กกพ. เตรียมเคาะหลักเกณฑ์ โซลาร์ภาคประชาชน รับซื้อเข้าระบบ เป้า 100 เมกะวัตต์/ปี


คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เตรียมชี้แจงรายละเอียดรับซื้อไฟฟ้าโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาที่อยู่อาศัย (โซลาร์ภาคประชาชน) ในเดือนมี.ค. นี้ ตามนโยบายของภาครัฐที่บรรจุไว้ในแผน PDP 2018 ที่จะนำร่องเปิดรับซื้อไฟฟ้า 10,000 เมกะวัตต์ช่วง 10 ปี โดยจะทยอยรับซื้อปีละ 100 เมกะวัตต์ ส่วนอัตรารับซื้อไฟฟ้าเบื้องต้นราคาประมาณ 1.6-1.8 บาท/หน่วย ซึ่งจะต้องหารือกับ 3 การไฟฟ้า เพื่อกำหนดสัดส่วนรับซื้อไฟฟ้าจากประชาชน รวมทั้งจะต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ว่า จะให้กลุ่มผู้นำร่องผลิตไฟฟ้าโซลาร์รูฟท็อปที่เคยดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ปี 2559 จะสามารถเข้าร่วมโครงการด้วยหรือไม่

นางสาวนฤภัทร อมรโฆษิต เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า กกพ. เตรียมชี้แจงรายละเอียดหลักเกณฑ์การรับซื้อไฟฟ้าโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาที่อยู่อาศัย หรือ โซลาร์ภาคประชาชน ภายในเดือนมีนาคมนี้ ตามนโยบายของภาครัฐที่บรรจุไว้ในร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ปี 2561-2580 (PDP 2018) หรือแผนพีดีพีฉบับใหม่ ที่จะนำร่องเปิดรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินเข้า 1 หมื่นเมกะวัตต์ ช่วง 10 ปี แต่จะทยอยรับซื้อปีละ 100 เมกกะวัตต์ โดยจะรับซื้ออัตราค่าไฟฟ้าเบื้องต้นในราคา 1.6-1.8 บาทต่อหน่วย

โดยหลังจากชี้แจงโครงการดังกล่าวแล้ว กกพ. จะเปิดรับฟังความเห็นประชาชนก่อนจะประกาศรับซื้อภายในปีนี้ อย่างไรก็ตาม กกพ. ยังต้องหารือกับ 3 การไฟฟ้า คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เพื่อกำหนดสัดส่วนการรับซื้อไฟฟ้าจากประชาชน รวมทั้งจะพิจารณาหลักเกณฑ์ว่าจะให้กลุ่มผู้นำร่องผลิตไฟฟ้าโซลาร์รูฟท็อปที่เคยดำเนินการมาแล้ว ตั้งแต่ปี 2559 จะสามารถเข้าร่วมโครงการด้วยหรือไม่

ส่วนโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ Feed-in Tarff (Fit) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรับซื้อไฟฟ้าประมาณ 78 เมกะวัตต์ หรือ Quick Win Projects ซึ่งมีบัญชีความพร้อมของโครงการจากกระทรวงมหาดไทย 12 โครงการ 8 พื้นที่ ทาง กกพ. จะไม่ขยายระยะเวลารับข้อเสนอออกไปอีก หลังครบกำหนดให้ยื่นโครงการภายในมีนาคมนี้ โดยในปัจจุบันได้ประกาศรายชื่อผู้ผ่านคัดเลือกแล้ว 3 รายและคาดว่าเร็วๆ นี้จะมีเพิ่มอีก 1 ราย

ก่อนหน้านี้ กกพ. ระบุว่า ตามกฏหมายการเปิดโครงการโซลาร์ภาคประชาชนจะต้องเปิดรับฟังความเห็นประชาชน 15 วัน ก่อนออกประกาศรับซื้อไฟฟ้า โดยคาดว่าจะออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าโซลาร์ภาคประชาชนได้ในช่วงไตยมาส 2 ของปีนี้ จากนั้นจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 4 เดือน หรือคาดว่าจะเริ่มการลงทุนขายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในช่วงปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า เบื้องต้นประเมินว่า จะเกิดการลงทุนติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ราว 30-40 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์

นอกจากนี้ กกพ. ยังเตรียมออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) ที่ใช้เชื้อเพลงจากขยะชุมชน ในช่วง 1-2 เดือนนี้ เบื้องต้นราคารับซื้ออยู่ที่ 3.66 บาทต่อหน่วย ภายใต้สัญญาซื้อไฟฟ้า 20-25 ปี เพื่อให้ครบเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าขยะชุมชนที่กำหนดไว้ในแผนพีดีพีเดิม 500 เมกะวัตต์

ส่วนตามแผนพีดีพีฉบับใหม่ที่เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟจากขยะชุมชนอีก 400 เมกะวัตต์ยังต้องรอรายละเอียดพื้นที่และหลักเกณฑ์จากกระทรวงมหาดไทยก่อน เบื้องต้นคาดว่าจะเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP)

นางสาวนฤภัทร กล่าวว่า สำหรับการเปิดรับซื้อไฟฟ้าตามสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ ในแผนพีดีพีฉบับใหม่ รวม 8,300 เมกะวัตต์นั้น ทาง กกพ. ยังต้องรอนโยบายอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ก่อน แต่ในเบื้องต้นได้รับมอบภารกิจเร่งด่วนในการพิจารณาเงื่อนไขและหลักเกณฑ์รับซื้อไฟฟ้าในพื้นที่ภาคตะวันตก หรือแข่งขันผลิตไฟฟ้ากับผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระเอกชนรายใหญ่ (IPP) กำลังผลิตรวม 1,400 เมกะวัตต์ที่กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี 2567-2568 ซึ่งขณะนี้ กกพ. กำลังพิจารณารายละเอียดต่างๆ

เบื้องต้นคาดว่าจะต้องแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ ในส่วนของก่อสร้างทดแทนโรงไฟฟ้าไตรเอนเนอจี้ ของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กำลังผลิต 700 เมกะวัตต์ ที่จะสิ้นสุดสัญญาเดือนกรฏฎาค 2563 อาจใช้เป็นรูปแบบการเจรจา ส่วนอีกโรงเป็นการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่อีก 700 เมกะวัตต์นั้น อาจใช้รูปแบบการเปิดประมูล ซึ่งจะต้องพิจารณารูปแบบที่ชัดเจนต่อไป

โดยจากรายงานข่าวล่าสุด วันที่ 20 มีนาคมนี้ นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จะร่วมกับนายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และ น.ส.นฤภัทร โฆษิตอมร เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) จะแถลงเปิดตัวโครงการโซลาร์ภาคประชาชน หลังจากนั้นจึงจะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป

โครงการโซลาร์ภาคประชาชน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลอัพเดตล่าสุด (23/05/62)


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save