สัมมนาเชิงวิชาการ “ยานยนต์ไฟฟ้า: เทคโนโลยี การออกแบบ โครงสร้างพื้นฐาน และการประยุกต์ใช้งาน”


สมาคมวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) และ IEEE Power & Energy Society – Thailand Chapter จัดสัมมนาเชิงวิชาการ “ยานยนต์ไฟฟ้า: เทคโนโลยี การออกแบบ โครงสร้างพื้นฐาน และการประยุกต์ใช้งาน (Electric Vehicles (EVs): Technology, Design, Infrastructure and Applications) ” ในวันที่ 28 – 30 ตุลาคม 2562 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ

ประเทศไทยในฐานะที่เป็น “ศูนย์กลางการผลิตรถยนต์” รายใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นอันดับที่ 12 ของโลก ดังนั้น แนวโน้มการเติบโตของ “ยานยนต์ไฟฟ้า” (EVs) ในตลาดยานยนต์โลก จึงมีนัยสําคัญต่อเศรษฐกิจของไทยโดยตรง ขณะนี้ตลาดรถยนต์ทั่วโลกกําาลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ หากมองในภาพรวม พบว่า “รถยนต์ส่วนบุคคลที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าและ รถบัสโดยสารไฟฟ้า” คาดว่าจะได้รับความนิยมมากที่สุดในหลายประเทศ ขณะที่รายงานของบลูมเบิร์กฉบับล่าสุดระบุว่า ผู้ใช้รถรายใหม่ที่คาดว่าจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามีมากถึง 57% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด ภายในปี 2040 เนื่องด้วยปัจจัยสําคัญจากราคาต้นทุนของแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงที่ลดลงถึง 85% จากการประหยัดต้นทุนการผลิตต่อขนาด (Economy of scale) รวมถึงความก้าวหน้าด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นโยบายภาครัฐของไทยได้ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและเพิ่มจําานวนสถานีชาร์จไฟฟ้าให้มากขึ้น เพราะการเติบโตของการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ากําาลังขยายตัวอย่างรวดเร็วทั่วโลก ซึ่งไทยมีศักยภาพในการเป็นผู้นําด้านรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคได้ สําหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่น่าจะได้รับความนิยมและคุ้มค่าในตลาดไทย ได้แก่ รถมอเตอร์ไซค์ รถตุ๊กตุ๊ก รถแท็กซี่หรือรถให้เช่า และรถบัสโดยสารไฟฟ้า เป็นต้น

สมาคมวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) และ IEEE Power & Energy Society – Thailand Chapter ร่วมกับ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (Electric Vehicle Association of Thailand – EVAT) ได้เล็งเห็นถึงความสําคัญ จึงได้จัดให้มีการอบรมเชิงวิชาการเรื่อง ยานยนต์ไฟฟ้า: เทคโนโลยี การออกแบบ โครงสร้างพื้นฐาน และการประยุกต์ใช้งาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาภาคขนส่งและอุตสาหกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ลดการนําเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม โดยการสนับสนุนวิชาการจาก สนพ. กฟผ. กฟภ. กฟน. สวทช. สถาบันยานยนต์ สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) บริษัทผู้ประกอบการ และสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในงานภาคปฏิบัติโดยตรง

ยานยนต์ไฟฟ้า: เทคโนโลยี การออกแบบ โครงสร้างพื้นฐาน และการประยุกต์ใช้งาน

วัตถุประสงค์

  1. สร้างความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า การออกแบบ โครงสร้างพื้นฐาน และการประยุกต์ใช้งานแก่ผู้สนใจลงทุน ผู้ให้บริการออกแบบและติดตั้ง ตลอดจนวิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง
  2. เปิดโอกาสให้ปรึกษาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าสัมมนาทุกคน และรับทราบแนวทางในการดําาเนินการและเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยี ยานยนต์ไฟฟ้า

กลุ่มเป้าหมาย

  1. วิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า
  2. ผู้ให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานของสถานีชาร์จไฟฟ้า
  3. ผู้สนใจลงทุนในธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าและระบบโครงสร้างพื้นฐาน
  4. บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง และบุคคลทั่วไปที่สนใจ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

โทรศัพท์ 0-2354-5333 ต่อ 500 / 503 (คุณภัทรกันต์ / ศิริภักตร์)
e-mail : seminar@greennetworkseminar.com
ดูรายละเอียดหัวข้อการบรรยายและลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ www.greennetworkseminar.com/ev


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save