เจาะลึก 7 หุ่นยนต์เปลี่ยนโลก จุดเริ่มต้นของนวัตกรรมโลกอนาคต


         ในยุคปัจจุบันที่นวัตกรรม และเทคโนโลยีพัฒนาอย่างก้าวกระโดด กระแสการพัฒนาหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์แบบก้าวกระโดด ถือเป็นหนึ่งสัญญาณที่บ่งชี้ได้ชัดว่า ยุคแห่งเทคโนโลยีได้พัฒนาขึ้นอีกหนึ่งขั้นแล้ว ซึ่งในปัจจุบันหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และปัญญาประดิษฐ์ได้แทรกซึมและเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการประยุกต์ใช้ให้ตอบโจทย์มนุษย์ในด้านต่างๆ อาทิ ด้านการใช้งานในครัวเรือน ด้านการแพทย์ ด้านการบริการ ด้านพัฒนาการเรียนรู้ ด้านการวิจัย ด้านความมั่นคง และด้านอุตสาหกรรม ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรามากขึ้นกว่าเคย ดังต่อไปนี้

  1. หุ่นยนต์เจียวไข่ นวัตกรรมหุ่นยนต์อำนวยความสะดวกการใช้ชีวิตประจำวัน ที่สามารถผสมและทอดไข่เจียวได้เสร็จภายใน 5 นาที จากบริษัท เกษตรภัณฑ์อุตสาหกรรม จำกัด หนึ่งในบริษัทกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกพ่อบ้านแม่บ้านให้ไม่ต้องเสียเวลากับการเข้าครัวเพื่อทอดไข่เจียว ขจัดปัญหาทอดไข่แล้วน้ำมันกระเด็น ฯลฯ
  2. หุ่นยนต์ชงกาแฟ หุ่นยนต์แขนกลอัจฉริยะที่สามารถป้อนโปรแกรมเพื่อให้เป็นบาริสต้า ผู้ช่วยในการชงกาแฟแบบอัตโนมัติ ซึ่งหุ่นยนต์ดังกล่าวมีชื่อว่า YuMi เป็นของบริษัท เอบีบีกรุ๊ป ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เดิมทีเป็นหุ่นยนต์แขนกลที่ออกแบบมาเพื่อประยุกต์ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้โดยไม่เป็นอันตราย มีความแม่นยำและคล่องแคล่วสูง ซึ่งหุ่นยนต์ดังกล่าวสามารถป้อนโปรแกรมให้ทำงานต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย เช่น แก้โจทย์เกมส์รูบริค พับกระดาษและอื่นๆ อีกมากมาย
  3. หุ่นยนต์บริกร ผลงานหุ่นยนต์ “เลี่ยงเลี่ยง” จากบริษัท เซียซัน (SIASUN) ผู้ผลิตหุ่นยนต์อันดับหนึ่งของจีน ที่สามารถบังคับทิศทางเดินได้อย่างอิสระ สามารถเสิร์ฟอาหาร แจกโบชัวร์ กล่าวต้อนรับ ให้ข้อมูลโปรโมชั่น และแสดงสีหน้าในรูปแบบดิจิทัล ที่ล้วนเป็นการสร้างสีสันและเพิ่มอรรถรสในการบริการได้อย่างดี
  4. หุ่นยนต์จำลองมนุษย์ หรือหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ที่มาพร้อมชื่อ “นาโอะ” (NAO) ที่พัฒนาโดยบริษัท Aldebaran Robotics จากประเทศฝรั่งเศสหุ่นยนต์จำลองมนุษย์ขนาดเล็ก มีส่วนสูง 58 เซนติเมตร และหนัก 5 กิโลกรัมสามารถจำคำพูด จำภาพ และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ตอบโจทย์การใช้งานได้หลากหลายประเภท ทั้งการเป็นพนักงานต้อนรับ การนำเสนอโปรโมชั่น การตอบคำถามลูกค้าเกี่ยวกับบริการต่างๆ การเต้นประกอบเพื่อสร้างความบันเทิง รวมไปถึงการต่อสู้เพื่อความบันเทิง ฯลฯ
  5. หุ่นยนต์มีตา นวัตกรรมหุ่นยนต์จัดวางชิ้นส่วนแบบถูกต้อง แม่นยำตามตำแหน่ง จากบริษัท ออมรอน อีเลคทรอนิคส์ จำกัดซึ่งเป็นหุ่นยนต์ผู้ช่วยสำหรับใช้ในอุตสาหรรมอิเล็กทรอนิกส์สามารถจัดวางชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์หรือบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ให้ถูกต้องตามตำแหน่ง ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
  6. หุ่นยนต์คิวซี ผลงานหุ่นยนต์ตรวจสอบคุณภาพจากบริษัท ออมรอน อีเลคทรอนิคส์ จำกัด ซึ่งสามารถตรวจสอบชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กด้วยกล้องคุณภาพสูงที่พร้อมแสดงผลการตรวจสอบคุณภาพไปยังหน้าจอคอมพิวเตอร์พร้อมประเมินผล ใน 2 รูปแบบ คือ คุณภาพดี (OK) และคุณภาพไม่ดี (NG:Not Good) โดยในกรณีที่ตรวจพบสินค้าไม่ได้คุณภาพ ระบบจะระบุจุดที่พบความผิดปกติได้ในทันทีและแม่นยำ
  7. หุ่นยนต์เลโก้เพื่อการศึกษา นวัตกรรมหุ่นยนต์ TETRIX จาก บริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด ชุดประกอบหุ่นยนต์เพื่อการศึกษาจากชิ้นส่วนอะลูมิเนียม ที่มาพร้อมกับมอเตอร์ที่ใช้ในการขับเคลื่อน และอุปกรณ์ควบคุมทิศทาง/ความเร็ว (HiTechnic Servo Controller) เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่และทำภารกิจที่ต้องการได้สำเร็จ อาทิ การเคลื่อนที่เก็บสิ่งของหรือวัตถุต่างๆ เป็นต้น หุ่นยนต์ดังกล่าวถูกออกแบบมาด้วยระบบที่เหมือนหุ่นยนต์ขนาดใหญ่ทุกประการเพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาระบบการขับเคลื่อน และการควบคุมทิศทางการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์

         จาก 7 ตัวอย่างหุ่นยนต์นวัตกรรมข้างต้นนั้น สามารถสะท้อนถึงการแทรกซึมเข้ามาในชีวิตประจำวันอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ประกอบกับตัวเลขสถิติความต้องการใช้หุ่นยนต์ของทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในทวีปเอเชียที่มีความต้องการใช้หุ่นยนต์สูงกว่าทวีปอื่นถึง 3 เท่า หรือมีความต้องการมากถึง 275,000 ตัว ขณะที่ทวีปยุโรปและอเมริกา มีความต้องการใช้หุ่นยนต์ประมาณ 66,000 และ 48,000 ตัว ตามลำดับ ประกอบกับผู้นำในการขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์โลกได้อยู่ในเอเชียเป็นหลัก ได้แก่ จีน คิดเป็น 25 %  ญี่ปุ่น 13 %  เกาหลีใต้ 11 %  รองลงมาจึงเป็นสหรัฐอเมริกา 11 %  และเยอรมนี 9 % ทั้งหมดนี้สามารถสะท้อนถึงโอกาสที่ดีหากประเทศไทยสามารถผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเท่าทันเทคโนโลยีดังกล่าว และสามารถพัฒนา คิดค้น ประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อใช้ได้จริง

         ทั้งนี้ หุ่นยนต์ดังกล่าว พีไอเอ็ม (สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์) ได้นำมาจัดแสดงในงานเสวนาภายใต้หัวข้อ “บุคลากรหุ่นยนต์ คนแห่งอนาคต” เพื่อเปิดตัวหลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งผู้เรียนจะได้มีโอกาสสัมผัสกับนวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ทันสมัยที่สุดระดับนานาชาติ พร้อมคลุกคลีกับเนื้อหา การปฏิบัติงานและเครือข่ายบริษัทผู้ผลิตชั้นนำของโลกตลอดระยะเวลา 4 ปีของหลักสูตรเพื่อให้สามารถก้าวสู่การเป็นบุคลากรด้านนวัตกรรมหุ่นยนต์ที่ตอบโจทย์ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมสำคัญในยุคปัจจุบัน


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save