จุฬาฯ นำร่องตรวจภูมิคุ้มกันก่อนเปิดเมือง พร้อมผลักดัน “ปัตตานีโมเดล” เป็นต้นแบบป้องกัน COVID-19 ระลอกใหม่


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผนึกกำลังพันธมิตรปูพรมตรวจภูมิคุ้มกันก่อนคลายล็อค ให้ชาวปัตตานีนับหมื่น ด้วยชุดตรวจว่องไว ยก “ปัตตานีโมเดล” ต้นแบบจัดการชุมชนควบคุม COVID-19 หนุนรัฐทำ Big Data รับมือในระยะยาว ทั้งนี้เพื่อเป็นการรับมือในระยะยาวทางระดับชุมชน และนำมาใช้วางแนวทางสร้างนวัตกรรมเชิงป้องกันให้คนไทยตรวจทั้งประเทศเพื่อให้ทราบสภาวะการติดเชื้อ COVID-19 รองรับการระบาดระลอกต่อไปที่อาจเกิดขึ้นได้ทัน และเป็นข้อมูลในระยะยาวให้รัฐใช้วางแนวทางการบริหารจัดการ ซึ่งเนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่ได้มีการปลดล็อคจึงได้มีการผนึกกำลังผ่านทางการวิดีโอคอล เพื่อแสดงเจตจำนงว่าประเทศไทยนั้นช่วยกันพัฒนา และป้องกันการเกิดการแพร่เชื้อไวรัส COVID-19 อย่างเข้มงวด

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัตตานีโมเดลเป็นโครงการที่จุฬาฯ และจังหวัดปัตตานีร่วมกันพัฒนาขึ้น เราได้เรียนรู้จากงานระบาดวิทยาชุมชนของปัตตานีในช่วง 2 เดือน ที่ผ่านมา โดยใช้นวัตกรรมชุดตรวจแบบว่องไว Baiya Rapid Covid-19 Igm IgG Test Kit ผลงานของคณะเภสัชศาสตร์และบริษัทสตาร์ทอัพจุฬาฯ ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ นำร่องตรวจภูมิคุ้มกันให้ชาวปัตตานีเป้าหมายจำนวนหมื่นรายก่อนเปิดเมือง เพื่อเก็บข้อมูลจัดทำระบบ Big Data ระดับชุมชน นำมาใช้วางแนวทางสร้างนวัตกรรมเชิงป้องกันให้คนไทยตรวจทั้งประเทศเพื่อให้ทราบสภาวะการติดเชื้อ COVID-19 รองรับการระบาดระลอกต่อไปที่อาจเกิดขึ้นได้ทัน

“ซึ่งนี้ถือเป็นการนำนวัตกรรมที่เราพัฒนาขึ้นเพื่อใช้สู้กับวิกฤต COVID-19 มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับคนไทย ตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่จุฬาฯ พร้อมเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติในระดับโลกที่สร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”

นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์
นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์

นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ปัตตานีวางระบบคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยและกักกันที่เข้มข้น นับว่าครอบคลุมที่สุดจังหวัดหนึ่งในประเทศไทย ที่ต้องทำเช่นนี้เพราะพื้นที่ของเรามีความเสี่ยงสูง มีการเดินทางเข้า-ออกจากต่างประเทศทั้งอินโดนีเซียและมาเลเซีย ทำให้ที่ผ่านมาเรามีจำนวนผู้ติดเชื้อยืนยัน 92 ราย เสียชีวิต 1 ราย

“เราจึงออกนโยบายค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชนแบบเข้มข้น เอ็กซเรย์เต็มพื้นที่เสี่ยง และมีความพยายามแสวงหาวิธีการทางแล็บที่ยืนยันผลที่เป็นไปได้ในการคัดกรองคนจำนวนมาก ภายใต้ความคุ้มค่า ประหยัด และปลอดภัย จึงได้มีการประสานงานจุฬาฯ ขอให้นวัตกรรมชุดตรวจว่องไวนี้นำมาใช้ตรวจร่วมกับ RT-PCR คัดกรองผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหาภูมิคุ้มกันในชุมชนเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้ผ่านวิกฤตครั้งนี้ได้อย่างปลอดภัย”

ดังนั้น ปัตตานีโมเดล เป็นการพัฒนานวัตกรรมการจัดการความไม่แน่นอน (Uncertainty management) อันเกิดจากโรคระบาด COVID-19 แห่งแรกในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาที่เราได้จากปัตตานีโมเดลทำให้ทราบว่า สามารถใช้ Rapid Test ยังช่วยลดระยะเวลากักตัวใน Local Quarantine จากเดิม 14 วัน ให้สามารถกลับไปกักตัวที่บ้านได้เร็วขึ้น ซึ่งจะเป็นการลดภาระงานให้กับเจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ใน Local Quarantine ทั้งหมดนี้ที่ทำก็เพื่อเสริมความมั่นใจให้กระบวนการการทำงานของ State Quarantine และ Local Quarantine ที่เป็นด่านหน้าต้องรับกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save