พลังงานขยะกับหลากหลายพระราชบัญญัติ ด้านสิ่งแวดล้อม


พลังงานขยะ (Waste to Energy) ได้รับการจัดอับดับความสำคัญในการส่งเสริมพลังงานทดแทน อันดับแรกก่อนชีวมวล และ ก๊าซชีวภาพ อีกทั้งการจัดการขยะยังได้จัดให้เป็นวาระแห่งชาติ แต่การจัดการขยะชุมชนก็ยังเป็นปัญหาของประเทศไทยจวบจนทุกวันนี้  แน่นอนที่สุดปัญหาที่ชัดเจนก็คงมาจากกฎระเบียบและขั้นตอนต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีหน่วยงานใหม่ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการชี้ชะตาพลังงานจากขยะ จนมีบางท่านในวงการเอ่ยว่า “ถ้ารัฐปล่อยพลังงานขยะเป็นเหมือนก่อนมี พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 และระบบการขออนุญาต ผ่านคณะกรรมการเพียงชุดเดียวเหมือนก่อน วันนี้เราอาจจะมีโรงไฟฟ้าพลังงานขยะทั่วประเทศไทยแล้วก็ได้ ”เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังงานขยะที่เกิดขึ้นในปัจจุบันล้วนได้รับ PPA ก่อน พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ บังคับใช้

เมื่อฝ่ากระแส พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ไม่ไหวรัฐก็อาศัย พ.ร.บ.  รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง มาแก้ปัญหาขั้นตอนยาวเหยียดของ พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ แต่ก็ปรากฏว่าขั้นตอนต่างๆ ก็ยังต้องใช้เวลาและไม่แตกต่างจาก พ.ร.บ. เดิมมากนัก

อาจจะกล่าวโดยสรุปว่าปัญหาพลังงานขยะส่วนหนึ่งก็คือกฎระเบียบจากหลายๆ หน่วยงาน นอกจากนี้ก็ยังมี พ.ร.บ. และ กฎกระทรวงของด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มมาอีก เช่น

  1. พ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ความตอนหนึ่งว่า “ในการดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ในเขตพื้นที่ของส่วนราชการท้องถิ่นให้เป็นหน้าที่และอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่น แต่ไม่รวมถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น จะมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นรวมทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ เอกชนเป็นผู้ดำเนินการหรือทำการร่วมกับราชการส่วนท้องถิ่นก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ทั้งนี้ การมอบให้เอกชนดำเนินการหรือร่วมดำเนินการดังกล่าว มิให้ถือว่าเป็นการร่วมลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ แต่หลักเกณฑ์และวิธีการและเงื่อนไขต้องคำนึงหลักเกณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐประกอบด้วย
  2. กฎกระทรวงสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560 หมวด 4 การกำจัดมูลฝอยทั่วไป ข้อ 22 มีการกำหนดไว้ว่า การกำจัดมูลฝอยทั่วไป ให้ดำเนินการตามวิธีหนึ่งวิธีใด ดังต่อไปนี้
  • การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
  • การเผาในเตาเผา
  • การหมักทำปุ๋ยและการหมักทำก๊าซชีวภาพ
  • การกำจัดแบบผสมผสาน
  • วิธีอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  1. พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็น พ.ร.บ. กำหนดภาพรวมด้านสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่การกำหนดคำนิยามต่างๆ เช่น คุณภาพสิ่งแวดล้อม แหล่งกำเนิดมลพิษ เจ้าของแหล่งกำเนิดมลพิษ ของเสีย ของเสียอันตราย กระบวนการ EIA และการต่ออายุ EIA รวมถึงการกำหนดเขตควบคุมมลพิษ และการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการปล่อยมลพิษ

ประเทศไทยมี พ.ร.บ. ที่มีเนื้อหาทำนองเดียวกันนี้มากมายอันเนื่องมาจากต่างคนต่างเขียนขึ้นมา หากใครจะลงทุนในประเทศไทยก็คงต้องจ้างที่ปรึกษาดีๆ มีประสบการณ์ อีกประการหนึ่งที่รัฐควรจะพิจารณาปรับปรุงคือ การให้การอนุญาตโครงการต่างๆ กับการตรวจติดตามต้องปรับให้เกิดความสมดุล ปัจจุบันการให้การอนุญาตนั้นเข้มงวด ทุกหน่วยงานขอมีส่วนให้การอนุญาตทำให้ค่าใช้จ่ายการลงทุนในโครงการสูง แต่เมื่อโครงการได้รับอนุญาตและเริ่มดำเนินการไปแล้วกลับหาหน่วยงานรับผิดชอบด้านการตรวจติดตามว่าได้ดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตหรือไม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แทบจะไม่ได้…

                                นอกจากนี้มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2560 ได้ให้ความเห็นชอบการรับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ FiT สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ที่มีขนาดไม่เกิน 50 เมกะวัตต์ เป็นสัญญาแบบ non-Firm โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการแข่งขันราคา (Competitive Bidding) ซึ่งต้องเป็นโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจาก ครม. หรือเป็นโครงการภายใต้ Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ของกระทรวงมหาดไทย ที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการกลางจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าจะต้องมีสัญญาในการรับขยะชุมชนเป็นเชื้อเพลิงหรือเชื้อเพลิง RDF จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อยืนยันปริมาณที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการผลิตตลอดอายุโครงการ และสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (กทม. และเมืองพัทยา) โดยมีอัตราการรับซื้อ FiT เท่ากับ 3.66 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้ ในส่วนของการกำหนดปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าฯ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย รับไปดำเนินการ โดยให้คำนึงถึงแผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของประเทศเป็นสำคัญ และนำเสนอ กบง. พิจารณาเห็นชอบก่อนออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าฯ

หากคิดนอกกรอบ…ลองเปลี่ยนเป็นให้การอนุญาตแบบสะดวกรวดเร็ว แล้วแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปช่วยกันตรวจติดตามโครงการนั้นๆ ว่าได้ดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตหรือไม่…อาจแก้ปัญหาต่างๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานขยะ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save