ทิศทางการขับเคลื่อนพลังงานไทย และ Energy 4.0


Energy 4.0 จะช่วยยกระดับและพัฒนาการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณค่ามากขึ้น โดยผสมผสานการใช้พลังงานอย่างสะอาดและรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการใช้พลังงานอย่างประหยัด คุ้มค่าไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

ปัจจุบันประเทศไทยนำเข้าน้ำมันมากกว่า 85% เพื่อใช้ในภาคขนส่งในสัดส่วนที่มากสุด อีกทั้งเชื้อเพลิงที่นำมาผลิตไฟฟ้าในประเทศ ยังไม่มีความสมดุล พึ่งพาการใช้ก๊าซธรรมชาติในปริมาณที่มากถึง 60% ในขณะที่ใช้เชื้อเพลิงอื่นๆในปริมาณที่เล็กน้อย ฉะนั้นหัวใจสำคัญส่วนหนึ่งในเชิงไฟฟ้าส่วนกลางคือต้องกระจายความเสี่ยง ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงใดเชื้อเพลิงหนึ่งมากเกิน ลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติ โดยในอนาคตเชื้อเพลิงฟอสซิลจะลดบทบาทลง แต่ยังคงมีอยู่ในระบบ เพื่อให้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนมีสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนนั้น ยังคงมีข้อจำกัด ด้วยพลังงานทดแทนยังมีจุดออ่อนในเรื่องความเสถียร Energy 4.0 จึงมีบทบาทสำคัญที่จุดแก้ปัญหา ด้วยการใช้ระบบ Energy Storage เข้ามาช่วยเสริมให้พลังงานทดแทนกลายเป็นพลังงานหลักของประเทศ ภายใต้เป้าหมายในการเพิ่มพลังงานทดแทนให้ได้ 20% ภายในปี 2579

เป้าหมายของ Energy 4.0

ในส่วนของพลังงานไฟฟ้า นโยบาย Energy 4.0 หัวใจสำคัญคือต้องประหยัดมากขึ้น กรณีที่บริหารและควบคุมการใช้พลังงานเองได้ ในบางครั้งสามารถควบคุมระบบได้ดีกว่าการสั่งการจากระบบส่วนกลาง สามารถเลือกเปิดไฟปิดไฟได้สะดวกกว่า ฉะนั้นดัชนีชี้วัดตัวนี้ คือการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศ ลดดัชนีความเข้มข้นของการใช้ไฟฟ้า โดยภายใน 20 ปี ต้องลดให้ได้ 90,000 ล้านหน่วย เทียบเท่ากับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ 10 โรง ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าหรือออกไป ส่วนที่สองคือสร้างความสมดุลใหม่สำหรับการเลือกใช้เชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติให้ต่ำกว่า 50% และเพิ่มสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน รวมถึงการซื้อไฟจากต่างประเทศ และให้มีกลไกตลาดมากขึ้นในการที่จะเลือกใช้ไฟฟ้า ปัจจุบันระบบไฟฟ้าของประเทศไทยเป็นระบบควบคุมศูนย์ แต่ในอนาคตจะมีระบบที่กระจายศูนย์มากขึ้น ด้วยการบริหารจัดการไฟฟ้าในปริมณฑลของตัวเองได้

“ฉะนั้นนโยบายด้านพลังงานไฟฟ้าในอนาคตจะมีหลายเรื่องที่เปลี่ยนไป ประหยัดมากขึ้น ทดแทนมากขึ้น กระจายศูนย์มากขึ้น และมีกลไกตลาดมากขึ้น คือสิ่งใหม่ที่คาดว่าจะทำให้เกิดในอนาคต”

สำหรับนโยบาย Energy 4.0 แสดงให้เห็นถึงแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายด้านพลังงานโดยนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาพัฒนาเพิ่มศักยภาพการใช้พลังงานในประเทศ เพื่อรองรับการเข้าสู่ Thailand 4.0 ที่จะเป็นการยกระดับการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้นั้น ประกอบไปด้วย 4 แผนการขับเคลื่อน คือ

1.) แผนการขับเคลื่อนภารกิจด้านพลังงานเพื่อส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) ในประเทศไทย ซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบใหม่มาใช้ทดแทนน้ำมัน

2.) โครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities-Clean Energy) ทำให้เกิดการบริหารจัดการพลังงานแบบเบ็ตเสร็จ โดยมีหัวใจสำคัญคือพลังงานทดแทนที่มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถนำไปใช้ได้ในทุกพื้นที่

3.) โครงการสนับสนุนการศึกษา วิจัย พัฒนาเทคโนโลยีพลังงานพลังงานทดแทน ปีงบประมาณ 2559 (Energy Storage Systems) หรือเทคโนโลยีระบบสะสมพลังงานที่มีขนาดใหญ่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานของประเทศไทย ระยะ 20 ปี ดังนั้น Energy Storage Systems เป็นเทคโนโลยีเป้าหมายที่ต้องการผลิตขึ้นใช้เองภายในประเทศ ทำให้การขับเคลื่อน Energy 4.0 ไปได้เร็วขึ้น

4.) การขับเคลื่อนการลงทุนด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Energy) ของประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยมีฐานการผลิตที่เป็นประเทศเกษตรกรรม เพราะฉะนั้นการผลิตที่ต่อยอดด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำเอาสินค้าเกษตรมาแปรรูปให้เป็นพลังงานที่ใช้ได้ หรืออาจจะแปรรูปแล้วได้พลังงานมากกว่าที่ใช้อยู่เดิม คือเรื่องของ Bio Economy เรื่องของเศรษฐกิจฐานชีวภาพ พืชผลทางการเกษตร พืชพลังงาน สามารถนำเอาสายผลิตดังกล่าวมาต่อยอด ทั้งพืชที่ให้แป้งผลิตเอทานอล มันสำปะหลัง อ้อย น้ำตาล แป้ง ทดแทนน้ำมันเบนซิน และพืชให้น้ำมัน ปาล์ม ถั่วเหลือง มะพร้าว นำมาสกัดเป็นไบโอดีเซลทดแทนการใช้น้ำมันดีเซล และนอกจากนี้ยังสามารถต่อยอดนอกเหนือจากการสกัดเป็นน้ำมัน อย่างเช่น การต่อยอดจากอุตสาหกรรรมน้ำมันปาล์มให้เป็นอุตสาหกรรมไบโอเคมี สกัดเป็นยาหรือเครื่องสำอาง

ดร. ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า แนวทางพลังานในอนาคต Energy 4.0 รองรับการพัฒนาประเทศไทยในยุค 4.0 จะเน้นการใช้นวัตกรรมเพื่อที่จะพัฒนาพลังงานของประเทศ โดยเป็น 2 สายด้านพลังงาน คือ สายพลังงานที่เกี่ยวของกับ Smart Technology คือการนำ ICT เข้ามาบริหารจัดการพลังงานมากขึ้น ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับ Smart Gird ,Smart City ,ยานยนต์ไฟฟ้า และ Energy Storage และพลังงานด้านชีวภาพ เป็นการต่อยอดนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาทำให้พืชพลังงานสามารถที่จะมีมูลค่าเพิ่มได้ นอกเหนือจากการเป็นเพียงแค่ส่วนผสมของน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล โดยในอนาคตสามารถที่จะสร้างอุตสาหกรรมต่อเนื่องสำหรับพืชพลังงานนี้ต่อไปได้

สำหรับ Smart Technology นั้น ปัจจุบันกระทรวงพลังงานมีนโยบายสนับสนุนอยู่หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุน Charging Stations สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า หรือการประกวดแบบบ้าน Smart City และแผนแม่บทด้านการพัฒนา Smart Gird เพื่อที่จะทำให้เมืองหรือชุมชนสามารถที่จะบริหารจัดการไฟฟ้าเองได้ ซึ่งคาดว่าระบบลักษณะนี้จะทำให้สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนของประเทศหรือของชุมชนในระดับดังกล่าวมีสัดส่วนที่สูงขึ้น แต่ต้องมีการเชื่อมกับระบบของการไฟฟ้าฯ เพื่อเข้ามาเสริมระบบที่เป็นระบบ Backup สำหรับการเพิ่มเติมไฟฟ้าในกรณีที่ระบบพลังงานทดแทนของชุมชนนั้นอาจจะไม่ได้ทำงาน เป็นต้น ลักษณะนี้ถือว่าเป็นนโยบายใหม่ ที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถที่จะมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ดีขึ้น ลดความเสี่ยงจากการกระจายแหล่งเชื้อเพลิง และกระจายอำนาจจากการควบคุมศูนย์แบบส่วนกลางจากการไฟฟ้า ลงมาเป็นระดับชุมชนหรือระดับเมืองผ่านระบบ Smart Gird คาดว่านโยบาย Energy 4.0 จะทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ และระบบใหม่ๆ รวมทั้งอาจจะมีกฎระเบียบที่จะต้อง แก้ไขเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต

“Energy 4.0 ในเรื่องระบบไฟฟ้าสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ สามารถควบคุมไฟฟ้าได้ด้วยตัวเองมากขึ้นโดยระบบไฟฟ้าที่ควบคุมนั้นอาจจะมีพลังงานทดแทนในสัดส่วนที่สูงขึ้น รวมทั้งยังได้รับการกระจายอำนาจในการที่จะควบคุมไฟฟ้าในปริมณฑลของตัวเอง และมีระบบการใช้พลังงานในหลายๆรูปแบบ ไม่เพียงแต่การใช้พลังงานในบ้าน แต่จะมีระบบไฟฟ้าที่ใช้ในยานยนต์อีกด้วย ซึ่งมี Energy Storage Systems เป็นหัวใจสำคัญ เพราะในอนาคตหากประเทศไทยต้องใช้พลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น”

อย่างไรก็ตาม การผลักดันโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสหลักของประเทศ ต้องการเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานมาใช้กับโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เพื่อสร้างเสถียรภาพการจ่ายไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง (Firm) ประเทศไทยควรเตรียมความพร้อมในการพัฒนาเทคโนโลยี Energy Storage ที่เป็นของคนไทยเอง เพื่อลดต้นทุนและทดแทนการนำเข้าเทคโนโลยีดังกล่าว

นอกจากนี้ ผู้ที่ดูแลนโยบายยังมีส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้ Energy 4.0 เกิดขึ้นได้จริง ได้แก่ 1.การแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ เรื่อง Energy 4.0 มีบางเรื่องที่เกี่ยวกับระบบ ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันการซื้อขายไฟฟ้า ประชาชนทั่วไปทำได้ 2 รูปแบบ คือ ผลิตไฟฟ้าเองใช้ไฟฟ้าเอง หรือผลิตได้ต้องขายการไฟฟ้าฯ แต่ในอนาคตอาจจะมีระบบที่ทำให้สามารถซื้อขายไฟฟ้ากันเองระหว่างชุมชนได้ หรือสามารถจำน่ายไฟฟ้ากับผู้อื่นได้ โดยเฉพาะการจำหน่ายไฟฟ้าให้กับยานยนต์ไฟฟ้า เพราะฉะนั้นการแก้ไขกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องที่ต้องทำ 2.การพัฒนานวัตกรรม ก่อให้เกิดงานวิจัย เพราะว่าในระบบดังกล่าว นโยบาย Energy 4.0 มีความจำเป็นที่ต้องส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ๆที่เป็นนวัตกรรมเป้าหมายคือ เรื่องระบบสะสมพลังงาน ที่เรียกว่า Energy Storage ซึ่งคือ Power Bank ที่จะทำให้ชุมชนระดับล่างสามารถบริหารจัดการพลังงานเองได้ และมีผลต่อเนื่องช่วยให้สามารถส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และ 3.การปรับปรุงบริหารจัดการเรื่องกำลังคน พัฒนากำลังคน เนื่องด้วยเรื่องของระบบใหม่ ระเบียบใหม่ เทคโนโลยีใหม่ กำลังคนเป็นส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นกำลังคนที่เกี่ยวข้องกับการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆหรือที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบ โดยเฉพาะระบบที่เป็น Smart ทั้งหลายต้องมีกำลังคนที่เข้าใจและสามารถที่จะควบคุมได้ ปัจจุบันบุคลากรเหล่านี้มีเฉพาะในการไฟฟ้าฯเท่านั้น ในอนาคตหากสามารถกระจายศูนย์ให้ชุมชนดูแลระบบจัดการพลังงานเอง จำเป็นต้องมีกำลังคนที่มีความรู้เข้ามาบริหารจัดการในส่วนนี้ด้วย

ทั้งนี้ ทิศทางพลังงานประเทศไทยในยุค Thailand 4.0 เริ่มตั้งแต่การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน โดยการใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ประมาณ 25% หรือ 111 ล้านตันต่อปี จากการประมาณการว่าในปี 2579 ประเทศไทยจะปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก 555 ล้านตัน และลดลงความเข้มการใช้พลังงานลง (Energy Intensity)  30%  ลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติ กระจายความเสี่ยง ส่งเสริมให้เกิดกลไกตลาด ราคาที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง และเกิดการกระจายศูนย์การจัดการพลังงานในระดับชุมชนและครัวเรือนมากขึ้น


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save