ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย สวทช. จัดการเสวนาในหัวข้อ “วิกฤติ COVID-19 กับมาตรการการรับมือที่เข้มข้น ภายใต้จริยธรรมที่เข้มแข็ง เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ เกี่ยวกับประเด็นจริยธรรมที่ควรคำนึงถึงและการวิเคราะห์แบบรอบด้านเพื่อการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อควบคุมการระบาดของโรค COVID-19 และเพื่อส่งเสริม ให้ผู้เข้าร่วมเสวนาเกิดความตระหนักด้านจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรค COVID-19 มากขึ้น ทั้งนี้ภายในการเสวนาได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมาร่วมเสวนาให้ความรู้อีกด้วย
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า COVID-19 นั้นเป็นสาเหตุโรคหวัดและทางเดินหายใจทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยส่วนมากแล้วเชื้อไวรัส COVID-19 นั้นจะพบในผู้สูงวัยอายุตั้งแต่ 50 ขึ้นไป การระยาดของเชื้อไวรัสในประเทศไทยนั้นยังถือได้ว่าเป็นการระบาดที่มีมาตรการควบคุมการแพร่เชื้อได้อย่างทันที มีการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดและได้รับความร่วมมือของประชาชนทุคน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความร่วมมือ จึงทำให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนั้นสามารถคบคุมได้ในประเทศไทย
“แต่ถึงอย่างไรนั้น ณ ขณะนี้ก็ยังต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้มีคนจำนวนมาก ลดการสัมผัสระหว่างคน ร้านอาหาร จะต้องจำกัดคนที่รับประทานในร้าน กำหนดระยะห่าง ให้เน้นการซื้อกลับบ้าน ทุกคนควรอยู่บ้าน การทำงานที่บ้าน ยังคงจะต้องอยู่ไประยะหนึ่ง สถานบันเทิง การแข่งกีฬา ที่อนุญาตให้คนเข้าชมควรจะต้องงด เพราะถือเป็นความเสี่ยงสูงทุกคนจะต้องช่วยกัน คนที่เสียโอกาส เสียอาชีพ ไม่มีงานทำ จะต้องได้รับการช่วยเหลือ จากรัฐบาลและ ผู้ที่มีความพร้อมที่จะช่วยได้ เราต้องต่อสู้อีกยาวนาน”
ทางด้าน ศาสตราจารย์ นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล มากล่าวในนาม สำนักงานงานวิชัยแห่งชาติ กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของประเทศนั้น COVID-19 ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกให้อยู่ในบริบทใหม่ที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนเลย เหตุการณ์ในครั้งนี้ได้สะท้อนให้เห็นความองค์ความรู้ที่มวลมนุษยชาติที่สั่งสมมาในอดีตไม่สามารถปรับใช้แก้ไขปัญหานี้ได้ ความเปราะบางของสิ่งที่เคยคิดว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ได้สร้างเสถียรภาพของความเป็นประเทศมาช้านานได้ล้มครืนไปชั่วข้ามคืน ทุกประเทศต้องหันมาทบทวนความจำเป็นพื้นฐานที่จะทำให้ ชาติ ธำรงอยู่ได้ ด้วยความมั่นคงอันเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในสังคมมนุษย์ในยุคหลัง COVID-19 ยุทธศาสตร์มุ่งสร้างความมั่นคงของแต่ละประเทศ 3 ประเด็น
- ความมั่นคงด้านสุขภาพ โรคระบาด COVID-19 ไม่ใช่มีเป็นครั้งแรก แต่จากประวัติศาสตร์เผ่าพันธุ์มนุษย์ถูกรุกรานด้วยโรคระบาดมาหลายครั้งหลายครา และมีการพัฒนาสาธารณูปโภคให้ดีขึ้นมาตลอดอย่างต่อเนื่อง
- ความมั่นคงทางด้านอาหาร หลายประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจกลับไม่มีกำลังสำรองเรื่องอาหารภายในประเทศ เรื่องอาหารเป็นปัจจัยพื้นฐานที่โลกยังขาดไม่ได้
- ความมั่นคงทางด้านดิจิทัล ทุกประเทศต่างเจ็บปวดที่ธุรกิจล้ม แต่ธุรกิจที่ยังรอดอยู่ได้และคอยช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง ยังต้องพึ่งพา Digital Technology และจะฟื้นตัวและเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้น ทุกคนต้องป้องกันและเฝ้าระวังด้วยตนเองเป็นอันดับแรกเพื่อห่างไกล COVID-19 ด้วยวิธีการ เช่น การล้างมือ รวมทั้งการบริหารร่างกายและการออกกำลังกายเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 และรับประทานอาหารอย่างปลอดภัย