สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็คโทรนิคส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) และ IEEE Power & Energy Society – Thailand Chapter และ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดสัมมนาเชิงวิชาการ ในหัวข้อ “โรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อเศรษฐกิจฐานรากและโครงการนําร่อง: นโยบาย ข้อกําหนด การออกแบบ ติดตั้ง ควบคุมและบํารุงรักษา” ในวันที่ 5-7 พฤษภาคม 2564 ณ ห้องกมลทิพย์ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ
หลักการและเหตุผล
ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน ภายใต้นโยบายพลังงานเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชุมชน ในรูปแบบสานพลังประชารัฐ โดยมีเป้าหมายที่จะให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในด้านพลังงาน เพื่อขับเคลื่อนโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ โดย กพช. มุ่งหวังที่จะทําให้คนในชุมชน มีรายได้จากการเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า มีรายได้จากการจําหน่ายวัสดุทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างความเข้มแข็งในชุมชน รวมทั้งช่วยลดการย้ายถิ่นฐานของแรงงาน เกิดการจับจ่ายใช้สอยในพื้นที่ ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจสามารถนําไฟฟ้าที่ผลิตได้สร้างมูลค่าเพิ่มในการประกอบอาชีพของชุมชน ซึ่ง กพช. ได้มอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาศึกษาและกําหนดรายละเอียดต่างๆ ของโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน ซึ่งตามกรอบนโยบายที่คณะกรรมการ กพช. ได้เห็นชอบ เช่น เป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้า พื้นที่ที่ไม่มีข้อจําากัดทางด้านระบบส่งและระบบจําหน่าย รวมทั้งได้มอบหมายให้ กบง. พิจารณารูปแบบที่เหมาะสมถึงการเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รวมทั้งภาคเอกชนที่สนใจร่วมลงทุนกับชุมชน เพื่อช่วยด้านการบริหารจัดการโรงไฟฟ้าให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
ในปี 2564 โรงไฟฟ้าชุมชน ภายใต้หลักเกณฑ์ใหม่โครงการนําร่อง ที่จะใช้วิธีประมูล คัดเลือก และแบ่งประเภทเชื้อเพลิงออกเป็น ชีวมวล และชีวภาพ จะนําร่องการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก 150 เมกะวัตต์ ที่จะดําเนินการในระยะแรกและสามารถที่จะจ่ายไฟเข้าระบบได้ภายใน 36 เดือน นับจากวันลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า โดยมีเป้าหมายในการรับซื้อ 150 เมกะวัตต์
สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็คโทรนิคส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) และ IEEE Power & Energy Society – Thailand Chapter และ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นถึงความสําคัญจึงได้จัดให้มีการสัมมนาเชิงวิชาการในหัวข้อ “โรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อเศรษฐกิจฐานรากและโครงการนําร่อง: นโยบาย ข้อกําหนด การออกแบบ ติดตั้ง ควบคุมและบํารุงรักษา” ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาพลังงานทดแทน เพื่อนําไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน โดยการสนับสนุนวิชาการจาก พพ., สกพ., สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, กฟผ., กฟภ., กฟน., ผู้ออกแบบและผู้ผลิตอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีพลังงานชีวมวล ชีวภาพ และพลังงานแสงอาทิตย์, บริษัทผู้ประกอบการ และสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในงานภาคปฏิบัติโดยตรง
วัตถุประสงค์
- สร้างความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานการผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน (Hybrid) ระหว่างเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) เชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ (Biogas) และพืชพลังงานผสมน้ําาเสีย/ของเสีย (Energy Crops) แก่ผู้สนใจลงทุน ผู้ให้บริการออกแบบและติดตั้ง ตลอดจนวิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตใช้และจําาหน่ายไฟฟ้าอย่างยั่งยืน
- ได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประเมิน ทดสอบบําารุงรักษา ปัญหาอุปสรรคในการเชื่อมต่อกับระบบและสัญญารับซื้อไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวง และเทคนิคการแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย
- เปิดโอกาสให้ปรึกษา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าอบรมทุกคนและรับทราบแนวทางในการดําาเนินการผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน (Hybrid) ระหว่างเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) เชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ(Biogas) และพืชพลังงานผสมน้ําาเสีย/ของเสีย (Energy Crops)
กลุ่มเป้าหมาย
- วิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงไฟฟ้าชุมชนและโครงการนําาร่อง
- ผู้ให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแบบผสมผสาน (Hybrid) ระหว่างเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) เชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ (Biogas) และพืชพลังงานผสมน้ําาเสีย/ของเสีย (Energy Crops)สําาหรับโรงไฟฟ้าชุมชนและโครงการนําาร่อง
- ผู้สนใจลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้าโรงไฟฟ้าชุมชนและโครงการนําาร่อง
- บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง และบุคคลทั่วไปที่สนใจ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
บริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จำกัด
471/3-4 อาคารพญาไทเพลส ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม. 10400
โทร: 0-2354-5333 Ext. 500 (คุณภัทรกันต์) / 503 (คุณณัฐชญาณ์)
แฟกซ์: 0-2354-5322
อีเมล์: seminar@greennetworkseminar.com
*** สมาคมฯ ให้ความสําคัญกับมาตรการของภาครัฐ เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 แก่ผู้เข้าสัมมนาและวิทยากรทุกท่าน ทางสมาคมฯ ได้จัดสัมมนาให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคและคําแนะนําของทางราชการ |