TBCSD ร่วมกับ TEI จัดงานพิธีมอบใบรับรองประเภทต่างๆ


1 ตุลาคม 2562 – องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development : TBCSD) ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) จัดงานพิธีมอบใบรับรองที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ได้แก่ ฉลากลดคาร์บอน ฉลากเขียว การใช้หรือผลิตพลังงานหมุนเวียน และการประชุมสีเขียว

TBCSD ร่วมกับ TEI จัดงานพิธีมอบใบรับรองประเภทต่างๆ

TBCSD ร่วมกับ TEI ริเริ่มจัดโครงการ TBCSD Green Meetings ขึ้น เพื่อรณรงค์ให้องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนนำแนวทางการจัดประชุมสีเขียวในองค์กรไปประยุกต์ใช้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการจัดงานประชุม/สัมมนา ซึ่งโครงการ TBCSD Green Meetings มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน (ปี 2562) มีองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ Green Meetings แล้วทั้งสิ้น 169 องค์กร ทั้งนี้ จากการตรวจประเมินตามแนวทางการจัดประชุมสีเขียวในองค์กรทั้ง 5 ขั้นตอน ตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการฯ พบว่า องค์กรที่เข้าร่วมได้ให้ความสำคัญและมีการดำเนินการที่สอดคล้องตามแนวทางการจัดประชุมสีเขียวในประเด็นต่างๆ ดังนี้

TBCSD Green Meetings

ประเด็นที่ 1 ด้านการเรียนเชิญและการประชาสัมพันธ์การจัดประชุม (Green Invitation) พบว่า ทุกองค์กรที่เข้าร่วมโครงการฯ มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์และการเรียนเชิญประชุมผ่านระบบดิจิตอล (Digital) และเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) ที่มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet) เว็บไซต์ (website) ระบบเครือข่ายภายในองค์กร (Intranet) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เฟซบุ๊ค (Facebook) และกลุ่มไลน์องค์กร (Line Application) เพื่อความสะดวกรวดเร็วและประหยัดทรัพยากร

ประเด็นที่ 2 ด้านการจัดเตรียมเอกสาร (Green Document) พบว่า มีการจัดส่งเอกสารการประชุมผ่านทางระบบอีเมล และการใช้ QR Code เพื่อดาวน์โหลดเอกสาร โดยองค์กรที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่เลือกใช้กระดาษและเครื่องถ่ายเอกสารที่ได้รับการรับรองฉลากสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ฉลากเขียว (Green Label) อันเป็นสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฉลากเขียวจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีองค์ประกอบ กระบวนการผลิต การใช้ตลอดจนถึงการทิ้งทำลายที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าสินค้าประเภทเดียวกันที่ไม่ได้รับการรับรอง เป็นการแสดงออกถึงการให้ความสาคัญต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม ตามข้อกำหนดเรื่อง “การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว” (Green Procurement) ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวถือเป็นอีกบทบาทหนึ่งขององค์กรในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ที่มีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดกระบวนการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการตอบสนองนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวของภาครัฐ อันจะก่อให้เกิดการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นได้

ประเด็นที่ 3 ด้านการจัดเตรียมสถานที่/อุปกรณ์ (Green Arrangement) พบว่า ทุกองค์กรที่เข้าร่วมโครงการฯ มีการวางแผนการจัดการพลังงาน โดยเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงานที่มีการรับรองฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 และฉลากประหยัดพลังงาน Energy Star ที่ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ช่วยให้ผู้บริโภคประหยัดพลังงานไฟฟ้าและประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งสินค้าที่มีสัญลักษณ์ Energy Star เป็นสินค้าที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิตสินค้าที่ช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 30% โดยวัสดุที่นำมาผลิตสินค้าหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุอันตรายหรือใช้ให้น้อยที่สุด ส่งผลให้ช่วยลดโลกร้อนได้อีกทางหนึ่งด้วย และการประชุมทางไกลผ่านระบบ Video Conference เพื่อประหยัดเวลาและลดการสิ้นเปลืองทรัพยากรและพลังงานในการเดินทาง รวมทั้ง การจัดเตรียมถังขยะส่วนกลางอย่างเพียงพอและติดป้ายแสดงสถานะของขยะประเภทต่างๆ อย่างชัดเจน เพื่อให้ง่ายต่อการคัดแยก การกำจัด และการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ประเด็นที่ 4 ด้านการจัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม (Green Catering) พบว่า อาหารที่ใช้ในการจัดเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มาจากชุมชนท้องถิ่น ถือเป็นการช่วยสนับสนุนชุมชนให้มีรายได้ และเป็นการลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงในการขนส่ง โดยในการจัดประชุมแต่ละครั้งจะจัดเตรียมอาหารให้พอดีกับจำนวนของผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อลดการสูญเสียอาหาร (food loss) และลดการเกิดขยะอาหาร (food waste) ในส่วนของภาชนะที่นำมาบรรจุอาหารเป็นภาชนะที่มีความคงทนสามารถนากลับมาใช้ได้ใหม่ หรือใช้วัสดุธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แทนการใช้โฟมและพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-Use Plastic) เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกและปัญหาขยะอาหารของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

และสุดท้ายประเด็นที่ 5 ด้านการจัดเตรียมอื่นๆ (Environmental Better) พบว่า มีการรณรงค์ส่งเสริมและมีการดำเนินกิจกรรมด้านต่างๆ เพื่อลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน (รวมถึงพลังงานไฟฟ้าและพลังงานเชื้อเพลิง) และลดปริมาณขยะ/ของเสียไปยังหลุมฝังกลบให้เป็นศูนย์ (Zero Waste) ภายใต้หลักการ 3Rs ได้แก่ การลดการใช้ (Reduce) การใช้ซ้า (Reuse) และการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ (Recycle) รวมถึงการนำขยะมาสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการสร้างให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (Upcycle) อีกทั้ง มีการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กร

จากข้อมูลข้างต้น ชี้ให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะองค์กรภาคเอกชน มีความพร้อมและมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการดำเนินการด้านต่างๆ ที่เป็นการส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวทางการจัดประชุมสีเขียวในองค์กร เพื่อลดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม จึงถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีที่องค์กรภาคเอกชนไทยมาร่วมผนึกกำลัง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งนอกจากจะส่งผลดีต่อองค์กร และพนักงานในองค์กรแล้วนั้น ยังก่อประโยชน์ในด้านอื่นๆ ให้แก่ประเทศ อีกด้วย

ฉลากลดคาร์บอน

การรับรองการลดหรือหลีกเลียงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสาหรับผลิตภัณฑ์โดยมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือเรียกสั้นๆว่า “ฉลากลดคาร์บอน” คือ ฉลากที่แสดงถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยผลิตภัณฑ์หรือบริการ โดยพิจารณาจากการใช้วัตถุดิบ การใช้ไฟฟ้า การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ปริมาณและวิธีการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต นับตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการฯ จนถึงปัจจุบัน (ตุลาคม 2562) มีจานวนผลิตภัณฑ์ที่ขอการรับรองแล้ว 251 ผลิตภัณฑ์ จาก 50 บริษัท โดยมีผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในระหว่างอนุญาตให้ใช้ฉลากลดคาร์บอน จานวน 163 ผลิตภัณฑ์ จาก 32 บริษัท โดยแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมดังนี้ (ข้อมูล ณ ตุลาคม 2562)

กลุ่มอุตสาหกรรม ที่เข้ารับมอบใบรับรองที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้รวม 5,997 พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

ฉลากลดคาร์บอน
ฉลากลดคาร์บอน

นอกจากนี้ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้เห็นถึงความจำเป็นที่ภาคส่วนต่าง ๆที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงได้ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน เนื่องจากมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง และเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานในอนาคตจึงได้ดำเนินการให้การรับรองการใช้หรือผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อยกย่องเชิดชูองค์กรหรือหน่วยงานที่มีการใช้หรือผลิตพลังงานหมุนเวียนอันจะนำไปสู่การเกิดความยั่งยืนด้านพลังงานของประเทศ การรับรองใช้หรือผลิตพลังงานหมุนเวียน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ “ฉลากสีทอง” สาหรับองค์กรที่ผลิตหรือจัดหาพลังงานเพื่อใช้ภายในบริษัท และ“ฉลากสีเขียว” สาหรับองค์กรที่มีการผลิตหรือจัดหาพลังงานเพื่อจำหน่าย นับแต่เริ่มดำเนินโครงการฯ จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2562 มีบริษัทที่ได้รับการรับรองฯแล้ว 7 บริษัทและอยู่ระหว่างอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฯ จำนวน 3 บริษัท โดยโครงการที่ได้รับการรับรองฯสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 204,614 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

จากการคาดการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยในกรณีที่ไม่มีการดำเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกใด ๆ ประเทศไทยมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นจาก 279,129 พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kt-CO2eq) ในปี พ.ศ.2548 เป็น 554,649 พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ในปี พ.ศ. 2573 หรือคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.8 ต่อปี โดยสาขาที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดได้แก่ สาขาพลังงาน มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นสอดคล้องกับความต้องการพลังงานขั้นสุดท้าย โดยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มขึ้นจาก 200,392 พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ในปี พ.ศ.2548 เป็น 525,649 พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ในปี พ.ศ.2573 หรือ คิดเป็นร้อยละ 71.8 และ 76.7 ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2548 และ 2573 ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.1 สะท้อนให้เห็นว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสาขาพลังงาน ในกรณีไม่มีมาตรการ มีแนวโน้มเพิ่มขี้นอย่างต่อเนื่อง

สาขากระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นจาก 19,565 พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในปี พ.ศ. 2548 เป็น 32,360 พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ในปี 2573 หรือคิดเป็นร้อยละ 7.0 และ 5.8 ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2573 ตามลำดับ และคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.0 ต่อปี (ที่มา: แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564 – 2573)

จากการคาดการณ์ตัวเลขดังกล่าว ทำให้ภาครัฐได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 15 มาตรการ และได้กำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศปี พ.ศ.2564 – 2573 และหนึ่งในแนวทางที่น่าสนใจคือ การสร้างแรงจูงใจ การให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ โดยอาจเป็นการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต้นทุน เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล การลดภาษี การลดอัตราอากร การยกเว้นศุลกากร สาหรับเครื่องจักร/วัสดุและอุปกรณ์สาหรับกระบวนการทางานที่ลดการก๊าซเรือนกระจกได้ หรืออาจเป็นมาตรการที่ไม่ใช่การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี อาทิ การให้รางวัลหรือการประกาศเกียรติคุณ นอกจากนี้ยังได้พูดถึงการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก และสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การจัดเก็บภาษีมลพิษ การเก็บค่าธรรมเนียมการใช้สินค้าที่ก่อมลพิษสูง การจัดเก็บค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์ ระบบมัดจำ-คืนเงิน (Deposit-Refund System) บรรจุภัณฑ์ต่างๆ โดยเน้นหลัก 3Rs การจัดเก็บค่าธรรมเนียมฝังกลบขยะ เป็นต้น

ฉลากเขียว

ฉลากเขียว
ฉลากเขียว

ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD) เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 และได้รับความเห็นชอบและความร่วมมือจากกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ปฏิบัติออกมาเป็นรูปธรรม

ฉลากเขียวเป็นหน่วยงานอิสระที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่มีความเป็นกลาง เชื่อถือได้ ตลอดจนดูแลควบคุมคุณภาพทางสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมให้เกิดความตระหนักและป้องกันมลพิษที่อาจเกิดขึ้นตลอดทั้งวัฎจักรชีวิต อย่างเป็นระบบและโปร่งใส เนื่องจาก สินค้าสีเขียว ที่มีจาหน่ายในท้องตลาดในปัจจุบันเกิดจากการประชาสัมพันธ์ของผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายโดยอิสระเท่านั้น

ฉลากเขียว เป็นฉลากที่มอบให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน โดยที่ผลิตภัณฑ์ยังมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งฉลากเขียวที่ติดอยู่กับผลิตภัณฑ์จะเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นเน้นคุณค่าทางสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์ของฉลากเขียวมาจากแนวคิดและความต้องการให้ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยยึดหลักการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศควบคู่ไปกับการป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อม การขออนุญาตใช้ฉลากเขียวเป็นความสมัครใจของผู้ผลิต ไม่ได้เป็นข้อบังคับนั่นแสดงถึงว่าบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฉลากเขียว มีความตระหนักและใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2562 มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิ์ให้ใช้เครื่องหมายรับรองฉลากเขียวจำนวน 666 รุ่นจาก 34 กลุ่มผลิตภัณฑ์ 96 บริษัท

ฉลากเขียวเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้ผลิต ผู้บริโภค ได้มีส่วนช่วยกันในการรักษาสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน ฉลากเขียวมีเกฑณ์ข้อกำหนดที่สามารถให้การรับรอง ได้จำนวน 125 เกณฑ์ และแต่ละเกณฑ์มีคุณสมบัติ/ลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว ที่แตกต่างกันไป

TBCSD ร่วมกับ TEI จัดงานพิธีมอบใบรับรองประเภทต่างๆ

โดยในการมองใบรับรองแต่ละประเภท ในครั้งนี้ ประกอบด้วย

  1. ใบรับรอง Green Meetings
    • ใบรับรอง Green Meetings Plus จำนวน 3 หน่วยงาน
    • ใบรับรอง Green Meetings Plus และ ใบรับรอง Green Meetings จำนวน 18 หน่วยงาน
    • ใบรับรอง Green Meetings จำนวน 29 หน่วยงาน
  2. ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากลดคาร์บอนทั้งสิ้น จำนวน 55 ผลิตภัณฑ์
  3. โล่เชิดชูเกียรติ เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นและมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในการลดหรือหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำนวน 2 บริษัท
  4. ใบรับรองการใช้หรือผลิตพลังงานหมุนเวียน จำนวน 2 บริษัท

โดยในการมอบรางวัลในครั้งนี้ ธุรกิจก๊าซเอ็นจีวี ปตท. มี 12 สถานีหลัก และ 3 สถานีบริการ ที่ได้รับใบรับรองประเภท Green Meeting รวม 16 รางวัล และ Green Meeting Plus อีก 16 รางวัล จากการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการประชุม จัดส่งเอกสาร จัดเตรียมอาหาร รวมถึงการใช้พลังงานที่ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งดำเนินงานตั้งแต่บริเวณอาคารสำนักงาน รวมถึงพื้นที่ปฏิบัติงาน

สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม และรายชื่อบริษัททั้งหมดที่ได้รับใบรับรองในแต่ละประเภทได้ ที่นี่ http://bit.ly/2p7QQrn


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save