ก.พลังงาน เดินหน้า “พาราโบล่าโดม” ชูสร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มคุณภาพชีวิตเกษตรกรขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ


การเกษตรเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อประเทศไทย แต่ช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาพืชผลทางการเกษตรออกสูต่ ลาดพรอ้ มกันจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาราคาตกตํ่า และผลผลิตเน่าเสีย จึงมีแนวคิดในการแปรรูปอบแห้งผลผลิตทางการเกษตรให้ออยู่ได้นาน และเพิ่มมูลค่า ให้กับสินค้าเกษตร รวมถึงเป็น การสร้างรายได้เสริมให้เกษตรกร ทั้งในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กแต่ในกระบวนการอบแห้งด้วยวิธีนำไปตากแดดแบบเดิมยังประสบปัญหาหลายประการเช่น การปนเปื้อนจากฝุ่น ละอองในอากาศ และแมลงต่างๆ ทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐานและในฤดูฝนผลิตภัณฑ์ก็จะมีการเน่าเสีย เป็นเหตุให้เกษตรกรเก็บผลผลิตไว้ได้ไม่นานถึงแม้จะมีเกษตรกรบางราย เริ่มนำเครื่องอบแห้งแบบใช้เชื้อเพลิงแก๊สและนํ้ามันมาใช้แต่ต้นทุนสูงและก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีแนวคิดเกี่ยวกับ โครงการระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเกษตรกร สามารถลดค่าใช้จ่ายจากเครื่องอบแห้งที่ใช้นํ้ามันหรือแก๊สเป็นเชื้อเพลิง และระบบอบแห้งแสงอาทิตย์ก็เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย

โครงการเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ปี 2561

เมื่อเร็วๆ นี้ ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในการสัมมนาโครงการเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ปี 2561 และการจัดตลาดนัดสินค้าอบแห้งจากพาราโบล่าโดม เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้พลังงานทางเลือกในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและร่วมกันขยายผลและส่งเสริมการใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง

ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์

ดร.ศิริ กล่าวว่า โครงการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงานได้ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง ผ่านการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งได้ช่วยให้กลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เกิดการใช้ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ในการลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงอื่นๆ เช่น แก๊ส ไฟฟ้าหรือนํ้ามัน อีกทั้งเป็นการส่งเสริมยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าที่สะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเกิดคุณภาพในระดับพรีเมียม

โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554-2561 ได้ให้การสนับสนุนส่งเสริมการใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ รวม 256 ระบบ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 30,417.9 ตารางเมตร เป็นจำนวนเงินสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์ฯ ประมาณ 102 ล้านบาท เกิดการลงทุนรวม 340 ล้านบาท ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการใช้งานอบแห้งผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายชนิด อาทิ กล้วยตาก ข้าวแต๋น ผัก ผลไม้อบแห้งถั่วลิสงอบแห้ง แมคคาเดเมีย ลูกเดือย งา เครื่องเทศ สมุนไพร ชา กาแฟ เนื้อสัตว์ปลา อาหารทะเล อาหารเสริมสุขภาพจากมังคุด และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารเช่น ลูกประคบ อาหารสุนัข หมอนยางพารา และกากของเสียที่ได้ภายหลังจากการผลิตก๊าซชีวภาพ เป็นต้น

ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

ด้านผลที่ได้รับจากโครงการฯ เกิดผลประโยชน์รวม 66 ล้านบาทต่อปี จากการประหยัดเชื้อเพลิง 4 ล้านบาทต่อปี ลดความเสียหายผลิตภัณฑ์ 22 ล้านบาทต่อปี เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ 40 ล้านบาท และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 4,942 ตันต่อปี รวมทั้งก่อให้เกิดประโยชน์หลายด้าน เช่น การลดการสูญเสียผลิตผลทางการเกษตร การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยลดระยะเวลาในการทำแห้ง สามารถทำแห้งได้ในฤดูฝน ลดต้นทุนด้านพลังงาน เพิ่มคุณภาพสินค้า ตลอดจนเกิดแหล่งเรียนรู้การใช้พลังงานแสงอาทิตย์แปรรูปสินค้าเกษตรหลายแห่ง

ยงยุทธ จันทรโรทัย อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)
ยงยุทธ จันทรโรทัย

ยงยุทธ จันทรโรทัย อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า เบื้องต้น พพ.ได้วางเป้าหมายในการให้การสนับสนุนเงินลงทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ถึงปี พ.ศ. 2569 ซึ่งจะสามารถขยายพื้นที่ติดตั้งได้ประมาณ 75,000 ตารางเมตร โดยนอกจากการจัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานครั้งนี้แล้ว พพ.ได้จัดนิทรรศการเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจทั่วไปเกี่ยวกับระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ แนวทางการส่งเสริมการใช้งานและการใช้งานระบบพลังงานแสงอาทิตย์อย่างถูกต้อง ตลอดจนจัดให้มีการออกร้านค้าผลิตภัณฑ์อบแห้งจากพาราโบล่าโดม ซึ่งมีร้านค้ามาร่วมออกร้าน และแบ่งปันประสบการณ์การใช้งานรวมทั้งมีผลิตภัณฑ์อบแห้งที่หลากหลาย เช่น กล้วยตาก กล้วยติดหนึบ ข้าวแต๋น เนื้อแห้ง แมคคาเดเมีย กาแฟ มะม่วงกวน ผลไม้อบแห้ง หมอนยางพารา ถั่วลิสงอบแห้ง นํ้ามันมะพร้าว และสมุนไพร เป็นต้น

หลักการทำงานของระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก ที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน ให้การสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานนี้ เป็นโรงอบแห้งที่ออกแบบรูปพาราโบล่า หลังคาทำจากวัสดุใสเป็นแผ่นโพลีคารบ์ อเนตชนิดเคลือบสารปอ้ งกันยูวีปดิ บนหลังคาโครงโลหะ ที่ตั้งอยู่บนพื้นซีเมนต์ ซึ่งการใช้แผ่นโพลีคาร์บอเนตในการทำหลังคาทำให้แสงสว่างส่องผ่านได้ดี แต่รังสีความร้อนที่แผ่จากภายในโรงอบแห้งจะผ่านออกมาได้น้อยจึงทำให้เกิดผลเรือนกระจก (Greenhouse Effect) ความร้อนส่วนใหญ่จึงถูกกักเก็บอยู่ภายในโรงอบแห้ง

ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก

นอกจากนี้ แผ่นโพลีคาร์บอเนตยังเป็นฉนวนความร้อนที่ดี มีนํ้าหนักเบาดัดโค้งได้ง่าย มีอายุการใช้งานกว่า 10 ปี โรงอบแห้งแบบนี้จึงมีชื่อเรียกว่า “พาราโบล่าโดม” และเพื่อระบายความชื้นหรือนํ้าที่ระเหยออกจากผลิตภัณฑ์ที่ต้องการอบแห้งออกจากระบบ จึงมีการติดตั้งพัดลมดูดอากาศและมีช่องอากาศเข้าเพื่อให้อากาศไหลเข้าโรงอบทดแทนอากาศที่ถูกดูดออก โดยใช้พัดลมกระแสตรงและมีแผงโซลาร์เซลล์เพื่อให้กำลังไฟฟ้ากับพัดลม

พาราโบล่าโดม

ปัจจุบันพาราโบล่าโดมได้ถูกติดตั้งทั่วประเทศ จนสามารถกล่าวได้ว่าประเทศไทยจัดเป็นประเทศอันดับต้นๆ ของโลก ที่มีการใช้ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ในการทำแห้งผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร โดยมีผลิตภัณฑ์อบแห้งหลากหลายชนิด ที่วางจำหน่ายภายในประเทศและส่งออก

ข้อดีในการใช้ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ มีลักษณะเป็นเรือนกระจก (Greenhouse) ซึ่งปิดคลุมด้วยวัสดุโปร่งแสง เช่น กระจก หรือพลาสติกชนิดต่างๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ต้องการอบแห้งจะวางบนชั้นภายในเรือนกระจก ทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่เปียกฝน และไม่ถูกแมลงรบกวน เป็นการใช้พลังงานสะอาด ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับความร้อนเหลือทิ้ง ซึ่งช่วยให้

– ผลิตภัณฑ์สีสวยและสมํ่าเสมอ
– สะอาด ปลอดภัย เพราะสามารถควบคุมแมลงหรือฝุน่ ละอองไม่ให้เข้าไปได้ ไม่เปียกฝน
– ใช้เวลาน้อยกว่าการตากแดดแบบธรรมชาติ ทำให้ประหยัดเวลาในการตากได้
– ประหยัดพื้นที่ในการตาก เพราะในโรงอบสามารถที่จะใส่ถาดวางผลิตภัณฑ์ได้หลายถาด
– ประหยัดแรงงาน เพราะไม่ต้องเก็บอาหารที่กำลังตากเข้าที่ร่มในตอนเย็น และเอาออกตากในตอนเช้า ซึ่งมีผลทำให้ต้นทุนใน การผลิตลดลง
– ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสิ้นเปลืองและยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง

 


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 91 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562 คอลัมน์ GREEN Report โดย กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save