อพท. ยกระดับท่องเที่ยวเชียงคาน เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน


องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ยกระดับท่องเที่ยวเชียงคาน จ.เลย ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงนิเวศที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ธรรมนูญ ภาคธูป ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษเลย หรือ อพท. 5 กล่าวว่า ในปี 2562 คาดว่าจังหวัดเลยจะมีนักท่องเที่ยวสูงถึง 3 ล้านคน แต่จำนวนวันพักเฉลี่ยอยู่ที่เพียง 1.5 วัน เท่านั้น อพท. จึงร่วมบูรณาการกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในทุกช่วงฤดูกาล โดยยึดแนวทางการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่คำนึงถึงความยั่งยืนที่มุ่งกระจายรายได้ท่องเที่ยวสู่ชุมชนให้มากที่สุด เพื่อยกระดับการเข้าพักของนักท่องเที่ยวให้เป็น 3.5 วันในปี 2565

ท่องเที่ยวเชียงคาน

“อพท.มุ่งเน้นการพัฒนาท่องเที่ยวให้เป็นไปตามเกณฑ์การพัฒนาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก หรือ Global Sustainable Tourism Council (GSTC) โดยจะมองใน 4 มิติคือ การบริหารจัดการ การกระจายรายได้ลดความเหลื่อมล้ำ การส่งเสริมวัฒนธรรมให้คงอยู่และการรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเราจึงพัฒนาพื้นที่ด้วยการเปิดให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมส่งผลให้ปัจจุบันได้มีการพัฒนาท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 14-15 ชุมชนต้นแบบ รวมถึงการบริหารจัดการพื้นที่ในการมุ่งเน้นความปลอดภัยทั้งด้านการจราจรและสุขภาพ และยังมองการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับสปป.ลาวที่จะเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวเข้ามายังไทยโดยทางรถยนต์ที่เชื่อมโยง 4 จังหวัดไทยกับ 4 แขวง สปป.ลาว ด้วยการจัดทำ “แอพลิเคชั่น ล้านช้าง” เพื่อแนะนำแหล่งท่องเที่ยว โรงแรม อาหาร ฯลฯ คาดว่าจะพัฒนาแล้วเสร็จในปี 2563”

ทั้งนี้ อพท.ได้พัฒนากิจกรรมอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงการท่องเที่ยวในเชียงคาน คือ กิจกรรมถนนศิลปะ (Street Art) ริมแม่น้ำโขง กิจกรรมการเก็บวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นมาทำเพื่อลดปัญหาขยะ อาทิ ล้อจักรยานเก่า เครื่องมือทางการเกษตรที่เสื่อมสภาพ และกิจกรรมดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีความเชื่อในเรื่องการปลดปล่อยความทุกข์ โดยใช้พิธี “ลอยผาสาดลอยเคราะห์” ที่ใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ชาวบ้านจะเลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติเพื่อร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม และแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งที่มีการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับชุมชนคือ “ศูนย์เรียนรู้ประมงพื้นบ้านเชียงคาน” ซึ่งเป็นชุมชนดั้งเดิมที่ประกอบอาชีพประมงเป็นอาชีพหลักและยังคงรักษาวิถีของชุมชนไว้

ท่องเที่ยวเชียงคาน เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

นอกจากนั้น อพท. ได้ร่วมดำเนินการกับการท่องเที่ยวทางสปป.ลาว ในการสร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง สี่เหลี่ยมวัฒนธรรมล้านช้าง จากการที่จังหวัดเลยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้างในอดีต ซึ่งมีพื้นที่ประกอบด้วย ไซยะบุรี เวียงจันทร์ หลวงพระบาง ทำให้เกิดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น

“ส่วนแผนการพัฒนาท่องเที่ยวในระยะยาว อพท.ได้เตรียมความพร้อมเพื่อสร้างการตลาดท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน โดยอาศัยโครงสร้างระบบพื้นฐานที่รัฐบาลได้ลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ไฮสปรีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบินของไทย สามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในสปป.ลาว จีน และยุโรป (Premium Group) รวมทั้งจะทำให้เกิดศักยภาพในการเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ของไทยและ สปป.ลาว ไปยังจีน เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวมากขึ้น” ธรรมนูญ กล่าวเพิ่มเติม


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save