รมว.พลังงาน ถกประชุม กบง. ทบทวนนำเข้าแอลเอ็นจี กฟผ. 1.5 ล้านตัน ยืนยันต้องจบโดยเร็ว-ไม่เป็นภาระค่าไฟฟ้าประชาชน


30 สิงหาคม 2562 – นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ถกประเด็นร้อน พิจารณาการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ ก๊าซแอลเอ็นจี (LNG) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ก่อนหน้านี้ได้เรียกประชุม 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมอบหมายให้ไปหาทางออกร่วมกัน เพื่อแก้ไขไม่ให้เกิดปัญหาค่าปรับตามสัญญาไม่ใช้ก็ต้องจ่าย โดย รมว.พลังงาน ยังไม่เปิดเผยรายละเอียด แต่ยืนยันเรื่องนี้จะจบโดยเร็ว และอยู่ภายใต้ 2 นโยบายหลักที่ให้ไว้คือ ต้องไม่เป็นภาระต่อค่าไฟฟ้าภาคประชาชน และต้องส่งเสริมนโยบายผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางแอลเอ็นจีในภูมิภาคนี้

ถกประเด็นร้อน การนำเข้า LNG กฟผ. 1.5 ล้านตัน

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ กล่าวถึงประเด็นการนำเข้าแอลเอ็นจี กฟผ. 1.5 ล้านตัน  ว่า “การนำเข้าแอลเอ็นจี ของ กฟผ. คงไม่ถึงขั้นต้องนำไปสู่การปรับแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติใหม่ (Gas plan) เพราะแอลเอ็นจี กฟผ. เป็นปริมาณส่วนน้อย แค่เพียง 1.5 ล้านตันต่อปีเท่านั้น จึงไม่กระทบภาพรวมของประเทศ และยืนยันว่ากระทรวงพลังงงานยังสนับสนุนการเปิดเสรีก๊าซ แต่ต้องดำเนินอยู่บนพื้นฐานที่ประเทศและประชาชนได้ประโยชน์”

สำหรับการที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้รับทราบข้อเสนอของ กฟผ. และ ปตท. ที่จะร่วมกันบริหารจัดการไม่ให้เกิดภาระ Take or Pay ภายใต้การกำกับของ กกพ. แทนการลงนาม MOU รับทราบความก้าวหน้าของการเจรจาสัญญา Global DCQ ที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2562 และเห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการการนำเข้า LNG ของ กฟผ. เพื่อไม่ให้เกิดภาระ Take or Pay ที่ กฟผ. และ ปตท.ที่ประชุม กบง. จึงมีมติให้ กฟผ. จัดซื้อ LNG แบบ Spot สำหรับการทดลองระบบการแข่งขัน ตามที่ กพช. ได้มีมติไว้เมื่อ 31 ก.ค. 60 และให้นำประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงสร้างราคาก๊าซฯ หลักเกณฑ์การสั่งการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า ต่อ กพช. พิจารณา สำหรับการไปเจรจาสัญญากับ Petronas มอบหมาย ให้ กฟผ. ไปเจรจา และการบริหารจัดการเรื่องสัญญาการใช้ LNG Terminal และท่อส่งก๊าซ มอบหมาย ให้ กกพ. ปตท. กฟผ. ไปดำเนินการและให้นำเสนอ กบง. ต่อไป

ทั้งนี้ กบง. ได้พิจารณาจากสถานการณ์ LNG ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป โดยราคา LNG Spot ปัจจุบันลดลงมาอยู่ที่ระดับ 4 USD/MMBTU ซึ่งเป็นสัญญาณว่าในช่วง 2 – 3 ปีข้างหน้า แนวโน้ม LNG จะมีราคาลดลง ซึ่งการจัดหา LNG ในประเทศไม่ได้ลดลง ปริมาณความต้องการใช้ LNG ก็ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นตามที่ได้ประมาณการไว้ ดังนั้น ความจำเป็นในการนำเข้า LNG มีแนวโน้มเปลี่ยนไปจากเดิม

สิ่งสำคัญคือการนำเข้า LNG ของ กฟผ. ไม่ควรส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าและต้องไม่ให้เกิดภาระ Take or Pay อาจมีความจำเป็นต้องพิจารณาทบทวนการแบ่งราคา LNG เป็น 2 Pool และข้อจำกัดของกฎหมายในกรณีที่ กฟผ. จะนำ LNG ไปจำหน่ายในตลาดอื่นก่อนดำเนินการต่างๆ ซึ่งจากการพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว กบง. จึงมีมติเห็นชอบข้างต้น แต่ทั้งนี้ยังคงคำนึงถึงแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ เพื่อรักษาผลประโยชน์และลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของประชาชนในภาพรวม

ทั้งนี้ ประเด็นการ การนำเข้าแอลเอ็นจี ของ กฟผ. เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2560 ที่เห็นชอบแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซฯ โดยได้มอบหมายให้ กฟผ. นำร่องเป็นผู้จัดหาและนำเข้าก๊าซฯ ในประมาณไม่เกิน 1.5 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2562 และได้นำร่องทดสอบความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานตามข้อกำหนด TPA เพื่อเป็นทางเลือกการใช้พลังงานให้ประเทศในต้นทุนต่ำ

โดยในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทาง กฟผ. ได้เปิดประมูลคัดเลือกผู้ชนะการประมูลจัดหาและนำเข้าแอลเอ็นจีให้กับ กฟผ. ในประมาณไม่เกิน 0.8-1.5 ล้านตันต่อปี ซึ่งบริษัท ปิโตรนาส แอลเอ็นจี จากประเทศมาเลเซีย เป็นผู้ชนะการประมูล แต่ยังไม่สามารถลงนามสัญญาซื้อขายได้ เพราะติดปัญหาไม่ใช้ก๊าซก็ต้องชำระเงิน (Take or Pay)


Source: ภาพ-ข่าว สำนักงานนโยบายและแผนพลังงงาน กระทรวงพลังงาน


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save