กรมชลฯลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชน-เช็คปริมาณน้ำหลังเกิดอุทุกภัยจ.ลพบุรี เตรียมพัฒนาแผนระยะยาวหนุนสร้างคลองระบายน้ำชัยนาท-ป่าสัก


“รองอธิบดีกรมชลประทาน ” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำจ.ลพบุรีและมอบถุงยังชีพให้ประชาชน ต.พุคา เพื่อบรรเทาเดือดร้อนให้กับชุมชน เร่งศึกษาข้อมูลปริมาณน้ำจากสถานการณ์ อุทุกภัยที่เกิดขึ้น สู่แผนการบริหารจัดการน้ำระยะยาว ในโครงการคลองระบายน้ำหลากชัยนาท-ป่าสัก ตั้งเป้าเพิ่มประสิทธิภาพระบายน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก บรรเทาปัญหาอุทุกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เสริมความมั่นคงระบบน้ำป้อนภาคเกษตร ขยายพื้นที่ชลประทาน

เฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วนี้ ได้ลงพื้นที่ จ.ลพบุรี หนึ่งใน 3 จังหวัด (นครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี) ที่อยู่พื้นที่พัฒนาโครงการคลองระบายน้ำหลากชัยนาท-ป่าสัก ซึ่งโครงการดังกล่าวมีระยะทาง 88 กิโลเมตร เริ่มอ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ สิ้นสุด แม่น้ำป่าสักบริเวณ ต.เริงราง อ.เสาไห้ จ.สระบุรี มีเป้าหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาอุทุกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างที่ อยู่ใน 9 แผนหลัก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะช่วงฤดูน้ำหลากของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งขณะนี้โครงการดังกล่าว อยู่ระหว่างการรวบรวมความคิดเห็นของประชาชน ควบคู่ไปกับการศึกษาออกแบบทางวิชาการโดยเฉพาะ เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนรองรับการพัฒนาโครงการได้อย่างสมบูรณ์

“ด้วยสถานการณ์อุทุกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ในขณะนี้ จ.ลพบุรี เป็นอีกพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอุทุกภัยน้ำท่วม ส่งผลต่อปริมาณน้ำที่เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในหลายแห่ง และหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคกลาง กรมชลฯ ได้พยายามเข้าช่วยเหลือในการเร่งระบายน้ำโดยด่วน พร้อมกันนี้ได้มอบสิ่งของ
อุปโภค-บริโภค เพื่อให้ประชาชนไม่สามารถสัญจรออกจากพื้นที่ได้ ประกอบด้วย น้ำดื่ม 45 แพ็ค บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 8 ลัง นมกล่องพร้อมดื่ม 10 ลัง ไข่ไก่ 30 แผง แก่ประชาชน ต.พุคา อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นได้ทันท่วงที” เฉลิมเกียรติกล่าว

ในส่วนแผนการแก้ไขปัญหาหาระยะยาว กรมชลประทาน ได้มีการทำการศึกษา โครงการคลองระบายน้ำหลากชัยนาท-ป่าสัก เพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดลพบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง ขณะนี้ โครงการอยู่ระหว่างการสำรวจและออกแบบในการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ เพื่อเร่งระบายน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพระบายน้ำได้ถึง 2,800 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากอุทุกภัยให้ประชาชนได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าการพัฒนาโครงการ ได้มีการออกแบบและสำรวจ การจัดทำโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการรวบรวมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ที่นำไปสู่การแผนพัฒนาโครงการที่สมบูรณ์ ก่อนนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อพิจารณาอนุมัติในการเริ่มก่อสร้างโครงการ ในปี 2566 ซึ่งจะสร้างผลดีต่อประชาชน และเศรษฐกิจในภาพรวม ในการเพิ่มพื้นที่ชลประทานเพื่อการเพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตร 868,697 ไร่ รวมถึงยังเป็นแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save