พัฒนาสู่ความยั่งยืน


ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) มีความสำคัญมากขึ้นทุกขณะ จนอาจกล่าวได้ว่า ธุรกิจอุตสาหกรรมไม่ทำไม่ได้แล้ว การปรับปรุงองค์กรไปสู่ “อุตสาหกรรมสีเขียว” เป็นวิธีการหนึ่งที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน (Sustainable) ได้ หลักการของ “อุตสาหกรรมสีเขียว” ที่มุ่งไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าสังคมและชุมชนไม่ยอมรับ และจะยั่งยืนอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มีกำไรเช่นกัน

แต่เดิมนั้นตัวชี้วัดทางธุรกิจที่สำคัญมีอยู่ 4 ตัว คือ ต้นทุน คุณภาพ การบริการ และความรวดเร็ว ซึ่งผูกติดกับการลดต้นทุนและเพิ่มกำไรเป็นส่วนใหญ่ แต่วันนี้ธุรกิจอุตสาหกรรมจะไม่สามารถคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ถ้าขาดตัวชี้วัดอีก 2 ตัวที่สำคัญ คือ นวัตกรรม (Innovation) และความรับผิดชอบต่อสังคม

เหตุผลที่นวัตกรรมมีความสำคัญ เพราะมีสินค้าใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำให้เราต้องพยายามพัฒนา และสร้างความแตกต่างเพื่อให้แข่งขันได้ ส่วนสาเหตุที่ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้นสำหรับการทำธุรกิจในสมัยนี้เพราะถ้าไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม ธุรกิจก็ไม่สามารถยั่งยืนอยู่ได้

พื้นฐานของการเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว จะอยู่บนแนวความคิดหลัก 3 ประการ คือ

อุตสาหกรรมต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เราทำได้โดยการปรับปรุงกระบวนการผลิตและเทคโนโลยี การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 3R (Reuse Reduce Recycle) การประหยัดทรัพยากรและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า (Resource Efficiency) การบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบครบวงจร โดยอุตสาหกรรมในอนาคตต้องเป็นอุตสาหกรรมที่พัฒนานำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ซึ่งอาจต้องตั้งอยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco-Industry) ที่กำหนดเป็นพื้นที่เฉพาะ เพราะนับวันอุตสาหกรรมที่เป็นเอกเทศหรือที่อยู่เดี่ยวๆ อาจจะเกิดยากขึ้น

การประกอบกิจการโดยมีความรับผิดชอบต่อสังคม การประกอบกิจการจะต้องไม่สร้างผลกระทบและปัญหาให้กับสังคมหรือชุมชนโดยรอบ ผู้ประกอบการต้องประกอบกิจการโดยไม่เอาเปรียบสังคม ชุมชน และแม้แต่พนักงานของตนเอง และจะต้องประกอบกิจการถูกต้องตามกฎหมายด้วย

การอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างปกติสุข อุตสาหกรรมต้องเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและพื้นที่ที่อยู่ และทำให้ประชาชนมีความผูกพันกับโรงงานอุตสาหกรรมโดยต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึง และต้องสื่อสารกันให้เข้าใจ สร้างความรักและความเข้าใจที่ดีต่อกัน เพื่อให้ประชาชนเกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

พัฒนาสู่ความยั่งยืน

การปรับเปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการโดยยึดหลักการ 3 ข้อข้างต้น จึงมีความสำคัญต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการประกอบกิจการและดำเนินธุรกิจ ที่จะพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนยาวนานได้

ทั้งนี้ ความสำเร็จในการพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว จะต้องอาศัยกลไกต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และภาคประชาชน ร่วมด้วยช่วยกัน ครับผม!

ข้อมูลที่คุณอาจสนใจ


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 95 กันยายน-ตุลาคม 2562 คอลัมน์ GREEN Industry โดย ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save