สภาวิศวกรจัดเสวนาเรื่อง “ตามหาความจริงเรื่องไฟป่าและฝุ่น PM 2.5” ครั้งที่ 4 เดินหน้านำบทสรุปเสนอแนะต่อรัฐบาล -หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก.ค.นี้


สภาวิศวกร ร่วมกับ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อมไทย จัดเสวนาเรื่อง “ตามหาความจริงเรื่องไฟป่าและฝุ่น PM 2.5” ครั้งที่ 4 นโยบายและกลยุทธ์การป้องกัน/แก้ไขไฟป่า และฝุ่น PM 2.5 ณ ห้องเจ้าพระยาบอลรูม โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ เพื่อสรุปข้อเสนอแนะทั้งหมด 4 ครั้งมากำหนดมาตรการป้องกันทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อนำเสนอรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในเดือนกรกฎาคมนี้

ภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.บุญส่ง ไข่เกษ สมาชิกวุฒิสภา, เถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ, ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ผศ.ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมบรรยายและให้ข้อมูล โดยมีผศ.ยุทธนา มหัจฉริยวงศ์ กรรมการสภาวิศวกรและวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และผศ.ดร.ฐิติมา รุ่งรัตนาอุบล อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะทำงานศึกษาหาแนวทางป้องกัน/แก้ไขไฟป่าและฝุ่น PM2.5 ร่วมดำเนินรายการ ซึ่งได้รับความสนใจจากสมาชิกสภาวิศวกร สมาชิกวสท. และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนทั่วไปร่วมงานราว 150 คน

ดร.บุญส่ง ไข่เกษ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) กล่าวว่า นโยบายสิ่งแวดล้อมกำหนดไว้แล้ว เหลือเพียงจะต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด เป็นเรื่องดีที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อตรวจสอบและติดตามยุทธศาสตร์ของชาติ ซึ่งเป็นหน้าที่ของสว.ที่จะติดตามล้วงลึกการทำงานของผู้บริหารกระทรวง ข้าราชการประจำ ที่จะต้องรายงานและชี้แจงถึงความคืบหน้าในการทำงาน ทั้งนี้ปัญหาไฟป่า เป็นหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขณะที่ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ยังไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน คาดว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมควบคุมมลพิษ

ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีปัญหาฝุ่น PM2.5 ตั้งแต่ช่วงปลายปีจนถึงต้นปี จะต้องสร้างระบบริหารจัดการที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดการจัดการแก้ปัญหาที่ตรงจุด เพราะคาดว่าในเดือนธันวาคมปีนี้ถึงต้นปีหน้า ปัญหาฝุ่น PM2.5ก็จะกลับมาอีก

สำหรับแนวทางการแก้ปัญหานั้น จะต้องเน้นแก้ปัญหาที่ต้นทาง คือ ลดการปล่อยมลพิษ ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 ซึ่งคือรถบรรทุกที่ใช้น้ำมันดีเซล ซึ่งทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ถึง 34% โดยแก้ปัญหามลพิษ ให้ใช้มาตรฐาน EURO 4 จากเดิม EURO 3 รวมทั้งพัฒนาให้ใช้มาตรฐาน EURO 6 ซึ่งจะมีระบบกรองฝุ่น และระบบกำจัด NOx รวมถึงการจัดการจราจรให้คล่องตัว ความเร็วสูงขึ้น ส่งเสริมให้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลน้อยลง รวมทั้งควบคุมการเผา โดยจัดระเบียบการเผาให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

เถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า การตรวจวัดเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น และชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งแต่ละคนจะมีเครื่องมือตรวจวัด ต้องเข้าใจความสามารถถึงประสิทธิภาพการใช้งาน เทียบข้อมูลระหว่างกัน เผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนรับทราบมากขึ้น การดูแลยานพาหนะ คุณภาพน้ำมัน ซึ่งมีผลต่อการเกิดฝุ่น PM 2.5

ในส่วนของไฟป่า ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย จังหวัด เพื่อควบคุมการเผา กระทรวงเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกกรม ที่ผ่านมามีการเผาอ้อย ซังข้าว ซังข้าวโพดทุกหน่วยงาน ต้องมาให้ความรู้ประชาชนให้หยุดการเผาให้ได้ กำหนดระเบียบการจัดการการเผา ไม่ให้สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ผศ.ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดเสวนาประชาคม เพื่อรับฟังและหาแนวทางแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยรวบรวมและสรุปประเด็นสำคัญ 2 ประการคือ ประการแรก ปัญหาฝุ่น PM2.5 ทางมหาวิทยาลัยฯ ยินดีที่จะให้การสนับสนุนในการลดปัญหาฝุ่น PM2.5
ประการที่สอง การรับรู้และการเตรียมความพร้อมของประชาชน ปัจจุบันมีข่าวสารมากมาย แต่เราไม่มีศูนย์ข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์และสามารถรับมือกับข้อมูลที่หลั่งไหลทาง Social Media พร้อมแนะนำให้นำหลักเศรษฐศาสตร์มาคิดคำนวณมูลค่าความเสียหายไมโครกรัมเป็นตัวเงิน

ส่วนปัญหาไฟป่า เนื่องจากมีการเผาก่อนและหลังการประกาศห้ามเผา ทำให้ปีนี้เกิดปัญหาไฟป่ารุนแรง ทั้งนี้ควรมีระบบชังเผาในช่วงเวลาที่เหมาะสม และระบบโควต้าในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยคาดการณ์ช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น เผาแล้วฝนตก ก็จะช่วยลดปัญหาได้ เชื่อว่าไม่สามารถห้ามการเผาได้ แต่จะต้องจัดช่วงเวลาให้เหมาะสม

ผศ.ดร.ฐิติมา รุ่งรัตนาอุบล อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานช่วยคิดและจัดเสวนาหลายแห่ง จึงขอฝากไปยังภาครัฐให้นำข้อเสนอแนะไปปฏิบัติ ส่วนใดที่สามารถทำได้ทันทีให้รีบทำ ส่วนข้อปฏิบัติใดที่จะต้องร่วมทำหลายหน่วยงาน ให้หาผู้รับผิดชอบและลงมือปฏิบัติในลักษณะประชา+ รัฐ จะช่วยแก้ปัญหาไฟป่าและฝุ่น PM2.5 ได้


Source: Credit ข่าว นิตยสาร Engineering Today – www.engineeringtoday.net


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save