ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ภัยร้ายของสังคมเทคโนโลยี


ปัจจุบันเราสามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่าเราอยู่ในสังคมเทคโนโลยีเต็มรูปแบบ และใช้ชีวิตได้ยากมากหากปราศจากเทคโนโลยี ซึ่งเทคโนโลยีในทุกวันนี้ก็ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เพียงแค่คุณนอนหลับไปไม่กี่ชั่วโมงพอตื่นขึ้นมาเราก็มี นวัตกรรมและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นใหม่ ๆ เกิดขึ้นแล้ว แน่อนเมื่อมีของใหม่ย่อมต้องมีของเก่า และของเก่าก็แปรสภาพกลายเป็นขยะไป แต่ทั้งของใหม่และของเก่าก็จะต้องผ่านกระบวนการผลิตเสียก่อนถึงจะเกิดขึ้นได้ และกระบวนการ การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้นี่เอง ที่ก่อให้เกิดอันตรายในระดับร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกใบนี้ นั่นคือก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) จนทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming) ซึ่งภาวะโลกร้อนมันอันตรายร้ายแรงแค่ไหน และเกิดขึ้นได้อย่างไร เราลองมาทำความเข้าใจคร่าว ๆ กันก่อนครับ

ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect)
ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect)

ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas หรือ GHG) เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน หรือรังสีอินฟาเรดได้เป็นอย่างดี มีหน้าที่สำคัญในการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก ซึ่งก๊าซเรือนกระจกนี้เป็นองค์ประกอบส่วนนึงของก๊าซชนิดต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศโลก โดยหน้าที่หลัก ๆ คือ ดูดคลื่นรังสีความร้อนไว้ในเวลากลางวันทำให้อุณหภูมิบนโลกไม่สูงจนเกินไป แล้วค่อย ๆ คายรังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ทำให้อุณหภูมิของโลกไม่ลดลงจนเข้าสู่สภาวะหนาวเย็นจนสิ่งมีชิวิตอาศัยอยู่ไม่ได้ ซึ่งถ้าปราศจากก๊าซเรือนกระจกเวลากลางวันอุณหภูมิบนโลกเราจะสูงหลายร้อยองศา และจะเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันเป็นติดลบหลายสิบองศาในเวลากลางคืน แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบนี้จะทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกตอนนี้สูญพันธุ์ในทันที ดังนั้นก๊าซเรือนกระจกจึงมีความสำคัญมาก

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโรงงาน

ซึ่งก๊าซเรือนกระจกจะมีประโยชน์มากถ้ามันอยู่ในระดับที่ปรกติ แต่ในปัจจุบัน ได้เกิดการสะสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศมากกว่าปรกติ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกโดยสาเหตุหลัก ๆ คือเกิดจากฝีมือมนุษย์ ทำให้เกิดสภาวะที่เราไม่สามารถระบายรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ออกไปได้อย่างปรกติ จนทำให้อุณหภูมิของโลกค่อย ๆ สูงขึ้นจนส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมของโลก หรือที่เราเรียกว่าสภาวะโลกร้อน

ผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำให้โลกร้อนเพิ่มขึ้น

ก๊าซเรือนกระจกตามธรรมชาติจะประกอบไปด้วย ไอน้ำ (H2O) เป็นหลัก ที่เหลือก็จะเป็น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) โอโซน (O3) มีเทน (CH4) และไนตรัสออกไซด์ (N2O) รวมกันแล้วจะไม่ถึงร้อยละหนึ่งของชั้นบรรยากาศในยามปรกติ แต่ในปัจจุบันสัดส่วนของก๊าซเหล่านี้เพิ่มขึ้นหลายเท่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่นน้ำมันและถ่านหิน ซึ่งปัจจัยหลักคือ รถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม โรงงานผลิตไฟฟ้า รวมถึงเวลาเผาสิ่งต่าง ๆ ก๊าซมีเทน (CH4) จากการบำบัดน้ำเสีย การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล การกำจัดขยะด้วยวิธีฝังกลบ • ไนตรัสออกไซด์ (N2O) จากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึงการเผาป่า จะสังเกตเห็นได้ว่า การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไนตรัสออกไซด์ เพิ่มปริมาณมากขึ้น แล้วอะไรที่เป็นสาเหตุหลักของการใช้พลังงานฟอสซิล? ผมว่าหลายท่านคงนึกออก ใช่แล้วครับ รถยนต์นั่นเอง

ขยะอิเล็กทรอนิกส์

แต่ในวันนี้เราจะไม่พูดถึงปัญหาที่เกิดจากรถยนต์ แต่จะพูดถึงปัญหาที่เกิดจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เทคโนโลยีในปัจจุบันก้าวหน้าไปอย่างมากและส่วนประกอบสำคัญคือชิ้นส่วนต่าง ๆ ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และในกระบวนการการผลิตชิ้นส่วนเหล่านี้ก็ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากมายมหาศาลอย่างที่เราคิดไม่ถึง.. โดยเริ่มจาก • ไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3) เป็นก๊าซที่เกิดจากการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือวงจรขนาดเล็ก • ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) เป็นก๊าซโพพิแลนต์ไม่มีกลิ่น นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอิล็กทรอนิกส์ การผลิตเซอร์กิตเบรกเกอร์ และสวิตช์เกียร์ที่ใช้กับระบบไฟฟ้าแรงสูง ก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน(PFCs) และก๊าซ์ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) อันนี้สำคัญมากเพราะเป็นก๊าซที่เกิดขึ้นจากมนุษย์เท่านั้น ซึ่งจะถูกนำมาใช้ในระบบทำความเย็นต่าง ๆ สำหรับก๊าซ์ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน ในส่วนของ ก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน จะเกิดจากการผลิตสารกึ่งตัวนำ

จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ก็ถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน และปริมาณของขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากที่กำลังจะแตะ 60 ล้านตันต่อปีภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าโดยเฉพาะอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ ที่สำคัญเป็นขยะที่ยากต่อการทำลายเพราะประกอบไปด้วยสารอันตรายชนิดต่าง ๆ เช่น ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท บริลเลียม อาร์เซนิก (สารหนู) และแบเรียม ซึ่งทุกชนิดส่งผลต่อร่างกายในระยะยาวและจัดว่าเป็นพิษไม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ การกำจัดขยะประเภทนี้จึงมีอันตรายและมีค่าใช้จ่ายที่สูง การช่วยจัดการปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์มีหลัก ๆ อยู่สองวิธีคือ การใช้ซ้ำ (Reuse) และการรีไซเคิล (Recycle) การใช้ซ้ำเช่นการซ่อมแซมแล้วบริจาคให้ผู้อื่นเพื่อไปใช้ต่อ ส่วนการรีไซเคิล จะเป็นการแยกส่วนประกอบและวัตถุที่มีค่าภายในออก เช่น เงิน ทองคำขาว และทองแดง ออกมาเพื่อนำกลับไปผลิตซ้ำ หรือเอาไปผลิตอุปกรณ์อย่างอื่น

โทรศัพท์มือถือ หนึ่งในขยะอิเล็กทรอนิกส์

สิ่งที่พวกเราพอจะช่วยกันได้นอกจากการใช้ซ้ำ (Reuse) และการรีไซเคิล (Recycle) ยังมีอีกทางคือยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ออกไป ซึ่งในปัจจุบันสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภทคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือถือว่าเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีอายุการใช้งานระยะสั้น และเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์แอบแฝงจากต่างประเทศในรูปแบบสินค้ามือสอง เพราะการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์มีต้นทุนสูงกว่าการกำจัดขยะทั่วไป จึงใช้วิธีการส่งต่อไปยังประเทศอื่นในรูปแบบสินค้ามือสอง สำหรับอายุการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะอยู่ที่ราว ๆ 5 ปี ในขณะที่โทรศัพท์มือถืออายุการใช้งานจะอยู่ที่ราว ๆ 2 ปี หรือสั้นกว่านั้นราว ๆ 6 – 12 เดือนสำหรับบางคน ในจุดนี้เราคงไปห้ามเรื่องรสนิยมหรือความชอบไม่ได้ แต่อยากให้ทุกคนคำนึงถึงผลที่ตามมาเนื่องจากกระบวนการผลิตของสินค้าเหล่านี้ อย่างน้อยก็คิดทุกครั้งก่อนที่จะซื้อ หรือคิดที่จะทิ้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายครับ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save