รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าต้นแบบได้ทดสอบใช้งานในการวิ่งจริง โดยมีการเก็บข้อมูลการทดสอบด้วย Power Analyzer PW3390 เพื่อหาระสิทธิภาพของชุดควบคุมมอเตอร์ ตรวจสอบรายละเอียดทั้งหมดและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นพิจารณาต้นทุนรวมทั้งหมด ความคุ้มค่าเชิงพาณิชย์ รวมถึงการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ใช้และผู้ผลิต
การทดสอบใช้งานและเก็บข้อมูลการทดสอบใช้งาน
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ติดตั้ง Power Analyser กับชุดควบคุมและกราฟที่วัดด้วย Power Analyzer HIOKI PW3390 ในช่วงทดสอบใช้งานประมาณ 6 เดือน ซึ่งยังอยู่ในช่วงระหว่างการดำเนินการจดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบก คุณลักษณะของรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าต้นแบบ ความเร็วสูงสุด 65 กม./ชม. ระยะทางไกลสุด 120 กม. ระยะเวลาในการชาร์จ 6-8 ชั่วโมง และต้องสรุปข้อมูลต้นทุนทั้งหมดก่อนส่งมอบให้ลูกค้า โดยอาจมีต้นทุนที่เพิ่มกว่าที่ประเมินในขั้นต้น หากระยะเวลาในการดำเนินการไม่ได้เป็นไปตามกำหนดการ
ผลจากการทดลอง…สู่การใช้งานจริง
รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าดัดแปลงจากการใช้งานจริง สามารถใช้งานได้ดี เมื่อทดสอบบน Dynamometer ที่ความเร็วสูงสุดโดยบิดคันเร่งสุด 70 กม./ชม. ระยะทาง 110 กม. ประหยัดค่าใช้จ่ายเพียงใช้พลังงานไฟฟ้า 0.1 หน่วย/กม. หากค่าไฟฟ้า 3.5 บาท/หน่วย ค่าพลังงานเพียง 0.35 บาท/กม. แต่การดัดแปลงรถตุ๊กตุ๊กจำเป็นต้องตรวจสอบสภาพรถเดิมก่อนพิจารณาการดัดแปลงเป็นรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก
คุณลักษณะของรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าดัดแปลง มีดังต่อไปนี้
- น้ำหนักรวม 680 กก.
- ความเร็วสูงสุด 70 กม./ชม.
- ระยะทางที่ความเร็วสูงสุด 110 กม.
- ระยะทางสูงสุด >130 กม.
- เวลาในการชาร์จแบตเตอรี่ 3-8 ชั่วโมง
- วงเลี้ยว 3.4 เมตร
- แบตเตอรี่ 72V208Ah LiFePo4, มอเตอร์ 5kW AC motor
ประโยชน์ที่คาดว่า SME จะได้รับสำหรับผู้ต้องการเปลี่ยนรถตุ๊กตุ๊กเป็นรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า
- กลุ่ม SME ทั้งผลิตรถตุ๊กตุ๊กและอู่ซ่อมรถตุ๊กตุ๊ก สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าดัดแปลงได้
- สามารถขยายตลาดไปสู่ธุรกิจโรงแรม ขนส่ง รถบรรทุกขยะ รถชมวิวและใช้ส่วนบุคคลได้
- ประเทศไทยจะมีพาหนะไฟฟ้าที่ออกแบบ และสร้างในประเทศไทย
- สร้างงาน และอาชีพใหม่ๆ
- สามารถขยายผลเป็นอุตสาหกรรมในการผลิตรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าใหม่ได้
อนาคตที่รถยนต์ส่วนใหญ่เปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้าแทนน้ำมันนั้นดูใกล้จะเป็นจริงขึ้นมากในแต่ละปี ด้วยแรงผลักดันจากทั้งภาครัฐและผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลก
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง |
Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 96 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2562 คอลัมน์ GREEN Article
โดย ผศ. ดร.ชนะ เยี่ยงกมลสิงห์ อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมธุรกิจยานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย