ขยะไม่มีที่อยู่


ในทุกวันนี้ที่เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีพัฒนาไปเป็นอย่างมาก ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์มีพัฒนาการอย่างก้าวกระโดด โดยจะเห็นได้จากจำนวนประชากรที่มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละพื้นที่รอบโลก แต่อย่างไรก็ตาม การก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วนี้กลับทิ้งหลายสิ่งหลายอย่างไว้ในรูปของ “ขยะ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาที่มีค่าเฉลี่ยการผลิตขยะต่อคนสูงที่สุดในโลก ซึ่งสร้างปริมาณขยะเป็น 12% ของปริมาณขยะทั่วโลก ทั้งๆ ที่อเมริกามีประชากรเพียง 4% ของจำนวนประชากรโลกทั้งหมด โดยนอกจากอเมริกาแล้วยังมีประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ เช่น เนเธอร์แลนด์ แคนาดา และออสเตรีย ที่สร้างปริมาณขยะมากไม่แพ้กัน ซึ่งถึงแม้ว่าประเทศไทยจะอยู่อันดับที่ 61 ของโลก แต่ประเทศไทยกลับเป็นประเทศหนึ่งที่มีปริมาณขยะทะเลมากที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของโลก โดยมีปริมาณมากถึง 1.55 ล้านตันในปี พ.ศ. 2560 และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทุกๆ ปี

ปริมาณขยะ

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา วิธีการกำจัดขยะรูปแบบหนึ่งของประเทศที่พัฒนาแล้ว คือการขนส่งขยะไปสู่ประเทศแถบเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน เวียดนาม อินเดีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ หรือแม้แต่ประเทศไทย ซึ่งการขนส่งขยะระหว่างประเทศนี้ก่อให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศหลายครั้ง ทั้งปัญหาการส่งขยะผิดประเภท การส่งขยะที่ไม่ใช่ขยะที่สามารถนำมา Recycle ได้ และการขนส่งขยะเกินปริมาณ โดยในช่วงเวลา 5-6 ปีที่ผ่านมานี้ มีความขัดแย้งและเกิดการส่งขยะจากประเทศแถบเอเชียกลับสู่ประเทศตั้งต้น อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้หลายประเทศในเอเชียมีนโยบายที่ห้ามการนำเข้าขยะจากต่างประเทศ โดยประเทศไทยเองก็มีแผนที่จะห้ามการนำเข้าขยะพลาสติกจากต่างประเทศอย่างสมบูรณ์ภายในปี พ.ศ. 2564

การรีไซเคิลขยะ

เมื่อการขนส่งขยะไปต่างประเทศเป็นเรื่องที่ยากขึ้น ประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศจึงต้องมีมาตรการในการจัดการขยะที่เข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ปัจจุบันเริ่มหันมาพัฒนาการจัดการขยะทั้งในด้านของนโยบายและเทคโนโลยีมากขึ้น เพราะปัญหาเรื่องการจัดการขยะเริ่มส่งผลโดยตรงและรุนแรงมากยิ่งขึ้นกับหลากหลายธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและสินค้าอุปโภค-บริโภคที่จำเป็นต้องจัดการกับขยะที่ตนเองสร้างขึ้นด้วยตัวเอง

ปัญหาการขนส่งขยะข้ามประเทศในฟิลิปปินส์
ปัญหาการขนส่งขยะข้ามประเทศในฟิลิปปินส์

ด้วยสาเหตุนี้เอง จึงทำให้หลากหลายบริษัทเริ่มมีการลงทุนในการพัฒนาระบบการ Recycle ขยะมากยิ่งขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งผู้ประกอบการที่เป็นผู้จัดการขยะโดยตรงอย่างบริษัท Alpine Waste & Recycling ที่ได้ลงทุนกว่า 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการขยายและพัฒนาระบบการจัดการขยะให้ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงธุรกิจค้าปลีกอื่นๆ เช่น Amazon ที่กำลังลงทุนในการทำระบบการจัดการขยะเช่นเดียวกัน โดยการลงทุนดังกล่าวส่งผลให้ในช่วงเวลานี้มีการขยายตัวของตลาดการจัดการขยะเป็นอย่างมาก โดยมีสินค้าหลากหลายประเภทซึ่งผลิตจากขยะจากทะเลที่เข้าสู่ท้องตลาด ทั้งแก้วน้ำและภาชนะรูปแบบต่างๆ ซึ่งเมื่อประกอบกับเทคโนโลยีการค้นหาขยะทะเลจากระบบดาวเทียมที่กำลังถูกพัฒนาขึ้น ตลาดของการจัดการขยะจึงมีแนวโน้มในการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

ผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปขยะทะเล
ผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปขยะทะเล

จังหวะนี้จึงนับเป็นจังหวะหนึ่งที่ดีของประเทศไทยในการหันมาจัดการกับขยะอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น โดยในปัจจุบันเริ่มเห็นหลากหลายบริษัทเกี่ยวกับการค้าปลีกเริ่มทำการลดปริมาณขยะพลาสติกโดยการลดการแจกถุงพลาสติก ซึ่งนับเป็นก้าวของการจัดการขยะที่และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการพัฒนาระบบจัดการขยะมูลฝอย การจัดระเบียบการนำเข้าขยะ การจัดการกับขยะทะเล รวมไปถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 14 (SGD14) ที่เป็นเป้าหมายของสหประชาชาติ (UN) ในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 94 กรกฎาคม-สิงหาคม 2562 คอลัมน์ GREEN Article
โดย รศ. ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล, ดร.กริชชาติ ว่องไวลิขิต


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save