พลังงานเผยแพร่ข้อมูลภาพรวมการปฏิรูปประเทศ ด้านพลังงาน 6 ด้าน 17 ประเด็น


กระทรวงพลังงาน เปิดเผยเอกสารภาพรวมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 การบริหารจัดการพลังงาน ด้านที่ 2 ไฟฟ้า ด้านที่ 3 ปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ด้านที่ 4 สนับสนุนพลังงานทดแทน ด้านที่ 5  การอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และด้านที่ 6 เทคโนโลยี นวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งสิ้น 17 ประเด็นปฏิรูป ซึ่งเป็นการปฏิรูปด้านพลังงานทั้งในระยะสั้น (ปี 2561-2562) และระยะปานกลาง (ปี 2563-2565) โดยเปิดให้ดาวน์โหลดข้อมูลแก่ประชาชน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในประโยชน์ที่จะได้รับ

ทำไมต้องปฏิรูปพลังงาน ?

จากสถานการณ์พลังงานที่การจัดการพลังงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ตลาดไม่เอื้อต่อการแข่งขัน การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีใหม่ที่มีผลต่อการใช้ และการจัดการพลังงานยังไม่มีการประเมินผลประทบและการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจน ตลอดจนการบริหารจัดการภาครัฐที่ผ่านมาขาดการยอมรับของประชาชน ก่อให้เกิดความขัดแย้งและนำไปสู่การชะงักของการลงทุนด้านพลังงานที่สำคัญของประเทศ อาทิ การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม และการลงทุนโรงไฟฟ้า เป็นต้น

คณะกรรมการปฎิรูปประเทศด้านพลังงาน พิจารณาเห็นว่าหากไม่เร่งแก้ไขปัญหา และปรับเปลี่ยนการพัฒนาด้านไฟฟ้าทั้งระบบ อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจาก “พลังงาน” ถือเป็นสาขาการผลิตที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ คณะกรรมการฯ จึงวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหา อย่างครบวงจร และกำหนดโร้ดแมป การปฏิรูป 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) เพื่อมุ่งปรับการบริหารจัดการพลังงาน ปรับโครงสร้างกิจการพลังงานให้มีการแข่งขันเพิ่มขึ้น พัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชนมีอิสระด้านพลังงานในการผลิตเอง ใช้เอง เหลือขายส่งเสริการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในทุกภาคส่วน ตลอดจนผลักดันการสร้างรายได้ใหม่ของประเทศจากอุตสาหกรรมพลังงาน โดยมีสาระสำคัญการดำเนินการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน 6 ด้าน 17 ประเด็นปฏิรูป ที่จะต้องผลักดันให้เริ่มดำเนินการภายในปี 2561 และผลประโยชน์ที่ประเทศและประชาชนจะได้รับ ได้แก้

ข้อมูลภาพรวมการปฏิรูปประเทศ ด้านพลังงาน 6 ด้าน 17 ประเด็น

แผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน

  • ด้านที่ 1 การบริหารจัดการพลังงาน
    • การปฏิรูปองค์กร
    • พัฒนาศูนย์สารสนเทศ
    • สร้างธรรมมาภิบาล
  • ด้านที่ 2 ไฟฟ้า
    • โครงสร้างแผน PDP
    • เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
    • โครงสร้างการบริหารกิจการไฟฟ้า
  • ด้านที่ 3 ปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
    • พัฒนาอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ
    • พัฒนาปิโครเคมีระยะที่ 4
  • ด้านที่ 4 สนับสนุนพลังงานทดแทน
    • ระบบบริหารจัดการโรงไฟฟ้าชีวมวลไม้โตเร็ว
    • เชื้อเพลงขยะมูลผอยเพื่อผลิตไฟฟ้า
    • ติดตั้งโซลาร์รูฟเสรี
    • พลังงานในภาคขนส่งระยะ 20 ปี
  • ด้านที่ 5 การอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
    • การใช้พลังงานในกลุ่มอุตสาหกรรม
    • ข้อบัญญัติเกณฑ์มาตรฐานอาคาร BEC
    • มาตรฐาน ESCO สำหรับภาครัฐ
  • ด้านที่ 6 เทคโนโลยี นวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน
    • ยานยนต์ไฟฟ้า
    • ระบบกักเก็บพลังงาน

สรุปผลผลิตที่จะเกิดขึ้นจากการปฎิรูปประเทศด้านพลังงาน ระยะสั้น (ปี 2561 – 2562)

มุ่งเน้นการปรับปรุงการบริหารจัดการพลังงาน สร้างแผนจัดหาพลังงานที่ได้รับการยอมรับ ส่งเสริมพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน และกำหนดทิศทางการพัฒนาและการลงทุนเทคโนโลยีใหม่ของประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้แก่

  • ปรับโครงสร้างบริหารกิจการไฟฟ้า และส่งเสริมกิจการไฟฟ้าเสรีที่ใช้พลังงานทดแทน
  • สร้าง Code of Content ในหน่วยงานพลังงานของประเทศ
  • สร้างศูนย์บริหารร่วมโรงไฟฟ้าที่แท้จริง สนับสนุนการลงทุนประเทศ
  • การสร้างศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ
  • มีพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้า ที่ประชาชนเสนอเองเป็นครั้งแรก
  • รัฐบาลปรับแผนการจัดหาพลังงานใหม่ทั้งไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน
  • ศึกษาโอกาสพัฒนาเป็น Regional LNG Trading Hub
  • ริเริ่มการสร้างฐานเศรษกิจใหม่ของประเทศจากปิโตรเคมี
  • จัดทำกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการใช้ข้อบัญญัติเกณฑ์มาตรฐานอาคารด้านพลังงาน (Building Energy Code: BEC) และการใช้มาตรการบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) สำหรับหน่วยงานภาครัฐ
  • มีการกำหนดทิศทางการลงทุนและการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงานที่ได้รับการยอมรับจากผู้ลงทุน

สรุปผลผลิตที่จะเกิดขึ้นจากการปฎิรูปประเทศด้านพลังงาน ระยะปานกลาง (ปี 2563 – 2565)

การบริหารจัดการด้านพลังงานมีธรรมาภิบาล มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตามแผนการจัดหาที่ปรับปรุงใหม่ กระตุ้นการลงทุนด้านพลังงาน และเพิ่มขีดความสามารถของประเทศได้อย่างมีนัยสำคัญ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ได้แก่

  • มีโรงไฟฟ้า สายส่ง ระบบท่อ ตามแผนการลงทุนและจัดหาโครงสร้างพื้นฐาน
  • ลดการผูกขาด สร้างการแข่งขันในทุกกิจการพลังงาน ประชาชนเข้าถึงการใช้พลังงานในราคาที่เป็นธรรม ได้รับคุณภาพและการบริการที่ดีขึ้น
  • เริ่มสร้างฐานการลงทุนใหม่จากปิโครเคมี ระยะที่ 4
  • บังคับใช้กฏหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ยานยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงาน มีการขยายตัวภายในประเทศตามเป้าหมายของคณะกรรมการระดับประเทศ

ทั้งนี้ ประชาชนทุกภาคส่วนและผู้สนใจที่ต้องการทราบข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมของแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ทั้ง 6 ด้าน 17 ประเด็น ตามข้างต้น สามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลและดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่ http://bit.ly/2EgwvoP

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save