GGC ชู Transformation for Future Growth ขับเคลื่อน 3 กลุ่มธุรกิจหลักปี’68 ตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจก 20% ปี’73


กรุงเทพฯ : บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ประกาศทิศทางธุรกิจและเป้าหมายในปี 2568 พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ Transformation for Future Growth มุ่งเน้นการเติบโตอย่างแข็งแกร่งใน 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ตั้งเป้าหมายรายได้รวมมากกว่า 20,000 ล้านบาท วางกลยุทธ์หลักสู่ความเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม พร้อมตั้งเป้าลด GHG Reduction 20% ในปี 2573  สู่ Net Zero (Scope1&2)  ในปี 2593

กฤษฎา ประเสริฐสุโข

กฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC เปิดเผยว่า  ปี 2568 ยังคงเป็นปีแห่งความท้าทายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบในหลายมิติ รวมถึงมาตรการกีดกันทางการค้าที่ยังคงมีแนวโน้มต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานของสินค้าและบริการสำหรับสินค้าทั่วโลก นอกจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวต่อเนื่องทั่วโลก ภูมิทัศน์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ความไม่แน่นอนจากนโยบายความยั่งยืนของฝั่งอเมริกาและยุโรป เช่น EUDR ผนวกกับทั่วโลกมีความตระหนักถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้บริษัทฯ ต้องเร่งหามาตรการเพื่อบริหารจัดการต้นทุน และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ตาม แนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมากขึ้น นับเป็นโอกาสของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของโลกได้อย่างยั่งยืน

บริษัทฯ จึงได้ทบทวนโครงการลงทุนสำคัญและการเร่งดำเนินการต่างๆ อย่างระมัดระวัง โดยการปรับกลยุทธ์ใหม่ เพื่อบรรลุเป้าหมายระยะยาวที่สำคัญ ภายใต้กรอบยุทธ์ศาสตร์ Transformation for Future Growth  ด้วยการดำเนินการตาม 3 กลยุทธ์หลัก คือ เข้มแข็ง เติบโต ยั่งยืน โดยปรับเปลี่ยน กลุ่มธุรกิจหลักจาก ธุรกิจพลังงานชีวภาพ (BioEnergy) ไปสู่ ธุรกิจเคมีชีวภาพ (BioChemical) ซึ่งยังมีความต้องการและมีแนวโน้มเติบโตในอนาคต สัดส่วน 79% ในปี 2573รวมถึงเร่งแสวงหาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม (High Value Products) ที่ให้ผลตอบแทนสูงและตอบสนองความต้องการของตลาดเข้ามาเติม เพื่อให้บริษัทฯ รักษาขีดความสามารถในการแข่งขันและเติบโตอย่างยั่งยืน

“ด้านกลยุทธ์เข้มแข็ง ลดค่าใช้จ่าย 215 ล้านบาท พร้อมกับหาตลาดใหม่ภายใต้ Commercial Excellence  ในปี 2567 ไปตลาดแอฟริกา  โดยอินเดียอาจเป็นตัวเลือก และเป็น Emerging Market สร้างรายได้ 272 ล้านบาท พร้อมทั้งจัดการ Feedstock และซัพพลายเชนให้เหมาะสม เนื่องจากเป็น Cost ค่าใช้จ่ายที่สูง ถึง 80%  โดยเลือกผลิตภัณฑ์อื่นมาใส่เพื่อให้ผลิตภัณฑ์คุณภาพดีขึ้นกว่าเดิม และเปิดตัวผลิตภัณฑ์ Biochemical  ใหม่ พร้อมมุ่งหน้าสู่การเติบโต ด้วยการนำ BioEnergy มาใช้ โดยร่วมกับ GC ผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานปลายปี 2567 รวมถึง   Marine  โดยใช้ Green Ethanol  เป็นสินค้าเรือธง โดยลูกค้ายอมรับว่าราคา Commodity  และจับมือกับThai Ethoxylate ผลิต FAEOสารใช้สำหรับ Personal Care เช่นสบู่ แชมพู โดย Thai Ethoxylate นำสาร FAEO  ขยายกำลังการผลิตได้ 1 แสนตัน นับเป็นการสร้าง HVP  ที่ยั่งยืน” กฤษฎา กล่าว

GGC

ในปี 2568 บริษัทฯ ได้ขับเคลื่อนเชิงกลยุทธ์ภายใต้ 3 Strategic Focus ประกอบด้วย 1. กลยุทธ์แรก การปรับโครงสร้างธุรกิจของบริษัทฯ (Portfolio Transformation : Transform BioEnergy to BioChemicals) กลยุทธ์ที่2. ขยายกำลังการผลิตของธุรกิจเคมีชีวภาพ (Growth in BioChemicals by Capacity Expansion) และกลยุทธ์ที่ 3 การเติบโตไปยังกลุ่มผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษด้วยกลยุทธ์การลงทุนแบบลดการถือครองทรัพย์สิน (Growth in Specialty Platform with Asset Light Strategy)

GGC

กฤษฎา กล่าวถึงการปรับโครงสร้างธุรกิจของบริษัทฯ (Portfolio Transformation) ว่า จากสถานการณ์แนวโน้มธุรกิจพลังงานชีวภาพที่ได้รับผลกระทบจากการเข้ามาของ EV ทำให้แนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ลดลง ส่งผลให้ด้านการตลาดมีการแข่งขันที่สูง รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ในกลุ่มพลังงานชีวภาพมีแนวโน้มลดลง บริษัทฯ จึงมีมาตรการบริหารจัดการต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงมีนโยบายปรับโครงสร้างทางธุรกิจของบริษัทฯ โดยมุ่งเน้นการขยายกำลังการผลิตในกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพให้มากยิ่งขึ้น

“ผลจาก Energy Transition   ได้ขับเคลื่อนประเทศสู่ Net Zero เชื้อเพลิงฟอสซิลได้รับแรงกดดัน เพิ่มการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น เราเตรียมพร้อมเปลี่ยนผ่าน แต่เร็วขึ้นกว่าเดิมเพราะอาจจะกระทบมากกว่าเดิม โดยเพิ่มนโยบายโตในส่วนของเอทานอลต่ำลง  รวมทั้ง Climate Change ได้ขับเคลื่อน โดยไทยตั้งเป้าสุดโต่งเป็นประเทศแรก แต่นโยบายไปอีกด้านไม่สอดคล้องกัน อย่างไรก็ตาม เราต้องขับเคลื่อนภายใต้ข้อจำกัด” กฤษฎา กล่าว

ในปี 2567 ยังคงดำเนินโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานทั่วทั้งองค์กร (Max Integration) เพื่อบริหารจัดการต้นทุน และลดค่าใช้จ่ายทั่วทั้งองค์กร รวมถึงการสร้างความเป็นเลิศทางการตลาด เพื่อขยายการขายออกสู่ตลาดใหม่ที่มีผลกำไรสูงขึ้น นอกจากนี้ได้เริ่มดำเนินการนำเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Asset Utilization) เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ และทดลองจำหน่ายออกสู่ตลาดเรียบร้อยแล้วในช่วงปลายปี 2567 ทั้งนี้ ในปี 2568 ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อการผลิตและขายผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เป็นไปตามเป้าหมาย

ส่วนการขยายกำลังการผลิตของธุรกิจเคมีชีวภาพ (Growth in BioChemicals by Capacity Expansion) ภาพรวมธุรกิจเคมีชีวภาพ ยังมีแนวโน้มเติบโตในอนาคต โดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์สำหรับของใช้ในบ้านและของใช้ส่วนตัว (Home and Personal Care Product: HPC) ประกอบกับความได้เปรียบทั้งในการเป็นผู้ผลิตเพียงรายเดียวในประเทศ

ในปี 2567 ได้เร่งดำเนินการศึกษาโครงการปรับปรุงกระบวนการผลิตในกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ และการวางแผนในการบริหารจัดการวัตถุดิบให้เพียงพอและมีต้นทุนที่แข่งขันได้ โดยในปี 2568 จะมีการพิจารณาแนวทางการดำเนินการและวางแผนจัดเตรียมเงินลงทุนอย่างเหมาะสมสำหรับการดำเนินการปรับปรุงกระบวนการผลิตในอนาคต

กลยุทธ์ที่ 3 การเติบโตไปยังกลุ่มผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษด้วยกลยุทธ์การลงทุนแบบลดการถือครองทรัพย์สิน (Growth in Specialty Platform with Asset Light Strategy)  บริษัทฯ ได้เริ่มต้นพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม (HVP) เพื่อตอบสนองแนวโน้ม Megatrend ด้านสุขภาพและอยู่ใน Key Drive ที่ทั่วโลกต้องการ โดยร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ที่มีกลยุทธ์ทั้งภายในและภายนอกสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ตลาดและเพิ่มความยั่งยืนทางธุรกิจผ่านกลยุทธ์การลดการถือครองทรัพย์สิน (Asset Light Strategy) เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและสนับสนุนการเติบโตอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้นำแนวคิด Market Focused Business Transformation (MFBT) มาใช้เป็นกรอบในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน เพื่อรองรับการดำเนินงานด้านการตลาดและการขายที่มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม (HVP) ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดอย่างตรงจุด ผ่านการศึกษาและวิเคราะห์ทางการตลาดเชิงลึก เพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตและรายได้ใหม่ให้กับบริษัทฯ ในระยะยาว

กฤษฎา กล่าวว่า บริษัทฯ ได้ต่อยอดจากผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 แพลตฟอร์ม ได้แก่ 1) อาหารและส่วนประกอบอาหาร (Food & Feed) 2) เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคล (Cosmetics & Personal Care) 3) โภชนเภสัช (Pharmaceuticals) และ 4) เคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ (Industrial Applications) โดยตั้งเป้าหมาย EBITDA จากผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (HVP) และผลิตภัณฑ์ใหม่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ในปี 2573 ซึ่งบริษัทฯ ได้ดำเนินการศึกษาโอกาสพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (High Value Products) และผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน (Sustainable Products) เพื่อเพิ่มรายได้และกำไรให้กับบริษัทฯ ในอนาคต

ในปี 2567 บริษัทฯ ได้มีการขยายผลิตภัณฑ์ Probio Pro Plus+ ในกลุ่มอาหารเสริมภายใต้แบรนด์ “Nutralist” เพิ่มเติมในกลุ่มคลีนิคและโรงพยาบาล นอกจากนี้ได้เริ่มดำเนินการศึกษาวิจัยผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม (HVP) ซึ่งจะมีการขายออกสู่ตลาดในปี 2568 ทั้งหมด 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ตัวทำละลายชีวภาพ ภายใต้แบรนด์ “BioSovel”  ซึ่งในอุตสาหกรรมสี และผลิตภัณฑ์สารเพิ่มความชุ่มชื้นกลุ่มเคมีชีวภาพ ที่เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและเครื่องสำอาง

บริษัทฯ เร่งดำเนินการปรับปรุงกระบวนการผลิตและดำเนินโครงการลงทุน รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2568 อย่างไรก็ตาม โครงการลงทุนสำคัญใช้ระยะเวลาในการศึกษาและก่อสร้างประมาณ 4 ปี การพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม ใช้ระยะเวลาในการทดลองตลาดและสร้างฐานลูกค้า ประมาณ 3-5 ปี ซึ่งจากแผนกลยุทธ์ดังกล่าว บริษัทฯ จะเติบโตอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรมได้ในปี 2572 เป็นต้นไป

กฤษฎา กล่าวถึงแผนการดำเนินงานในปี 2568 ว่า  GGC  จะสามารถสร้างรายได้และการเติบโตจากการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น และคาดการณ์อัตรากำไร EBITDA Margin ใกล้เคียงกับในปัจจุบันประมาณ 4%  สำหรับแผนการดำเนินงานใน 5 ปี (2568-2572) ได้เตรียมความพร้อมเพื่อการขยายและสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจในระยะยาว ด้วยงบลงทุนไม่น้อยกว่า 1,500 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนแผนการเติบโตในระยะยาว รวมถึงการเพิ่มอัตรากำไร โดยปัจจุบัน บริษัทฯ ไม่มีหนี้สินทางการเงิน (Debt Free) มีสถานะทางการเงินที่แข็งแรง การเตรียมความพร้อมในการจัดหาเงินทุนในรูปแบบ Sustainability Financing พร้อมที่จะจัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนการเติบโตตามแผนกลยุทธ์

ด้านการเติบโตอย่างยั่งยืน ที่ผ่านมาบริษัทฯ สามารถการปล่อยก๊าซเรือนกระจกGHG Reduction ได้ 3,802 ตันคาร์บอนออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) สามารถลดคาร์บอนได้ 3,589 ตันคาร์บอนออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) และคาดว่าต่อไปในทุกปีจะลดคาร์บอนได้ 21,534  ตันคาร์บอนออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e)  พร้อมตั้งเป้าลด GHG Reduction 20% ในปี 2573  สู่ Net Zero (Scope1&2)  ในปี 2593

“เราเชื่อมั่นว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจที่วางไว้ ขณะเดียวกันก็เสริมศักยภาพในด้านต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นองค์กรที่ยั่งยืนและเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ Transformation for Future Growth   เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างอนาคตที่มั่นคง และยั่งยืนให้กับผู้มีส่วนได้เสีย สังคม และประเทศไทย ด้วยการมุ่งพัฒนายกระดับศักยภาพในทุกด้านเพื่อการเติบโต ของกลุ่มธุรกิจอย่างแข็งแกร่ง พัฒนาและยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนต่อไปในอนาคต” กฤษฎา กล่าวทิ้งท้าย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save