กระทรวงพลังงาน เผยทิศทางขับเคลื่อนพลังงานปี 2564 ตั้งเป้ากระตุ้นเศรษฐกิจ 1.2 แสนล้านบาท


กระทรวงพลังงานเผยแนวทางการขับเคลื่อนพลังงานของประเทศในปี 2564 โดยวางทิศทางการขับเคลื่อนพลังงานใน 3 ด้านสำคัญ ได้แก่ การสร้างพลังงานเข้มแข็ง การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก และการส่งเสริมการลงทุนพลังงานสะอาด ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน คาดช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับรากฐานไปจนสู่ระดับประเทศ ด้วยเม็ดเงินการลงทุนกว่า 127,932 ล้านบาท

ทิศทางการขับเคลื่อนพลังงานปี 2564

พลังงานเข้มแข็ง

  • แผนพลังงานแห่งชาติ นำเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาเห็นชอบ และใช้เป็นกรอบการพัฒนาแผนภาครัฐและเป็นกรอบการลงทุนที่ชัดเจนของภาคเอกชน
  • ไฟฟ้า ลดไฟฟ้าสำรอง (Reserve Margin) เดินหน้าส่งเสริมการแข่งขันเสรีในกิจการก๊าซ/ไฟฟ้า กำหนดเป้าการขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของประเทศ เพื่อเป็นการกระตุ้นการลงทุนยานยนต์ไฟฟ้าและระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) ของภาคเอกชน
  • ก๊าซธรรมชาติ เตรียมความพร้อมในการประมูลสิทธิ์สำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 23 เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน เกิดการลงทุนถึง 1,500 ล้านบาท และเตรียมการเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิ์ไหล่ทวีปที่ทับซ้อนระหว่างไทยกับกัมพูชา
  • การส่งเสริมการลงทุน การกำหนดส่งเสริมลงทุนในธุรกิจปิโตรเคมีระยะที่ 4 ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันตก (EEC)
  • โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานโดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพเกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 54,931 ล้านบาท

การสร้างพลังงานเข้มแข็ง

ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก

ในปี 2564 กระทรวงพลังงานได้วางทิศทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก อาทิ ส่งเสริมการใช้น้ำมัน B10 เพื่อสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนปาล์ม โดยนำปาล์มน้ำมันมาใช้ในการผลิตน้ำมันดีเซล ส่งผลให้ราคาของปาล์มสูงขึ้น และยังลดการพึ่งพาการนำเข้าของน้ำมันดีเซล อีกทั้งมีการกำหนดให้น้ำมัน E20 เป็นน้ำมันเบนซินหลัก โดยผลักดันให้โรงกลั่นผลิต G-base ได้ตามมาตรฐานภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 รวมทั้งการขับเคลื่อนโครงการพลังงานชุมชนร่วมกับกระทรวงมหาดไทยในพื้นที่ทั่วประเทศถึง 2,400 ล้านบาท

ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก

ส่งเสริมการลงทุนพลังงานสะอาด

กระทรวงพลังงานได้วางทิศทางการส่งเสริมการลงทุนพลังงานสะอาดในปี 2564 ได้แก่ การลงทุนในโรงไฟฟ้าชุมชนนำร่อง 150 MW ที่ส่งผลให้เกิดมูลค่าการลงทุน 27,000 ล้านบาท รวมถึงโรงไฟฟ้าขยายผล เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน อีกทั้งมีการส่งเสริม Waste-to-Energy โดยสนับสนุนการลงทุนโรงไฟฟ้าขยะ รวมทั้งเปิดตัวโครงการ Solar Rooftop โดยมีการส่งเสริมการใช้และสนับสนุนธุรกิจ Solar Rooftop ให้เติบโต 100 MW ส่งผลให้เกิดการลงทุนถึง 3,000 ล้านบาท และได้ริเริ่ม ESCO ในภาครัฐ เพื่อใช้พลังงานในหน่วยงานและกระตุ้นการลงทุนในธุรกิจ ESCO ทำให้เกิดการลงทุนมูลค่า 35,000 ล้านบาท รวมไปถึงส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ผ่านกองทุนเพื่อส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน ทำให้เกิดการลงทุน 4,100 ล้านบาท

ส่งเสริมการลงทุนพลังงานสะอาด


Source: กระทรวงพลังงาน – FB @ministryofenergy


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save