สนพ. เปิดรับฟังความคิดเห็นกรอบ “แผนพลังงานชาติ” มุ่งลดคาร์บอนฯสุทธิเป็นศูนย์ คาดเริ่มใช้ได้จริงปี 2566


สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดรับฟังความคิดเห็นกรอบ “แผนพลังงานชาติ” ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมี นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน โดยมอบให้แต่ละหน่วยงานจัดทำ 5 แผนย่อย เพื่อสรุปเสนอให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) พิจารณาอีกครั้งช่วงปลายปี 2565 คาดเริ่มใช้แผนพลังงานชาติได้จริงปี 2566

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า สำหรับการเปิดฟังความคิดเห็น “กรอบแผนพลังงานชาติ” นี้ เป็นไปตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้พิจารณาเห็นชอบกรอบแผนฯ ดังกล่าวเมื่อเดือนสิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งได้กำหนดแนวนโยบาย ภาคพลังงาน โดยมีเป้าหมายสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถมุ่งสู่พลังงานสะอาด และลดการปลดปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2065 – 2070 ทั้งนี้ กพช. ได้มอบหมายให้กระทรวงพลังงานดำเนินการระยะเร่งด่วน อาทิ 1. จัดทำแผนพลังงานชาติ ภายใต้กรอบนโยบายที่ทำให้ภาคพลังงานขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจให้สามารถรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ Neutral-Carbon Economy ได้ในระยะยาว 2. พิจารณาเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดในรูปแบบต่างๆ และปรับลดสัดส่วนการรับซื้อไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ภายใต้ PDP2018 rev.1 ในช่วง 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2564-2573) ตามความเหมาะสม โดยให้นำหลักการวางแผนเชิงความน่าจะเป็นโอกาสเกิดไฟฟ้าดับ (LOLE) มาใช้เป็นเกณฑ์ แทนกำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง (Reserve Margin) ซึ่งไม่สะท้อนผลจากความไม่แน่นอนของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่สูงขึ้นได้ 3. ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานระบบสายส่งและจำหน่ายไฟฟ้าให้มีความยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพ และครอบคลุมพื้นที่ศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบต่างๆ เพื่อรองรับปริมาณกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในอนาคต และสามารถตอบสนองต่อการผลิตไฟฟ้าได้อย่างทันท่วงทีโดยไม่กระทบกับความมั่นคงของประเทศ

โดย สนพ. จะเริ่มเปิดรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน หลังจากนั้นจะนำมาปรับปรุงแผนฯ และมอบหมายให้แต่ละหน่วยงานนำแผนฯ ไปจัดทำแผนย่อย ซึ่งมีทั้งหมด 5 แผน ได้แก่ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ PDP 2022 และ แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ หรือ Gas Plan โดย สนพ. เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก หรือ AEDP และแผนอนุรักษ์พลังงาน หรือ EEP กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง หรือ Oil Plan ทางกรมธุรกิจพลังงาน เป็นผู้รับผิดชอบ

แผนพลังงานชาติ

ผอ.สนพ. กล่าวเพิ่มเติมว่า คาดว่าแผนพลังงานชาติ เริ่มใช้ได้จริงปี 2566 โดยยืนยันว่าการจัดทำแผนดังกล่าวยังเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่เสนอ กพช. ทั้งนี้ การเปิดรับฟังความเห็นกรอบแผนพลังงานแห่งชาติ จะเป็นกรอบและทิศทางของแผนฯ ที่จะมุ่งสู่พลังงานสะอาดมากขึ้น และเพื่อแสดงถึงจุดยืนและการเตรียมการในการปรับเปลี่ยนให้รองรับแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านระบบเศรษฐกิจสู่เศรษฐกิจแบบคาร์บอนต่ำ (Neutral-carbon economy) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยและโอกาสในการดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศที่มีนโยบายมุ่งเน้นการใช้พลังงานสะอาด โดยเฉพาะภายในช่วงเวลา 1-10 ปี ข้างหน้า ทั้งนี้ ทั้ง 5 แผน จะถูกรวบรวมและจัดทำให้เป็นแผนพลังงานชาติเพียงฉบับเดียว โดยหลังจากนั้นจะเปิดรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อให้ได้แผนพลังงานชาติที่ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นจัดทำแผนฯ ร่วมกันกำหนดทิศทางให้นโยบายด้านพลังงานของประเทศไทย และจะนำเสนอ กบง. และกพช. ตามลำดับต่อไป


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save