แม้จะเกิดการระบาดใหญ่ของโคโรน่าไวรัสในปี 2020 ซึ่งส่งผลต่อภาพรวมของเศรษฐกิจโลก รวมถึงความต้องการใช้พลังงานเชื้อเพลิงต่างๆ ที่ลดลง แต่พลังงานหมุนเวียนกลับเป็นแหล่งพลังงานเดียวที่มีอัตราเติบโตขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้มีการคาดการณ์ในอนาคตว่า การใช้พลังงานหมุนเวียนจะขยายตัวเร็วขึ้นหลังเศรษฐกิจโลกพื้นตัวจากวิกฤตหรือไม่? โดยจากรายงานการสำรวจตลาดและนโยบายภาครัฐของประเทศต่างๆ ของ IEA มีการคาดการณ์ว่าพลังงานทดแทนจะเข้ามามีผลต่อกำลังการผลิตไฟฟ้าหมุนเวียนทั่วโลก สำหรับในปี 2021 และ 2022
ไฮไลท์ ภาพรวมตลาดพลังงานหมุนเวียน
|
การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน
ย้อนกลับไปดูปี 2020
เส้นตายของนโยบายภายในของแต่ละประเทศ ผลักดันให้มีการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก เป็นเกือบ 280 GW ในปี 2020 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อเทียบเป็นรายปีในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา
สำหรับในปี 2020 แม้จะมีความท้าทายด้านซัพพลายเชน ซึ่งเกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และความล่าช้าในการก่อสร้าง แต่การเพิ่มขึ้นของกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนในปี 2020 กลับขยายตัวมากกว่า 45% จากปี 2019 และทำลายสถิติอีกครั้ง การเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานลมทั่วโลกมีตัวเลขการเติบโตที่โดดเด่น โดยเพิ่มขึ้นสูงถึง 90% ทำให้เกิดการขยายตัว นอกจากนี้ การเติบโตเป็นประวัติการณ์ของพลังงานหมุนเวียนในปี 2020 คือ การขยายตัวของการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้นถึง 23% หรือเกือบ 135GW ในปี 2020
นอกจากนี้ จากเส้นตายของนโยบายในจีน สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม ยังได้กระตุ้นให้เกิดการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยในปี 2020 จีนเพียงประเทศเดียวมีปริมาณการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นมากถึง 80% เมื่อเทียบกับการเติบโตตั้งแต่ปี 2019 ถึง 2020 ซึ่งปริมาณเพิ่มขึ้นจากโครงการพัฒนาพลังงานลมบนบกและพลังงานแสงอาทิตย์ที่ทำสัญญาภายใต้โครงการ FIT ในอดีตของจีน ซึ่งผู้ได้รับการประมูลแข่งขันระดับกลางและระดับจังหวัดก่อนหน้านี้ ได้เชื่อมต่อกับกริดภายในสิ้นปี 2020 ส่วนในสหรัฐอเมริกาเติบโตจากการที่ผู้พัฒนาพลังงานลมรีบดำเนินการโครงการให้แล้วเสร็จทันกำหนดการ ก่อนที่เครดิตภาษีการผลิตจะหมดอายุ (PTC) แม้มีการขยายเวลาไปถึงเดือนธันวาคม 2020 ขณะที่เวียดนามเติบโตขึ้นจากการยุติโครงการ FIT สำหรับโครงการ Solar PV ซึ่งทำให้ผู้พัฒนาต้องเร่งรีบรับดำเนินการติดตั้งเชิงพาณิชย์และที่อยู่อาศัย อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
การเร่งดำเนินโครงการก่อนกำหนดเส้นตายของนโยบายในประเทศเหล่านี้ ซึ่งเกิดขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี 2020 โดยเฉพาะในเดือนธันวาคม ซึ่งนักพัฒนาได้เชื่อมต่อกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนใหม่เข้าระบบเกือบ 150GW ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่าสองเท่าของปริมาณกำลังการผลิตของไตรมาสสุดท้ายของปี 2019 และมีปริมาณที่มากกว่า 3 ไตรมาสของปี 2020 รวมกัน โดยจากข้อมูลของ IEA ได้ระบุว่าในปี 2020 นั้น มีการชะลอตัวของการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานทดแทนเฉพาะในไตรมาสแรกของปีเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศจีน ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ยังมีการเพิ่มกำลังการผลิต แม้จะมีข้อจำกัด ด้านการเคลื่อนย้ายและความล่าช้าจากห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ตัวเลขการพัฒนาใหม่ที่เพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคม ในจีนและสหรัฐอเมริกา ยังบ่งชี้ว่าห่วงโซ่อุปทานการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ยังมีการพัฒนาโครงการและเติบโตเป็นประวัติการณ์
การสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนในปี 2020 กลายเป็น “New normal” สำหรับการเพิ่มกำลังการผลิตในปี 2021 และ 2022
การเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่เติบโตขึ้น จะสูงถึง 270 GW ในการดำเนินการปี 2021 และ 280 GW ในปี 2022 ซึ่งการขยายตัวดังกล่าวนี้ จะมากกว่า 50% ของการเพิ่มกำลังการผลิตประจำปีของปี 2017-2019 และคาดว่าจะทำให้พลังงานหมุนเวียนคิดเป็น 90% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั่วโลก ที่จะเพิ่มขึ้นทั้งในปี 2021 และ 2022
เชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับการขนส่ง
ความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพโดยรวมสำหรับการขนส่งลดลง 8% หรือกว่า 150 พันล้านลิตร นับจากปี 2019 ถึง 2020 ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 144 พันล้านลิตร โดยในปี 2020 ผลผลิตที่ลดลงจากการผลิตเอทานอลในบราซิลและสหรัฐ รวมถึงการผลิตไบโอดีเซลในยุโรป คิดเป็น 90% ของการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพที่ลดลงตั้งแต่ปี 2019 ถึง 2020
การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพทั่วโลก คาดว่าจะฟื้นตัวกลับไปสู่ระดับเดียวกับปี 2019 ได้ในปี 2021 แต่การพื้นตัวนี้จะยังไม่สม่ำเสมอ การผลิตไบโอดีเซลและน้ำมันพืชที่ผ่านการบำบัดด้วยไฮโดรเจน (HVO) เพิ่มขึ้นทั่วโลก และเอทานอลขยายตัวในอินเดีย กำลังการผลิต HVO คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 50% ในปี 2021 เมื่อเที่ยบกับปี 2020 หากโครงการใหม่ๆ ถูกสร้างขึ้นตามกำหนดเวลา แต่อย่างไรก็ตาม ผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากวิกฤติโควิด-19 ต่อความต้องการ รวมถึงความไม่แน่นอนของราคาเอทานอลที่สัมพันธ์กับสารให้ความหวานในบราซิล จะยังคงรักษาระดับการผลิตเอทานอลทั้งในสหรัฐฯและบราซิลให้ต่ำกว่าระดับในปี 2019
การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทำให้การดำเนินนโยบายเชื้อเพลิงชีวภาพในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และบราซิลล่าช้าออกไป แม้เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะมีการเติบโตของการผลิต อย่างไรก็ตาม การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 7% ในปี 2022 เมื่อเทียบกับปี 2021
การดำเนินนโยบายในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และบราซิลช้าลง เริ่มตั้งแต่เริ่มเกิดวิกฤตโควิด-19 ในบางกรณี ความล่าช้าของนโยบายเหล่านี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการหยุดชะงักของความต้องการเชื้อเพลิงจากการระบาดใหญ่ การจัดลำดับความสำคัญของรัฐบาลเกี่ยวกับความกังวลของโควิด-19 และรวมถึงต้นทุนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ลดลงเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงชีวภาพในช่วงต้นของการระบาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าราคาน้ำมันจะฟื้นตัวแล้ว แต่ต้นทุนของวัตถุดิบจากถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์มยังคงทำให้ราคาไบโอดีเซลทรงตัว และมีราคาที่สูงเมื่อเทียบกับน้ำมันดีเซลฟอสซิล
การดำเนินการนโยบายเชื้อเพลิงชีวภาพล่าช้าในบางประเทศ
อินโดนีเซีย – รัฐบาลอินโดนีเซียได้ชะลอการดำเนินการตามคำสั่งของไบโอดีเซล 40% จากปี 2564 จนถึงอย่างน้อยปี 2565 เนื่องจากการหยุดชะงักของการทดสอบและการขยายกำลังการผลิตที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 รวมถึงต้นทุนน้ำมันปาล์มที่สูงสำหรับการผลิตไบโอดีเซล
มาเลเซีย – มาเลเซียเลื่อนการออกคำสั่งผสมไบโอดีเซล 20% ในบางภูมิภาคออกไปอย่างน้อย 6 เดือน รัฐบาลคาดว่าจะขยายการผลิตไบโอดีเซล 20% ไปยังรัฐซาบาห์ในเดือนมิถุนายน และไปยังคาบสมุทรมาเลเซียในเดือนธันวาคม
ประเทศไทย – ประเทศไทยได้เลื่อนการบังคับใช้คำสั่งผสมเอทานอล 20% อย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากความกังวลด้านต้นทุน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ราคาเอทานอลสูงกว่าราคาน้ำมันเบนซิน 80%
บราซิล – ในเดือนกันยายน 2020 สำนักงานปิโตรเลียมแห่งชาติของบราซิลได้ปรับลดเป้าหมายการลดการปล่อย GHG ลง 50% เนื่องจากความไม่แน่นอนของตลาดเชื้อเพลิงอาจทำให้ซัพพลายเออร์เชื้อเพลิงบรรลุเป้าหมายได้ยาก ในเดือนเมษายน 2021 บราซิลได้ลดภาระผูกพันไบโอดีเซลลงชั่วคราวจาก 13% เป็น 10% เพื่อตอบสนองต่อราคาไบโอดีเซลที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2020 เนื่องจากต้นทุนถั่วเหลืองที่ใช้ทำไบโอดีเซลสูงขึ้น
กำลังการผลิต HVO คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในอีกสองปีข้างหน้า
นโยบายของสหรัฐอเมริกาอยู่เบื้องหลัง 85% ของการเพิ่มกำลังการผลิต HVO ทั่วโลก เนื่องจากมาตรฐานเชื้อเพลิงหมุนเวียน มาตรฐานเชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำของแคลิฟอร์เนีย และเครดิตเครื่องปั่นไบโอดีเซลทำให้โครงการ HVO มีความน่าสนใจทางเศรษฐกิจ นอกสหรัฐอเมริกา โครงการใหม่จะขยายกำลังการผลิต เพิ่มขึ้น 12% ในปี 2022 เมื่อเทียบกับปี 2020 ในยุโรปและเพิ่มขึ้น 32% ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และกำลังการผลิต HVO สูงสุดจะเพิ่มขึ้นคิดเป็น 11% ของการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพทั่วโลกที่คาดการณ์ไว้ในปี 2022 ซึ่งมากกว่าสองเท่าของส่วนแบ่ง HVO ในปี 2019
ข้อมูลที่คุณอาจสนใจ |
Source: www.iea.org/reports/renewable-energy-market-update-2021