วช. นำผลงานวิจัยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต เพื่อเสริมความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ


เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จัดงาน CEO FORUM : Electricity R&I Challenges in the 21st Century “พลังงานไฟฟ้าก้าวไกล วิจัยนำไทยยั่งยืน” โดยมี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานและแถลงนโยบายเป้าหมายด้านการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพลังงานไฟฟ้า และเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมด้านพลังงานไฟฟ้าเพื่อการพัฒนาประเทศ ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พลังงานถือเป็น 1 ใน 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 1 การวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการสร้างความมั่นคั่งทางเศรษฐกิจ เนื่องจากพลังงานเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนภาคการผลิต ภาคบริการ และภาคเกษตร ให้สามารถสร้างมูลค่าทางการตลาดในการแข่งขันในเวทีระดับโลกได้ ซึ่งตามเป้าหมายหลักประการหนึ่งของยุทธศาสตร์ที่ 1 นี้ คือภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นจากการวิจัยและนวัตกรรม ส่งผลให้เกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเฉลี่ยร้อยละ 5 ต่อปี และทำอย่างไรเราจึงจะบรรลุตามเป้าหมายเหล่านี้ได้ สิ่งหนึ่งที่จะต้องมุ่งเน้นคือการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานด้วยการใช้เทคโนโลยีในประเทศไทยโดยต้องให้มีพลังงานเพียงพอกับความต้องการ และต้องสามารถผลิตและใช้แหล่งพลังงานที่หลากหลาย อาทิ พลังงานชีวภาพ (Bioenergy) เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) ต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตไฟฟ้า อาทิ มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการใช้ก๊าซชีวภาพจากของเสียอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมเพื่อผลิตไฟฟ้า โรงไฟฟ้าชุมชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถพึ่งพาตนเองได้ การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคขนส่ง รวมถึงการวิจัยและพัฒนาด้านการกักเก็บพลังงานชนิดต่างๆ สำหรับอุตสาหกรรม และยานยนต์ไฟฟ้า การวิจัยและพัฒนาวัสดุสำหรับระบบกักเก็บพลังงาน การพัฒนาระบบจัดการแบตเตอรี่ เป็นต้น ทั้งนี้ การวิจัยและพัฒนาต่างๆดังกล่าว ต้องคำนึงถึงความมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการลดราคาค่าใช้จ่ายในการนำเข้าจากต่างประเทศด้วย

“สำหรับการจัดงานครั้งนี้ เป็นการสร้างโอกาสที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายจะได้ช่วยกันหาคำตอบให้กับการนำงานวิจัยและนวัตกรรมด้านพลังงานไฟฟ้าไปต่อยอดใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งอาจไม่ใช่เฉพาะภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงภาคประชาชน ซึ่งเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากพลังงานไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ของประเทศอีกด้วย”

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า รัฐบาลได้มีนโยบายในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาในด้านต่าง ๆ จำนวน 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการสร้างองค์ความรู้พื้นฐานของประเทศ และยุทธศาสตร์ที่ 4 : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน บุคลากร และระบบวิจัยและนวัตกรรม

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะเลขานุการร่วมสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการผลักดันงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนกลไกดังกล่าวที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ จึงต้องมีการบูรณาการความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ด้านพลังงานไฟฟ้า กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่หน่วยงานนโยบายด้านการวิจัย และนวัตกรรม หน่วยงานผู้ผลิตไฟฟ้า และหน่วยงานผู้ใช้ประโยชน์ 

งาน CEO FORUM : Electricity R&I Challenges in the 21st Century “พลังงานไฟฟ้าก้าวไกล วิจัยนำไทยยั่งยืน” ในครั้งนี้ เป็นการสร้างโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยกันหาคำตอบให้กับการทำการวิจัยและนวัตกรรมด้านพลังงานไฟฟ้า เพื่อนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในทุกภาคส่วน ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคประชาชน ซึ่งจะเป็นการตอบโจทย์ในการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศต่อไป

     

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save