อุตสาหกรรมสีเขียว กับแผนฯ 12


การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถือเป็นหนึ่งใน “แนวทางการพัฒนา” ที่สำคัญที่ปรากฏใน “ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12” (พ.ศ. 2560-2564) ซึ่ง “สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” จัดทำเป็นเอกสารประกอบการประชุมที่จัดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2558 ที่ผ่านมา

แนวทางการพัฒนา” ที่ว่านี้อยู่ในแผนฯ 12 หมวดที่ 5 ข้อ 5.7 เรื่อง “การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” โดยข้อ 5.7.4 ได้กำหนดไว้ว่า “การส่งเสริมการผลิต การลงทุนและการสร้างงานสีเขียว เพื่อยกระดับประเทศสู่เศรษฐกิจสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสีเขียว ส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถปรับระบบเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานหรือห่วงโซ่คุณค่าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Supply Chain/Green Value Chain) ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้ในลักษณะเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ สนับสนุนให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตในรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน และสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจบริการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย เพื่อให้ประเทศไทยมีศักยภาพแข่งขันในเวทีโลกได้มากขึ้น โดยมีมาตรการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมในการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อลดภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ควบคุมจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมหรือปริมาณมลพิษที่สามารถปล่อยทิ้งออกมาได้ในพื้นที่มีมาตรการควบคุมคุณภาพสินค้านำเข้าที่จะก่อให้เกิดภาระในการกำจัด ส่งเสริมการทำการเกษตรกรรมยั่งยืน โดยเฉพาะการลดการใช้สารเคมีในภาคเกษตร และสนับสนุนเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างความปลอดภัยด้านอาหาร ลดต้นทุนการผลิต และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมภาคบริการที่มีศักบภาพและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยให้มีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ”

เรื่องของ “อุตสาหกรรมสีเขียว” (Green Industry) นี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับมีการกำหนดคำจำกัดความของ “อุตสาหกรรมสีเขียว” แบบไทยๆ ขึ้น (ซึ่งต่างจากคำจำกัดความของ UNIDO) และมียกร่าง “แนวทางการพัฒนาโรงงานสู่อุตสาหกรรมสีเขียว 5 ระดับ” มีการตั้งคณะกรรมการตรวจประเมิน “อุตสาหกรรมสีเขียว” และฝึกอบรมผู้ตรวจประเมินเพื่อให้การรับรองในระดับต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนทำการบูรณาการเพื่อพิจารณาให้ทุก “รางวัล” (“ใบรับรอง” และอื่นๆ) สามารถเทียบเคียงกันได้ โดยเริ่ม “โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว” ตั้งแต่ พ.ศ. 2553

อุตสาหกรรมสีเขียว” ของไทย ตั้งอยู่บน 2 แนวความคิดสำคัญ คือ “การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง” (เพื่อให้การประกอบกิจการโรงงานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) และ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” (ด้วยการประกอบกิจการโรงงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม)

อุตสาหกรรมสีเขียว จากระดับที่ 1 ถึงระดับที่ 5

การพัฒนาตามขั้นตอนของ “อุตสาหกรรมสีเขียว” จากระดับที่ 1 ถึงระดับที่ 5 จึงเป็นกระบวนการที่เริ่มจากง่ายไปยาก คือ ตั้งแต่การแสดงความมุ่งมั่นส่วนตัวภายในโรงงานของอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 1 เรื่อยไปจนถึงการสร้างวัฒนธรรม และการได้รับการยอมรับจากชุมชนผู้อยู่อาศัยโดยรอบโรงงาน ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายของการสร้างเครือข่ายสีเขียว (อุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 5) โดยโรงงานจะต้องยื่นสมัครขอรับการรับรอง และต้องผ่านการประเมินจากคณะกรรมการด้วย

5 ระดับของ “อุตสาหกรรมสีเขียว” ได้แก่ ระดับที่ 1 คือ ความมุ่งมั่น สีเขียว (Green Commitment) ระดับที่ 2 คือ ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) ระดับที่ 3 คือ ระบบสีเขียว (Green System) ระดับที่ 4 คือ วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) และระดับที่ 5 คือ เครือข่ายสีเขียว (Green Network)

โรงงานอุตสาหกรรม

ถึงวันนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้การรับรองแล้ว 20,215 ราย โดยแบ่งเป็นการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 1 จำนวน 13,415 ราย ระดับที่ 2 จำนวน 3,954 ราย ระดับที่ 3 จำนวน 2,740 ราย ระดับที่ 4 จำนวน 92 ราย และระดับที่ 5 จำนวน 13 ราย โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะมีโรงงานรวมไม่น้อยกว่า 40,000 รายได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับต่างๆ เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2561

ทั้งหมดทั้งปวงนี้ เป็นการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบกิจการโรงงานในเชิงบวก เพื่อการประกอบกิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือ การกระตุ้นและจูงใจให้เกิดจิตสำนึกและความรับผิดชอบด้วยตนเอง โดยเน้นให้ผู้ประกอบกิจการสามารถ “คิดเอง เริ่มเอง ทำเอง” ครับผม!

ข้อมูลที่คุณอาจสนใจ


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 96 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2562 คอลัมน์ GREEN Industry โดย ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save