สนพ.สรุปแผนขับเคลื่อนสมาร์ทกริดคืบหน้า 3 การไฟฟ้าเร่งพัฒนาโครงการนำร่อง ยกระดับคุณภาพระบบไฟฟ้าไทย


สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ติดตามความคืบหน้าของแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทยระยะสั้น 4 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564) 3 การไฟฟ้าผุดโครงการนำร่อง เร่งยกระดับคุณภาพระบบไฟฟ้าของประเทศ ตั้งเป้าสู่การเป็นฮับด้านไฟฟ้าอาเซียน

นายอนิรุทธิ์ ธนกรมนตรี

นายอนิรุทธิ์ ธนกรมนตรี โฆษกสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผย (7 ก.พ. 63) ว่า สนพ.ได้ติดตามความก้าวหน้าของแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทยระยะสั้น 4 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564) ซึ่งเป็นระยะที่ 2 ตามแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย พ.ศ. 2558 – 2579 โดยเป็นช่วงพัฒนาโครงการนำร่องเพื่อทดสอบความเหมาะสมทางเทคนิคและความคุ้มค่าของการลงทุนในแต่ละเทคโนโลยี ซึ่งการพัฒนาโครงการต่างๆ โดย 3 การไฟฟ้าคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีความคืบหน้าโดยสรุป ดังนี้

  • กฟภ. เริ่มดำเนินการโครงการนำร่องด้านการตอบสนองโหลดและระบบบริหารจัดการพลังงาน อาทิ โครงการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะในพื้นที่เมืองพัทยา โดยมีการเปลี่ยนมิเตอร์เก่าให้เป็นสมาร์ทมิเตอร์ทั้งหมดเป็นตัวเลข 116,308 เครื่อง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2563 และโครงการด้านระบบไมโครกริดและระบบกักเก็บพลังงาน ซึ่งได้มีการทำโครงการในพื้นที่ที่ห่างไกลจากสายส่งและมีปัจจัยเรื่องความปลอดภัยอย่างพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และพื้นที่ในอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดย กฟภ.ได้ร่วมกับ กฟผ. ทำโครงการนำร่องระบบไมโครกริด โดยสร้างระบบไฟฟ้าที่แยกอิสระไม่ต้องพึ่งสายส่งหลัก และมีระบบกักเก็บพลังงานไว้ใช้ในพื้นที่ตัวเอง โครงการวิจัย EV Station ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดลองใช้งาน ซึ่งมี Application เพื่อใช้ในการบริหารจัดการการชาร์จ โดยมีสถานีทั้งหมด 11 แห่ง อาทิ หัวหิน ปากช่อง โคราช อยุธยา คาดว่าจะเปิดใช้งานประมาณเดือน เมษายน 2563 โครงการวิจัย Power Pack คือการศึกษาระบบกักเก็บพลังงานซึ่งจะติดตั้งในบ้าน หากในอนาคตผู้ผลิตมีการติดตั้ง solar rooftop กันมากขึ้น ซึ่งในงานวิจัยได้จัดทำต้นแบบระบบกักเก็บพลังงาน ( ESS ) ที่ขนาด 5 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ซึ่งก็เป็นอีกทางเลือกที่จะนำไปใช้แก้ปัญหาในพื้นที่ห่างไกลในพื้นที่ที่มีการติดตั้งโซลาร์อยู่แล้ว และอาจจะเป็นธุรกิจ หรือ Product ใหม่ของ กฟภ. ในการให้บริการกับผู้ใช้ไฟฟ้าในอนาคต
  • กฟน. ความคืบหน้าโครงการนําร่องระบบบริหารจัดการพลังงานในอาคารที่ทําการการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบสมาร์ทกริดซึ่งแล้วเสร็จเรียบร้อย โครงการนําร่องการตอบสนองด้านโหลดและกลไกราคาในพื้นที่กทม. และปริมณฑล (DR : LAMS) เพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้ามีส่วนร่วมต่อการบริหารจัดการพลังงานของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความคุ้มค่า คาดว่าจะแล้วเสร็จ ภายในปี 2565 ส่วนโครงการนําร่องระบบไมโครกริดของ กฟน. เพื่อศึกษาระบบไมโครกริดและเป็นอาคารตัวอย่างในการเรียนรู้้ระบบ Facility Microgrid ของ กฟน. เป็นการรองรับระบบไมโครกริดและการขยายตัวของพลังงานทางเลือกในเขตพื้นที่บริการ บริหารจัดการ และควบคุมไมโครกริดในเขตพื้นที่บริการได้แบบ Real time คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2564 นอกจากนี้ ยังมีโครงการนำร่องอื่นๆ อยู่ระหว่างดำเนินการ อาทิ Smart Metro Grid Project เพื่อใช้งานเทคโนโลยีระบบสมาร์ทมิเตอร์ก่อนใช้ทั่วพื้นที่ กฟน. เป็นต้น
  • กฟผ. ได้เตรียมการด้านบทบาทรักษาความมั่นคงในระบบไฟฟ้าให้สามารถรองรับพลังงานหมุนเวียนในอนาคต โดยปรับปรุงโรงไฟฟ้าและระบบส่งให้มีความทันสมัยมากขึ้น (Grid Moderization) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพยากรณ์พลังงานหมุนเวียน Big Data รวมถึงโรงไฟฟ้าที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และจัดทำแผนพัฒนา Grid Connectivity

แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย พ.ศ. 2558 – 2579

เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบส่ง รองรับการส่งถ่ายไฟฟ้าในภูมิภาค มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางไฟฟ้าของอาเซียน เตรียมพร้อมการเปลี่ยนผ่านการพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิล ไปเป็นพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบไฮบริด สุดท้ายนำไปสู่เรื่องโรงไฟฟ้าชุมชน สร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจฐานราก โดยกฟผ.ได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงาน EGAT Energy Excellence Center ให้ความรู้ด้านพลังงานหมุนเวียน จุดเริ่มต้นแห่งการเกิดสมาร์ทกริด จะเป็นพื้นที่ที่ใช้พลังงานเลี้ยงตัวเองได้ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ มีระบบกักเก็บพลังงาน มีการให้ความรู้เรื่องระบบไฮโดรเจน พลังงานขยะ เพื่อนำไปผลิตไฟฟ้า ทั้งนี้เพื่อให้ศูนย์ฯไม่ต้องใช้ไฟจากกริด

สมาร์ทกริด (Smart Grid) ระบบโครงข่ายไฟฟ้า เพื่อเมืองอนาคต

อนึ่ง แผนพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าสมาร์ทกริด มีเป้าหมาย คือ 1.ยกระดับความสามารถของระบบไฟฟ้า (Smart System) ทำให้ระบบไฟฟ้ามั่นคงและมีประสิทธิภาพ ลดความต้องการโรงไฟฟ้าสำรอง จำนวนการเกิดไฟฟ้าดับ และการสูญเสียจากการส่งและจำหน่ายไฟฟ้า 2.ยกระดับคุณภาพบริการที่มีต่อผู้ใช้ไฟฟ้า (Smart Life) ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพผ่านการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ไฟฟ้า ใช้เทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเข้ามาช่วยบริหารจัดการความต้องการใช้พลังงาน ในรูปแบบ Smart Appliances, EV, EMS/DR/DSM, Smart Billing และ 3. ยกระดับโครงสร้างระบบไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Society ) ส่งเสริมให้มีการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น โดยที่ระบบไฟฟ้ายังสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิมหรือมากขึ้น สร้างสังคมสีเขียวและคาร์บอนต่ำ พัฒนาระบบไมรโครกริด เพื่อการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืนในชุมชน


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save