สัมมนาเชิงวิชาการ “การบูรณาการพลังงานทดแทน ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน”


สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็คโทรนิคส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) และ IEEE Power & Energy Society – Thailand Chapter ร่วมกับวิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “การบูรณาการพลังงานทดแทนร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน: การวางแผน ออกแบบ วิธีการแก้ปัญหา ควบคุม ปฏิบัติการและบําารุงรักษา (Integration of Renewable Energy Sources with Energy Storage System: Planning, Design, Solutions, Control, Operation and Maintenance)” ในระหว่างวันที่ 28-30 กันยายน 2563 ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ

หลักการและเหตุผล

ทําไมพลังงานทดแทนที่สามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก หรือที่เราเรียกว่า พลังงานหมุนเวียน กลายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหยุดได้ ในอนาคตโลกเรามีแนวโน้มและดูเหมือนว่ากว่า 50% ของพลังงานไฟฟ้าจะมาจากพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น ซึ่งจากการคาดการณ์จะเกิดขึ้นในช่วงปี 2035-2050 โดยมี 3 ปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนเหตุผลดังกล่าว 1) โลกเราใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ในปัจจุบันเราจะเห็นคนรุ่นใหม่ในหลายๆ ประเทศได้ออกมาประท้วงให้รัฐบาลออกนโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 2) พลังงานทดแทนกลายเป็นสิ่งที่เริ่มจับต้องได้ เพราะทุกคนในทุกพื้นที่ได้ให้ความสนใจที่จะหาแหล่งพลังงานและจัดเตรียมพื้นที่ สําาหรับการผลิตพลังงานทดแทนมากกว่าพลังงานที่ได้จากฟอสซิล 3) ปัจจุบันมีเทคโนโลยีต่างๆ มากมายที่รองรับและส่งเสริมการผลิตพลังงานหมุนเวียน เช่น ถ้าเราต้องการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ที่ห่างไกลจากชายฝั่ง เราสามารถส่งพลังงานไฟฟ้า ผ่านเทคโนโลยี HVDC (High Voltage Direct Current) โดยไม่จําาเป็นต้องกังวลเรื่องข้อจําากัดของกําาลังไฟฟ้าสูงสุดที่จ่ายได้หรือความยาวของสายส่ง และมีประสิทธิภาพในการส่งสูงมากเมื่อเทียบกับการส่งแบบกระแสสลับ

นอกจากนั้นเรายังมีเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาคุณภาพไฟฟ้าในระบบ เช่น STATCOM (Static Synchronous Compensator) ซึ่งใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กําาลัง IGBT (Insulated Gate Bipolar Transistor) เพื่อควบคุมการไหลของกําาลังไฟฟ้า และปรับปรุงเสถียรภาพของระบบในสภาวะชั่วครู่ (Transient Stability) เพื่อเพิ่มความมั่นคงหรือความสามารถของระบบที่จะสามารถทํางานต่อไปได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ หลังจากที่เกิดเหตุขัดข้องที่รุนแรงขึ้นกับระบบ และเทคโนโลยีซิงโครนัสคอนเดนเซอร์ (Synchronous Condensers) ซึ่งสามารถช่วยสนับสนุนการทําางานที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ให้กับกริดหรือสายส่ง โดยการปรับสมดุล ลดความผันผวนของแรงดันไฟฟ้า และเพิ่มกําลังไฟฟ้าลัดวงจรให้สูงขึ้น และเรายังมีเทคโนโลยีระบบสะสมพลังงาน (Energy Storage) จะช่วยลดความผันผวนของพลังงานทดแทน ทําาให้เราจ่ายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนได้อย่าง มีเสถียรภาพ หรือที่เราเรียกกันว่า Smoothing เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานในช่วงความต้องการไฟฟ้าต่ำ และจ่ายไฟฟ้าในช่วงความต้องการไฟฟ้าสูง (Energy Shifting) ช่วยควบคุมและรักษาความถี่ของระบบไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์ (Frequency Regulation) นอกจากนั้นยังช่วยจัดการความหนาแน่นของระบบส่ง (Congestion Management) ทําาให้เราสามารถนําพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่ชัดเจนว่าจาก 3 ปัจจัยหลัก การเปลี่ยนแปลงในด้านพลังงานไฟฟ้าจะเกิดขึ้นแน่นอนในอนาคต

สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็คโทรนิคส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) และ IEEE Power & Energy Society – Thailand Chapter ร่วมกับวิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เล็งเห็นถึงความสําคัญ จึงได้จัดให้มีการสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “การบูรณาการพลังงานทดแทนร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน: การวางแผน ออกแบบ วิธีการแก้ปัญหา ควบคุม ปฏิบัติการและบําารุงรักษา (Integration of Renewable Energy Sources with Energy Storage System: Planning, Design, Solutions, Control, Operation and Maintenance)” โดยการสนับสนุนวิชาการจาก สนพ. พพ. กฟผ. กฟภ. กฟน. ผู้ออกแบบ ผู้รับเหมา และผู้ผลิต บริษัทผู้ประกอบการ และสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในงานภาคปฏิบัติโดยตรง และเป็นผู้มี ความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทนมาเป็นอย่างดี

การบูรณาการพลังงานทดแทนร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ระบบผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทนร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน
  2. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ วิธีแก้ไขปัญหาคุณภาพไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในระบบ จากการใช้พลังงานทดแทน ทําาให้เราสามารถนําาพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เพื่อใช้เป็นแนวทางสําาหรับศึกษา วางแผน ออกแบบ และลงทุนพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  4. เพื่อเปิดโอกาสให้ปรึกษาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าสัมมนาทุกคนกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

กลุ่มเป้าหมาย

  1. ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่กําาหนดนโยบาย วิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในกิจการไฟฟ้าและพลังงาน
  2. ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน นักลงทุน ด้านไฟฟ้าและพลังงาน และผู้ให้บริการเทคโนโลยี Distributed Energy Resources (DERs), Microgrid, Energy Storage และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา อาจารย์ มหาวิทยาลัยและสถาบัน การศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไป

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

โทรศัพท์ 0-2354-5333 ต่อ 500 / 503 (คุณภัทรกันต์ / ศิริภักตร์)
e-mail : seminar@greennetworkseminar.com
ดูรายละเอียดหัวข้อการบรรยายและลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ www.greennetworkseminar.com/re


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save