แม่สอดพลังงานสะอาดวางเป้าหนุนปลูกอ้อยล้านตัน/ปี “โชว์บริหารลดต้นทุนการผลิตคว้ารางวัลระดับอาเซียน”


แม่สอดพลังงานสะอาด เตรียมส่งเสริมการปลูกอ้อย เป้าหมาย 1 ล้านตันต่อปี ในปีฤดูการผลิตปี 63/64 หวังป้อนผลิตเอทานอลให้เต็มกำลังผลิตได้ 250,000 – 260,000 ลิตรต่อวัน โชว์ศักยภาพบริหารจัดการผลิต ปรับปรุงเครื่องจักรลดการสูญเสีย ได้ทุกผลิตภัณฑ์ นำของเสียในกระบวนการผลิต ผลิตไฟฟ้าขายเข้าระบบ คว้ารางวัล ASEAN Energy Awards 2018 ที่ประเทศสิงคโปร์

ชนนี หนูบุตร ผู้จัดการฝ่ายบริหารและการเงิน บริษัท แม่สอดพลังงานสะอาด จำกัด ผู้ผลิตเอทานอลจากน้ำอ้อยในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตากกลุ่มมิตรผล เปิดเผยว่า บริษัทฯได้ทำการส่งเสริมการปลูกอ้อยในพื้นที่แม่สอดเพื่อนำไปผลิตเป็นเอทานอล โดยในปี 2560/ 2561 มีผลผลิตอ้อยจำนวน 600,000 ตันจากพื้นที่ปลูกอ้อยประมาณ 56,000 ไร่ และมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้เกิดการขยายการปลูกอ้อยเป็น 1,000,000 ตัน ซึ่งจะใช้พื้นที่ปลูกอ้อยประมาณ 100,000 ไร่ ในฤดูการผลิตปี 2663/2664 เพื่อขยายกำลังการผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งสามารถผลิตได้เต็มกำลังการผลิตอยู่ที่ 250,000-260,000 ลิตรต่อวัน จากปัจจุบันที่ผลิตได้ประมาณ 240,000 ลิตรต่อวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่าความหวาน และผลผลิตความสะอาดของอ้อยที่เข้าสู่โรงงาน

ชนนี หนูบุตร ผู้จัดการฝ่ายบริหารและการเงิน บริษัท แม่สอดพลังงานสะอาด จำกัด

“ในพื้นที่แม่สอด เป็นพื้นที่ปลูกพืชเพื่อพลังงานโดยแท้จริง เนื่องจากเป็นพื้นที่ซึ่งมีสารแคชเมียม แต่ในปี 2555 รัฐบาลขณะนั้นมองว่าจะทำอย่างไรให้ช่วยเหลือชาวบ้านที่แม่สอดมีแหล่งทำกิน และมีรายได้จึงเกิดการส่งเสริมให้ปลูกอ้อยเพื่อส่งเข้าโรงงานเพื่อผลิตเป็นเอทานอลแทน เพราะอ้อยที่ผลิตได้ในพื้นที่นี้ไม่สามารถนำไปแปรรูปในอุตสาหกรรมอ้อยน้ำตาลเพื่อการบริโภคได้ ขณะเดียวกันก็ปลูกได้แค่ช่วงเม.ย.-ธ.ค. ช่วงนี้จึงนำน้ำอ้อยสดมาผลิตเอทานอลได้แต่หลังจากนั้นจะต้องใช้วิธีบริหารจัดการโดยใช้วิธีการผลิตเป็นไซรับเพื่อเป็นวัตถุดิบผลิตเอทานอลในช่วงนอกฤดูกาล ประกอบกับมีการบริหารลดการสูญเสียในทุกกระบวนการผลิตทำให้ต้นทุนลดต่ำ เป็นผลให้ปีที่ผ่านมา บริษัทสามารถสร้างรายได้ปีละเฉลี่ย ประมาณ 2,000 ล้านบาท” ชนนีกล่าว

สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจให้ความสำคัญในด้านการบริหารจัดการในกระบวนการผลิตที่สามารถลดการสูญเสียในทุกผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทั้งในด้านการแปรรูปอ้อยเพื่อผลิตเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเอทานอล และยังสามารถนำของเสียจากกระบวนการผลิตไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจำนวน 16 เมกะวัตต์ ซึ่งนำกลับมาใช้ในโรงงานจำนวน 5.6 เมกะวัตต์ และที่เหลือจำหน่ายเข้าระบบให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) อย่างไรก็ตามในอนาคตบริษัทมีแผนที่จะขยายกำลังการผลิต เอทานอลแล้วยังกำลังพิจารณาขยายกำลังการผลิตไฟฟ้า เพิ่มขึ้นอีก 16 เมกกะวัตต์ เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้กับประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย โดยการใช้วัตถุดิบจากโรงงานที่มีอยู่ แต่จะดำเนินการได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับผลประกอบการและความต้องการใช้ไฟฟ้าประเทศเพื่อนบ้าน

“แม้ว่าบริษัทต้องเผชิญกับภาวะปริมาณอ้อยที่ป้อนเข้าสู่โรงงานจะมีจำนวนจำกัด แต่ด้วยศักยภาพระบบการบริหารจัดการ ทำให้บริษัทสามารถดำเนินการผลิตได้ตลอดปีและในการเพิ่มประสิทธิภาพทั้งการปรับปรุงการผลิต และมีการนำของเสียจากระบบมาใช้ประโยชน์ ทำให้เกิดมูลค่าและยังเป็นการยกระดับความเป็นอยู่ให้กับเกษตรกรผู้เพาะปลูกอ้อยในพื้นที่ แล้ว เอทานอลยังถือเป็นพลังงานสะอาดที่ผู้ค้าน้ำมันได้นำไปผสมกับเบนซินเพื่อจำหน่ายเป็นแก๊สโซฮอล์ลดการนำเข้าพลังงานให้กับประเทศอีกด้วย ดังนั้นด้วยการบริหารจัดการทั้งหมดนี้จึงทำให้บริษัท ได้รับรางวัลรองชนะเลิศในเวที ASEAN Energy Awards 2018 ที่ประเทศสิงคโปร์ ในสาขา Biofuel Category ” ชนนีกล่าว


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save