สวทน. จับมือ EA และกลุ่มพันธมิตร ทั้งภาครัฐและสถาบันการศึกษา ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ จัดตั้ง “เครือข่ายพัฒนากำลังคนและความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านยานยนต์สมัยใหม่ และระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าของประเทศ” เพื่อร่วมกันสร้างระบบการผลิตและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติอย่างยั่งยืน รองรับแผนการลงทุน ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยแลนด์ 4.0 เมื่อไม่นานมานี้ โดยมี นายประสงค์ คงเคารพธรรม รองผู้ว่าราชการ จังหวัดฉะเชิงเทรา ให้เกียรติเข้าร่วมในพิธี
สวทน. จับมือ EA และกลุ่มพันธมิตร ทั้งภาครัฐและสถาบันการศึกษา ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ จัดตั้ง “เครือข่ายพัฒนากำลังคนและความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านยานยนต์สมัยใหม่ และระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าของประเทศ” เพื่อร่วมกันสร้างระบบการผลิตและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติอย่างยั่งยืน รองรับแผนการลงทุน ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยแลนด์ 4.0 เมื่อไม่นานมานี้ โดยมี นายประสงค์ คงเคารพธรรม รองผู้ว่าราชการ จังหวัดฉะเชิงเทรา ให้เกียรติเข้าร่วมในพิธี
“ปัจจุบัน ภาคอุตสาหกรรมอยู่ระหว่างจัดตั้ง เมืองอุตสาหกรรมใหม่ ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ภายใต้ชื่อ โครงการ “บลูเทค ซิตี้” (BlueTech City) ซึ่งเป็น จังหวัดภายใต้โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC นับเป็นทำเลที่เหมาะสมอยู่ใกล้กรุงเทพฯ สนามบิน ท่าเรือ และทางด่วน จึงมีศักยภาพด้านโลจิสติกส์สูง และเป็นพื้นที่เป้าหมายของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมกักเก็บพลังงานไฟฟ้า ตลอดจนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เมื่อมีแผนการลงทุนด้านทรัพย์สินและเทคโนโลยีแล้ว ปัจจัยสำคัญที่ต้องเร่งพัฒนามากที่สุด คือ คน เพราะต้องเชื่อมโยงแผนพัฒนาการศึกษาอย่างเป็นระบบ ร่วมกับภาคเอกชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป” นายกิติพงศ์ กล่าว
ด้าน อมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA กล่าวว่า กลุ่ม EA รวมถึงบริษัทย่อยได้แก่ บริษัท ไมน์ โมบิลิตี รีเสิร์ช จำกัด (ออกแบบและผลิตรถยนต์ไฟฟ้า MINE Mobility) และ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (ผลิตระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า หรือแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน) กำลังบุกเบิกและลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และแบตเตอรี่สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและยานยนต์ไฟฟ้า โดยจะนำเทคโนโลยีที่บริษัทคิดค้นขึ้นมาเอง ร่วมกับเทคโนโลยีของบริษัทย่อยที่ไต้หวัน นำมาขยายผลสร้างโรงงานในประเทศไทยและทยอยลงทุนในพื้นที่แล้ว
“บริษัทมุ่งหวังจะนำเทคโนโลยี ที่มีอยู่มาถ่ายทอดสู่ระบบการศึกษา ปูพื้นฐานให้กับบุคลากร ที่จะเป็นกำลังสำคัญของบริษัทในอนาคต จึงเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและสวทน.ในการออกแบบจัดทำหลักสูตร การพัฒนาเกณฑ์การประเมินผล การจัดการเรียน-การสอน การฝึกอบรม การพัฒนากำลังคน และความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านยานยนต์สมัยใหม่ รวมถึงระบบการกักเก็บพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ให้มีการร่วมวางแผน และสนับสนุนด้านวิทยากร อุปกรณ์และห้องปฏิบัติการ โดยจะพิจารณาผู้ผ่านเกณฑ์การประเมินผลตามหลักสูตรของเครือข่ายภายใต้ความร่วมมือนี้ ให้เข้าทำงานในกลุ่ม EA ก่อนจะรับบุคคลภายนอกโครงการเข้ามา ด้วยเหตุนี้บริษัทเชื่อมั่นว่า ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จในกิจการ คือ การมีบุคลากรที่ดี เป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่า ทำให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้” อมรกล่าว
สำหรับพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ ประกอบด้วยพันธมิตรรวมทั้งสิ้น 16 องค์กร ทั้ง ภาครัฐ ภาคการศึกษา และเอกชน ดังนี้ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ / กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน / สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย / หอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา / มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี /สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง / มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ /มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ /มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์/สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา / โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ / โรงเรียนดัดดรุณี / บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) / บริษัท ไมน์ โมบิลิตี รีเสิร์ช จำกัด / บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ดับเบิ้ลพี แลนด์ จำกัด
Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 91 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562 คอลัมน์ AUTO Challenge โดย กองบรรณาธิการ