อพท. ยกระดับท่องเที่ยวเชียงคาน จังหวัดเลย เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน


องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เป็นองค์การมหาชนที่สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2546 เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานรัฐบาลที่มีบทบาทในการประสานงานการบริหารจัดการการท่องเที่ยวระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครอง หรือหน่วยงานอื่นๆ ไม่ว่าในระดับชาติ ระดับภูมิภาคหรือระดับท้องถิ่น ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน ผังเมือง และรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ธรรมนูญ ภาคธูป
ธรรมนูญ ภาคธูป ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษเลย

เมื่อเร็วๆ นี้ ธรรมนูญ ภาคธูป ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษเลย หรือ อพท. 5 ได้จัดกิจกรรมนำร่องยกระดับท่องเที่ยวเชียงคาน จังหวัดเลย ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และเชิงนิเวศที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นของตนเพื่อให้เกิดการจ้างงานและยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ในท้องถิ่นให้ดีขึ้น

 

ทั้งนี้ อพท. มุ่งเน้นการพัฒนาท่องเที่ยวให้เป็นไปตามเกณฑ์การพัฒนาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก หรือ Global Sustainable Tourism Council (GSTC) โดยกำหนดทิศทางใน 4 มิติคือ การบริหารจัดการ การกระจายรายได้ลดความเหลื่อมลํ้า การส่งเสริมวัฒนธรรมให้คงอยู่ และการรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงพัฒนาพื้นที่ด้วยการเปิดให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วม ส่งผลให้ปัจจุบันอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ได้พัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 14-15 ชุมชนเป็นต้นแบบ รวมถึงการบริหารจัดการพื้นที่ในการมุ่งเน้นความปลอดภัยทั้งด้านการจราจรและสุขภาพ และยังมองการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับสปป.ลาว ที่จะเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยโดยทางรถยนต์ที่เชื่อมโยง 4 จังหวัดไทย กับ 4 แขวง สปป.ลาว ด้วยการจัดทำ “แอพพลิเคชั่น ล้านช้าง” เพื่อแนะนำแหล่งท่องเที่ยว โรงแรม อาหาร ฯลฯ ซึ่งคาดว่าจะพัฒนาแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2563

ท่องเที่ยวเชียงคาน

นอกจากนี้ อพท. ยังได้พัฒนากิจกรรมอื่นๆ ที่เชื่อมโยงการท่องเที่ยวในเชียงคาน อาทิ กิจกรรมถนนศิลปะ (Street Art) ริมแม่นํ้าโขง กิจกรรมการเก็บวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นนำกลับมารีไซเคิลใหม่ให้เป็นวัสดุธรรมชาติแบบย่อยสลายได้ เพื่อลดปัญหาขยะ เช่น ล้อจักรยานเก่า เครื่องมือทางการเกษตรที่เสื่อมสภาพ และกิจกรรมดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีความเชื่อในเรื่องการปลดปล่อยความทุกข์โดยใช้พิธี “ลอยผาสาดลอยเคราะห์” ที่ชาวบ้านจะเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องมือวัสดุจากธรรมชาติเพื่อร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม และให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศอีกแห่งที่มีการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับชุมชนคือ “ศูนย์เรียนรู้ประมงพื้นบ้านเชียงคาน” ซึ่งเป็นชุมชนดั้งเดิมที่ประกอบอาชีพประมงเป็นอาชีพหลักและยังคงรักษาวิถีของชุมชนไว้และการอนุรักษ์พันธุ์ปลานํ้าจืด รวมถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมริมแม่นํ้าโขงอีกด้วย

ท่องเที่ยวเชียงคาน เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

ธรรมนูญ กล่าวว่า “ปี พ.ศ. 2562 นี้ ในส่วนของพื้นที่ท่องเที่ยวจังหวัดเลย ตั้งเป้าคาดการณ์ตัวเลขนักท่องเที่ยวสูงถึง 3 ล้านคน แต่หลังจากประเมินยอดนักท่องเที่ยวที่เข้ามามีจำนวนวันพักเฉลี่ยอยู่ที่เพียง 1.5 วัน ดังนั้น ทาง อพท. จึงร่วมบูรณาการกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในชุมชนที่ต้องจัดกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในทุกช่วงฤดูกาล โดยยึดแนวทางการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่คำนึงถึงความยั่งยืนที่มุ่งกระจายรายได้ท่องเที่ยวสู่ชุมชนให้มากที่สุด เพื่อยกระดับการเข้าพักของนักท่องเที่ยวให้เป็น 3.5 วันในปี พ.ศ. 2565 ให้ได้”

อย่างไรก็ดี แผนการพัฒนาท่องเที่ยวไทยในระยะยาวของ อพท. ที่ได้อาศัยโครงสร้างระบบพื้นฐานที่รัฐบาลได้ลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินของไทยให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นทั้งใน สปป.ลาว จีน และยุโรป รวมทั้งได้ร่วมดำเนินการกับการท่องเที่ยวทาง สปป.ลาว ในการสร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงสี่เหลี่ยมวัฒนธรรมล้านช้าง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประกอบด้วย ไซยะบุรี เวียงจันทร์ หลวงพระบาง เป็นต้น เพื่อทำให้เกิดศักยภาพเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ของไทย และสปป.ลาว ไปยังประเทศจีนซึ่งเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวมากขึ้น จึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งความพร้อมเพื่อสร้างการตลาดท่องเที่ยวไทยเพื่อความยั่งยืนให้กับประเทศอย่างแท้จริง


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 94 กรกฎาคม-สิงหาคม 2562 คอลัมน์ Green Travel โดย กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save