2 กันยายน 2562 – นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานครั้งที่ 37 (ASEAN Ministers on Energy Meeting and Associated Meetings : 37th AMEM) เวทีการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส 10 ประเทศอาเซียน เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนที่จะมีขึ้นอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 4 กันยายน นี้
การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานครั้งที่ 37 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ASEAN Ministers on Energy Meeting and Associated Meetings : 37th AMEM) ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพได้เริ่มขึ้นเป็นวันแรก โดยเป็นการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส 10 ประเทศอาเซียน เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนที่จะมีขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 กันยายนนี้ โดยมี นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงานของไท เป็นประธานการประชุมในช่วงเช้า เพื่อหารือเตรียมการทั้งในด้านลำดับขั้นตอนการประชุมฯ และหาข้อสรุปในเรื่องเนื้อหาสาระที่จะใช้ในการแถลงความสำเร็จของการดำเนินงานในกรอบอาเซียน
โดยการแถลงความสำเร็จของการดำเนินงานในกรอบอาเซียน จะมีกรอบความร่วมมือ 7 สาขา และ 1 เครือข่ายความร่วมมือ ได้แก่ 1)ความเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน 2)การพัฒนาโครงสร้างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับขนส่งก๊าซธรรมชาติ 3) การส่งเสริมเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด 4) การส่งเสริมพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ 5) การส่งเสริมพลังงานทดแทน 6) การส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและอนุรักษ์พลังงาน 7) การจัดทำนโยบายและแผนอาเซียนด้านพลังงาน และเครือข่ายความร่วมมือด้านการกำกับกิจการพลังงาน
การประชุม AMEM ครั้งที่ 37AMEM เวทีร่วมมือด้านพลังงานของอาเซียน… สำคัญอย่างไร ในช่วงต้นเดือนกันยายน 2562 ที่จะถึงนี้ ประเทศไทยจะได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน หรือเรียกย่อๆ ว่า AMEM (เอเม็ม) ที่กรุงเทพฯ หลายคนอาจจะยังไม่เคยได้ยิน แต่หลายคนคงจะคุ้นกับคำว่า ASEAN (อาเซียน) มาพอสมควร เอเม็ม ก็เป็นความร่วมมือหนึ่งของกลุ่มประเทศอาเซียนด้านพลังงาน AMEM ย่อมาจาก ASEAN Ministers on Energy Meeting เป็นการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน มีขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2525 โดยชาติสมาชิกอาเซียนเล็งเห็นความสำคัญของการสร้างความมั่นคงทางพลังงานเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ โดยการสร้างเครือข่ายด้านพลังงานในระดับภูมิภาคที่อาศัยจุดแข็งและศักยภาพของแต่ละประเทศในอาเซียนที่มีแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติตลอดจนพลังงานทดแทน ในรูปแบบต่างๆ การประชุมเอเม็ม (AMEM) จัดขึ้นปีละครั้ง เพื่อกำหนดแนวนโยบายในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสมาชิกอาเซียนด้านพลังงาน โดยจะเป็นเวทีประชุมรัฐมนตรีด้านพลังงานและการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตามพันธกรณีที่กำหนดไว้ตามกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ระบุให้ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ประกอบด้วย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม เสริมสร้างความร่วมมือกันใน 3 เสาหลัก คือความร่วมมือในกลุ่มประเทศอาเซียน ระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และระหว่างอาเซียนกับองค์กรระหว่างประเทศในประเด็นด้านพลังงานต่างๆ เพื่อสามารถตอบสนองความต้องการและผลประโยชน์ของชาติสมาชิก วัตถุประสงค์สำคัญของเอเม็ม (AMEM) เพื่อดำเนินการร่วมกันในการส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานให้ทุกประเทศมีพลังงานใช้อย่างเพียงพอ และสามารถจัดหาพลังงานได้ในราคาที่เหมาะสมต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนอาเซียน พร้อมๆ กับส่งเสริมพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับกรอบความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงาน มี 7 สาขาและ 1 เครือข่ายความร่วมมือที่สำคัญ ประกอบด้วย 1)ความเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน 2)การพัฒนาโครงสร้างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับขนส่งก๊าซธรรมชาติ 3) การส่งเสริมเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด 4) การส่งเสริมพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ 5) การส่งเสริมพลังงานทดแทน 6) การส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและอนุรักษ์พลังงาน 7) การจัดทำนโยบายและแผนอาเซียนด้านพลังงาน รวมถึง เครือข่ายความร่วมมือด้านการกำกับกิจการพลังงาน |
Source: ภาพ-ข่าว EPPO Thailand, กระทรวงพลังงาน