สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย จัดการสัมมนาการจัดการเผาในพื้นที่เพาะปลูก เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา PM2.5 ประเทศไทย


สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยร่วมกับ Pure-Earth และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดงานสัมมนาการจัดการเผาในพื้นที่เพาะปลูกและข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อร่วมแก้ไขปัญหา PM2.5 ในประเทศไทย เพื่อสรุปผลการศึกษาและรวบรวมความคิดเห็นต่อการจัดการเผาในพื้นที่เพาะปลูก อันเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำร่างแนวปฏิบัติและข้อเสนอเชิงนโยบายฯ ให้เกิดความสมบูรณ์และถูกต้อง และจัดทำเอกสารเผยแพร่ใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนดำเนินงานของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

วิจารย์ สิมาฉายา

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การเผาในพื้นที่เพาะปลูกทำให้เกิดผลกระทบจากฝุ่น ควัน และก๊าซอันตรายต่อสุขภาพและชีวิต พืช ดิน และน้ำ ตลอดจนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ การเผาในพื้นที่โล่งจากวัสดุเกษตรในพื้นที่เพาะปลูก เป็นปัจจัย 2 ในแหล่งกำเนิดและทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ รองจากแหล่งยานพาหนะเครื่องยนต์ดีเซลที่พบได้ในเขตเมืองใหญ่ ดังนั้นผลในการสัมมนาการจัดการเผาในพื้นที่เพาะปลูกในครั้งนี้ จะเป็นส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนการแก้ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองของประเทศในภาคเกษตร ทั้งในด้านแนวปฏิบัติและข้อเสนอเชิงนโยบายให้กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

เถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ

นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองอธิการบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ปัจจุบัน ทส. ได้ปรับแผนการปฏิบัติตรวจแหล่งกำเนิด โดยบังคับให้ใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดมากขึ้น รวมทั้งการเผาในที่โล่ง ได้แก่ การเผาขยะ เผาในพื้นที่ไร่นาหรือไร่อ้อย ขอให้งดการเผาที่โล่งในพื้นที่จังหวัดรอบกรุงเทพฯ พร้อมมีการประเมินสถานการณ์เป็นระยะ ผ่านศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) โดยคณะอนุกรรมการสื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งพร้อมจะบูรณาการประสานงานรวบรวมข้อมูลและประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชนในรูปแบบ One Voice Team ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

วิลาวรรณ น้อยภา

นางสาววิลาวรรณ น้อยภา หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า จากผลการศึกษาในครั้งนี้ ได้มุ่งการจัดการที่ต้นเหตุหรือแหล่งกำเนิดในพื้นที่เพาะปลูก โดยมองว่าเป็นประเด็นที่ควบคุมและจัดการได้ ทุกภาคส่วนต้องร่วมด้วยช่วยใน 3 ด้านสำคัญ ได้แก่ 1. การป้องกันและการลดการเผาในระบบการผลิตในพื้นที่ ตั้งเป้าหมายการทำเกษตรปลอดการเผา ลดการเผาและมุ่งประโยชน์จากเศษวัสดุทางการเกษตรทุกชนิด 2. ควบคุมและจัดระบบการจัดการเผาในพื้นที่เพาะปลูก จัดระเบียบการเผาและระบบแปลงให้เอื้อต่อเครื่องจักรแทนแรงงานคน 3. เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการและลดการเผา มีฐานข้อมูลการเพาะปลูก

ดังนั้น การมีระบบแบ่งปันเครื่องจักรกลทางการเกษตร จะช่วยจัดการผลิตพืชของเกษตรกรทั้งรายย่อยและรายใหญ่ ให้เข้าถึงเครื่องจักรกลแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ลดการเผา ขณะเดียวกันก็ควรนำเอาแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาปรับใช้ในการลดการเผา เพื่อเพิ่มคุณค่าของเศษวัสดุ หมุนเวียนและนำกลับมาใช้ เพื่อลดการเกิดของสูญเปล่า และช่วยสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นได้


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save