สัมมนาเชิงวิชาการ “โรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อเศรษฐกิจฐานราก – นโยบาย ข้อกำหนด การออกแบบ ติดตั้ง ควบคุมและบำรุงรักษา” ครั้งที่ 2


ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาเชิงวิชาการ ในหัวข้อเรื่อง “โรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อเศรษฐกิจฐานราก – นโยบาย ข้อกําหนด การออกแบบ ติดตั้ง ควบคุมและบํารุงรักษา” (Community Power Plants for Local Economy: Policy, Regulation, Design, Installation, Operation and Maintenance) ครั้งที่ 2 ในระหว่างวันที่ 17-19 มิถุนายน 2563 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ

ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน ภายใต้นโยบายพลังงานเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชุมชน ในรูปแบบสาน พลังประชารัฐ โดยมีเป้าหมายที่จะให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ในด้านพลังงาน เพื่อขับเคลื่อนโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ โดย กพช. มุ่งหวังที่จะทําาให้คนในชุมชนมีรายได้จากการเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า มีรายได้จากการจําาหน่ายวัสดุ ทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างความเข้มแข็งในชุมชน รวมทั้งช่วยลดการย้ายถิ่นฐานของแรงงาน เกิดการจับจ่ายใช้สอยในพื้นที่ ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจ สามารถนําาไฟฟ้าที่ผลิตได้สร้างมูลค่าเพิ่มในการประกอบอาชีพของชุมชน ซึ่ง กพช. ได้มอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาศึกษาและกําาหนดรายละเอียดต่างๆ ของโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน ซึ่งตามกรอบนโยบายที่คณะกรรมการ กพช. ได้เห็นชอบ เช่น เป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้า พื้นที่ที่ไม่มีข้อจําากัดทางด้านระบบส่งและระบบจําาหน่าย รวมทั้งได้มอบหมายให้ กบง. พิจารณารูปแบบที่เหมาะสมถึงการเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รวมทั้งภาคเอกชนที่สนใจร่วมลงทุนกับชุมชน เพื่อช่วยด้านการบริหารจัดการโรงไฟฟ้าให้เกิดความยั่งยืนต่อไป โดยมีกําาหนดเริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบไม่เกินปี 2565 จากการประเมินเบื้องต้น พบว่า โรงไฟฟ้าชุมชนมีมากกว่า 1,000 พื้นที่ทั่วประเทศไทย ที่มีศักยภาพดําาเนินการ ทางกระทรวงพลังงานกําาลังพิจารณาให้ดําาเนินการในรูปแบบของโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) ไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ เพื่อประหยัดต้นทุนการขนส่งวัตถุดิบ ส่วนเชื้อเพลิงจะเป็นแบบผสมผสาน (Hybrid) ระหว่างเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) เชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ (Biogas) และพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV) เพื่อช่วยให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่ําาและลดภาระการอุดหนุนค่าไฟฟ้าในอนาคต

สมาคมวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) และ IEEE Power & Energy Society – Thailand Chapter และสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นถึงความสําาคัญจึงได้จัดให้มีการสัมมนาเชิงวิชาการ “โรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อเศรษฐกิจฐานราก – นโยบาย ข้อกําาหนด การออกแบบ ติดตั้ง ควบคุมและบําารุงรักษา” ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อนําาไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน โดยการสนับสนุนวิชาการจาก พพ., สกพ., สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กฟผ. กฟภ. กฟน. ผู้ออกแบบและผู้ผลิตอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีพลังงานชีวมวล ชีวภาพ และพลังงานแสงอาทิตย์ บริษัทผู้ประกอบการ และสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในงานภาคปฏิบัติโดยตรง

สัมมนาเชิงวิชาการ “โรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อเศรษฐกิจฐานราก - นโยบาย ข้อกำหนด การออกแบบ ติดตั้ง ควบคุมและบำรุงรักษา” ครั้งที่ 2

วัตถุประสงค์

  1. สร้างความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานการผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน (Hybrid) ระหว่างเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) เชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ (Biogas) และพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV) แก่ผู้สนใจลงทุน ผู้ให้บริการออกแบบและติดตั้ง ตลอดจนวิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิต ใช้ และจําาหน่ายไฟฟ้าอย่างยั่งยืน
  2. ได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประเมิน ทดสอบ บําารุงรักษาปัญหาอุปสรรคในการเชื่อมต่อกับระบบและสัญญารับซื้อไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวง และเทคนิคการแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย
  3. เปิดโอกาสให้ปรึกษา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าอบรมทุกคน และรับทราบแนวทางในการดําาเนินการผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน (Hybrid) ระหว่างเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) เชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ (Biogas) และพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV)

กลุ่มเป้าหมาย

  1. วิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงไฟฟ้าชุมชน
  2. ผู้ให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแบบผสมผสาน (Hybrid) ระหว่างเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) เชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ (Biogas) และพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV) ผู้ให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน แบบผสมผสาน (Hybrid) ระหว่างเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) เชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ (Biogas) และพลังงานแสงอาทิตย์ (SolarPV) สําาหรับโรงไฟฟ้าชุมชน
  3. ผู้สนใจลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้าโรงไฟฟ้าชุมชน
  4. บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง และบุคคลทั่วไปที่สนใจ

สนใจเข้าร่วมสัมมนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียน Online สำรองที่นั่งได้ที่ www.greennetworkseminar.com/powerplant2
โทรศัพท์ 0-2354-5333 ต่อ 500 / 503 (คุณภัทรกันต์ / ศิริภักตร์)
e-mail : seminar@greennetworkseminar.com

มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส “COVID-19” ทางโรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ และบริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จำกัด ร่วมสร้างความมั่นใจ และความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน จึงได้มีมาตรการและแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

  1. ตั้งจุดคัดกรอง ตรวจวัดอุณหภูมิด้วยเครื่องอินฟราเรดบริเวณทางเข้าหลักของโรงแรมทุกจุด
  2. บริการเจลล้างมือฆ่าเชื้อโรคบริเวณพื้นที่สาธารณะอย่างเพียงพอ
  3. ทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อสม่ำเสมอ
  4. ทำความสะอาดด้วยสเปรย์ฆ่าเชื้อทุกจุดที่มีการสัมผัสบ่อย เช่น ปุ่มกดลิฟท์ ที่จับประตู ราวบันไดเลื่อน เคาเตอร์ต่างๆ และห้องน้ำ
  5. ทำความสะอาดอุปกรณ์ครัว ภาชนะต่างๆ ด้วยความร้อนสูง และน้ำยาฆ่าเชื้อ รวมถึงเช็ดทำความสะอาดบริเวณที่ตั้งอาหารและเครื่องดื่ม
  6. ตรวจคัดกรอง วัดอุณหภูมิพนักงานก่อนเข้าทำงาน ให้พนักงานสวมหน้ากากอนามัยและทำความสะอาดมืออย่างสม่ำเสมอ
  7. ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อระบบหมุนเวียนของเครื่องปรับอากาศเป็นประจำ

ทั้งนี้ ทางโรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ จะดำเนินการป้องกันอย่างเต็มที่ และจะติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อดำเนินการให้สอดคล้องตามนโยบายการแพร่ระบาดของรัฐต่อไป

ทางสมาคม IEEE Thailand Section และ IEEE Power & Energy Society – Thailand Chapter ขอความร่วมมือวิทยากร และผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข คำแนะนำสำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนา

  1. ควรงดเข้าร่วมกิจกรรม หากตนเองมีอาการป่วยของโรคระบบทางเดินหายใจ
  2. ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ควรจัดเตรียมหน้ากากอนามัยและแอลกอฮอร์ สำหรับใช้ของตนเองให้เพียงพอ และควรปฏิบัติตามหลักสุขอนามัย เช่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอร์เจล การสวมใส่หน้ากากอนามัย
  3. หากพบว่าตนเองป่วยหรือเริ่มป่วย ควรติดต่อขอเข้ารับการรักษาตามขั้นตอน และหากอาการป่วยนั้นเข้าได้กับโรคในระบบทางเดินหายใจควรงดการเข้าร่วมกิจกรรมทันที
  4. หากสังเกตเห็นผู้ร่วมกิจกรรมมีอาการไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก ผิดปกติ ควรแนะนำให้ผู้มีอาการติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ จุดปฐมพยาบาล เพื่อรับการตรวจรักษาตามขั้นตอน หรือขอรับหน้ากากอนามัยสวมใส่
  5. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้มีอาการป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีอาการโรคในระบบทางเดินหายใจที่ไม่ป้องกันตัวเอง


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save