เมืองอัจฉริยะและศูนย์ข้อมูล: แนวคิด การออกแบบ และกรณีศึกษา


สมาร์ตซิตี (Smart City) หรือ เมืองอัจฉริยะ เป็นรูปแบบการประยุกต์ เทคโนโลยีดิจิตอล หรือข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารในการเพิ่มประสิทธิและ คุณภาพของบริการสังคม เพื่อช่วยในการลดต้นทุน และลดการบริโภคของ ประชากร โดยยังคงเพิ่มประสิทธิภาพให้ประชาชนสามารถอยู่อาศัยได้ในคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น เมืองอัจฉริยะสร้างขึ้นจากโครงสร้างพื้นฐานของ Internet of Things (IoTs) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างกันของอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่ทำหน้ารวบรวม ข้อมูลและส่งต่อผ่านระบบเครือข่ายสื่อสาร (Networking Communication) ไปยังศูนย์ข้อมูล (Data Center) เพื่อใช้ในการรวบรวมจัดเก็บข้อมูล (Big Data) เพื่อการวิเคราะห์และใช้ข้อมูลร่วมกันในขณะที่สื่อสารกันของระบบรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ก็เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น

สมาคมวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) และ IEEE Power & Energy Society – Thailand Chapter ได้เล็งเห็น ถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดให้มีการสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “เมืองอัจฉริยะและศูนย์ข้อมูล: แนวคิด การออกแบบ และกรณีศึกษา (Smart City & Data Center: Concept, Design and Case Study)” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และการบริหารจัดการองค์กรหรือเมืองให้มีประสิทธิภาพตามนโยบาย Thailand 4.0 โดยการสนับสนุนวิชาการจาก วสท. สถาบันอุดมศึกษา และผู้เชี่ยวชาญในงาน ภาคปฏิบัติโดยตรง มีผู้ร่วมบรรยาย จากหลากหลาย ภาคส่วน ที่จะร่วมขับเคลื่อนสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ

ผศ. ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ ภาควิชาไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผศ. ดร.นพพร ลีปรีชานนท์

ผศ. ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ ภาควิชาไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้ร่วมบรรยาย ได้กล่าวสรุปข้อมูลว่า ในงานสัมมนาครั้งนี้ สิ่งที่เป็นประโยชน์กับผู้รับฟัง คือเรื่องของคอนเซ็ป และการออกแบบ โครงการนี้เกิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว โดยคณะของ พพ. และสถาบันอาคารเขียว ว่าจะส่งเสริมให้ประเทศนี้เปลี่ยนแปลงยังไงให้เป็นสมาร์ททซิตี้ ทำยังให้ทุกคนอยู่ดี มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น แต่ละโครงการ ใช้เวลา ประมาณ 2 ปี เพื่อที่จะสร้างโมเดลขึ้นมาให้เห็นเป็นรูปธรรม และเราได้นำทั้งหมดที่ทำ มาบรรยายให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ร่วมสัมมนาในเวลา 3 วัน ตั้งแต่เริ่มต้นที่เราพูดกันว่า สมาร์ทซิตี้คืออะไร ตั้งแต่เริ่มการออกแบบ มีที่มาที่ไปยังไง เราต้องใช้หลายหน่วยงานขึ้นมาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น สถาปัตย์ วิศวรโครงสร้าง วิศวกรคอมพิวเตอร์ เรียกได้ว่าเป็นงานที่ใช้วิศวกรทุกระบบที่มีในมหาวิทยาลัย รวมไปถึงสาขาวิชาอื่นๆ ก็มีความสำคัญด้วย ทั้งเศรษฐศาสตร์ กฎหมาย ก็มีส่วนขับเคลื่อนทั้งหมด อย่างเคสตัวอย่างที่ทำกันในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ถือเป็นการใช้ทรัพยากรในมหาวิทยาลัยได้คุ้มค่ามากที่สุด

“การจะเป็น สมาร์ทซิตี้ได้นั้น ไม่ได้ทำได้ภายในปีสองปี เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาพอสมควร สมาร์ทซิตี้ ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องของคนด้วย และการพัฒนาคนขึ้นมารองรับเรื่องสมาร์ทซิตี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ในฐานะที่ผมอยู่ภาคการศึกษา สิ่งที่ทำคือ การพัฒนาบุคคลากรขึ้นมาช่วยในหลายๆ ส่วนของสมาร์ทซิตี้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องเริ่มการพัฒนาอย่างจริงจัง เมืองอัจฉริยะจึงจะเกิดขึ้นได้จริง ” ดร.นพพรกล่าว


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save