คำตอบ ของกิจการที่ยั่งยืน


เมื่อครั้งที่ บิล เกตส์ (Bill Gates) ก่อตั้งมูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ ขึ้น เขาได้กล่าวสุนทรพจน์เปิดงานอย่างน่าฟังดังนี้

“…ธรรมชาติของมนุษย์มีพลังที่ยิ่งใหญ่อยู่สองพลัง คือพลังของประโยชน์ส่วนตัวและพลังของความห่วงใยผู้อื่น ระบบทุนนิยมในปัจจุบันจะใช้ประโยชน์ส่วนตัวเพื่อทำงานในทางที่เป็นประโยชน์และยั่งยืนสำหรับคนที่มีกำลังซื้อเท่านั้น ในขณะที่การกุศลและโครงการช่วยเหลือของภาครัฐจะเป็นช่องทางให้เราสามารถแสดงความห่วงใยต่อผู้ที่มีกำลังซื้อน้อยแต่ทรัพยากรต่างๆ ของภาครัฐก็มีน้อยและไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของคนในสังคมได้ ดังนั้น การปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของคนจนให้ได้ผลรวดเร็วขึ้นจึงหมายความว่าเราจะต้องมีระบบที่ดีกว่า ที่สามารถดึงดูดทั้งนักคิด นักปฏิบัติ และนักธุรกิจอุตสาหกรรมให้ร่วมมือกันได้ดีกว่าระบบหรือสิ่งที่เรามีอยู่ในทุกวันนี้”

“…ความท้าทายจึงอยู่ที่การออกแบบระบบที่เป็นแรงจูงใจทางการตลาด ซึ่งหมายรวมถึงผลกำไรและการเป็นที่ยอมรับเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผมอยากเรียกระบบใหม่นี้ว่า Creative Capitalism คือ ระบบที่รัฐบาล ภาคราชการภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และภาคที่ไม่แสวงหาผลกำไร (NGO) ทำงานร่วมกันเพื่อขยับขยายพลังของตลาดออกไปให้คนจำนวนมากขึ้นได้กำไร และทำให้องค์กรเป็นที่ยอมรับตลอดจนสามารถทำงานเพื่อช่วยบรรเทาความเหลื่อมล้ำในโลกนี้ด้วย”

จากวันนั้นถึงวันนี้ ความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม (Corporate Social Responsibility หรือ CSR) จึงเพิ่มขึ้นในอัตราก้าวหน้า เพราะองค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญมากขึ้นทุกที

นอกจากคำว่า CSR แล้ว เราจึงได้ยินได้ฟังคำว่า ความเป็นสีเขียว (Green) การประกอบกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมความยั่งยืน (Sustainability) หรือ การคืนกำไรในรูปของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และคำใหม่อื่นๆ อีกมากมายเพื่อให้องค์กรได้รับการยอมรับจากสังคมมากขึ้น

ดังนั้น ความเข้าใจที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะความเข้าใจ ในเรื่องของ “ความเป็นสีเขียว” (Green)

ในวันนี้เราจึงไม่ควรสื่อความหมายของคำว่า “Green” ไปเชื่อมโยงกับเรื่องของ “สิ่งแวดล้อม” เท่านั้น แต่ควรดึงโยงไปถึง “ความยั่งยืน” ที่เกิดจากเรื่องอื่นๆ ด้วย โดยเน้นให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เป้าหมายของการประกอบกิจการธุรกิจอุตสาหกรรมไม่ใช่ทำเพื่อ “กำไร” (สูงสุด) แต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นเป้าหมายที่ทำให้เศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้ง 3 ด้านมีความสมดุลและสามารถพัฒนาหรือเติบโตไปพร้อมๆ กันได้ โดยทำให้ “คุณภาพชีวิต” (Quality of Life) ของผู้คนในสังคมดีขึ้นด้วย

ดังนั้น “ความเป็นสีเขียว” หรือ “Green” แม้จะมีความสำคัญต่อทุกองค์กรอย่างมากในปัจจุบันแต่ก็ไม่ใช่คำตอบทั้งหมดของความสำเร็จของธุรกิจอุตสาหกรรม ทุกองค์กรยังจะต้องผลิตสินค้าหรือให้บริการที่มีคุณภาพ ทุกองค์กรจะต้องมีปฎิบัติการที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น และมีความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างเหนียวแน่นรวมตลอดถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จอื่นๆ ด้วย

ทุกวันนี้ “ความสำเร็จ” และ “ประโยชน์ต่อสังคม” จึงตอ้ งไปด้วยกันเพื่อให้องค์กรมีความยั่งยืน ครับผม!


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 93 พฤษภาคม-มิถุนายน 2562 คอลัมน์ GREEN Industry โดย ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save