้า รวมถึงการหาวิธีแก้ปัญหาและหาคำตอบซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการกระตุ้นแบบสหวิทยาการที่ล้วนเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในทุกมิติของการศึกษาไทย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save