กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดการประชุมสิ่งแวดล้อมศึกษาโลก ครั้งที่ 10


สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ หัวข้อ The 10th World Environmental Education Congress (WEEC2019) หรือ การประชุมสิ่งแวดล้อมศึกษาโลก ครั้งที่ 10 โดยมุ่งหวังว่าการเผยแพร่พระอัจฉริยภาพของ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงเล็งเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

โดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชาทานพระราชานุมัติให้มูลนิธิชัยพัฒนา ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดงานประชุม WEEC2019 พร้อมด้วย ผศ.ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานประชุม WEEC2019 ผนึกกำลังร่วมกับ 9 หน่วยงานของไทยที่เกี่ยวข้องจากหลายภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ประกอบด้วย ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) รวมถึง คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนสถาบันโลกร้อนศึกษาโดยมูลนิธินภามิตร สำนักงานเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษาโลก สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานภาคเอกชนร่วมด้วย เช่น C Asean รวมทั้ง บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรีจํากัด (มหาชน) บริษัท นามยง เทอร์มินัล จำกัด (มหาชน) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ท็อปกัน จำกัด ภายใต้การอำนวยการจัดงานประชุมโดย บริษัท เอ็น.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นเนล อีเว้นท์ จำกัด พร้อมด้วยนักวิชาการจากทั่วโลก ซึ่งได้รับเกียรติจาก Mr. Mario Salomone เลขาธิการ World Environmental Education Congress และ Mr. Nicolas Svenningsen, Manager of Global Climate Action จาก United nation Framework Convention on Climate Change

WEEC2019

ซึ่งการจัดประชุมนานาชาติด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาโลก มีวัตถุประสงค์ในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีทางธรรมชาติ ช่วยธรรมชาติผ่านเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติและการประชุมสัมมนาเพื่อร่วมกันหารือเกี่ยวกับบทบาทและความสำคัญของการศึกษาเพื่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนในทุกระดับทั้งในระดับอุดมศึกษา ลงไปจนถึงระดับก่อนปฐมวัย ตลอดจนชุมชน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์วิชาการทางสิ่งแวดล้อม อันนำไปสู่การหาแนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมถึงเพื่อสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและร่วมกันหาแนวทางจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับ ภูมิภาคและระดับโลก ภายใต้หัวข้อ “Local Knowledge, Communication and Global Connectivity” และเป็นการเผยแผ่พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ด้านการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนไปยังนานาอารยประเทศ

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวว่า “ปัจจุบันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญในสังคม โดยต้องถือเป็นความรับผิดชอบของทุกคน การปลูกฝังจิตสำนึกแห่งการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่ภาระหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่จะต้องเกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วนในสังคม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมโลกทำให้เกิดการขับเคลื่อนสร้างนโยบาย มาตรการ และแผนงานในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ซึ่งการประชุมในครั้งนี้เป็นแนวทางหนึ่งของการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน สร้างจิตสำนึก และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในปัจจุบันและในอนาคต”

ทางด้าน ผศ.ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานประชุม WEEC2019 กล่าวว่า “การจัดงานประชุมสิ่งแวดล้อมศึกษาโลกครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจาก UNEP และ UNESCO ซึ่งมีกิจกรรมการประชุมวิชาการโดยมีปาฐกถาพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล รวมทั้งการจัดแสดงนิทรรศการจากองค์กรชั้นนำของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึง นิทรรศการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมทัศนศึกษาเชิงวิชาการและวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ”

WEEC2019

อย่างไรก็ตาม การประชุมสิ่งแวดล้อมศึกษาโลกครั้งที่ 10 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ ได้ก่อให้เกิดการบรรลุเป้าหมายการสร้างจิตสำนึกให้เป็นไปตามแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2560-2564 อันจะนำไปสู่การได้รับความรู้ความเข้าใจและการได้ศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมศึกษาและการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่ยังรวบรวมความรู้จากบริษัท และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมโดยเฉพาะการดูแลสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั่วโลก ซึ่งจะช่วยจุดประกายให้เกิดการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดการพัฒนาต่อยอดความรู้ในอนาคต


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save