เวิลด์ เมดิคอลฯ – CISW จับมือ สบส. -ททท. – ส.อ.ท.- TCEB จัดประชุม “The Global Medical Cannabis and Herbs Forum” ครั้งที่ 1 ส่งเสริม Green Medicine


บริษัท เวิลด์ เมดิคอล อัลไลแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัดและ บริษัท CISW จับมือ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (TCEB) จัดการประชุม The Global Medical Cannabis and Herbs Forum ครั้งที่ 1 เพื่อขับเคลื่อนประเทศสู่ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์โลก พร้อมส่งเสริมผลิตภัณฑ์ Green Medicine สร้างมูลค่าเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจของประเทศให้แข่งขันกับต่างประเทศได้

เวิลด์ เมดิคอล จับมือรัฐ-เอกชน
มุ่งให้ไทยเป็น Hub of Herb and Knowledge
ศิริญา เทพเจริญ ประธานบริหาร บริษัท เวิลด์ เมดิคอล อัลไลแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เวิลด์ เมดิคอลฯ ทำงานร่วมงานกับภาคเอกชนและภาครัฐมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำร่องสร้างเศรษฐกิจรับการเปิดประเทศโดยเฉพาะการการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เน้นสุขภาพ การรักษา เพิ่มคุณค่าด้วย นวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วยพืชสมุนไพรไทยที่มีอยู่ในประเทศ ซึ่งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้การยอมรับ เพื่อให้ประเทศไทยคือ Hub of Herb and Knowledge โดยสร้าง Network ที่เกี่ยวข้องกับ Medical Cannabis and Herbs ให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกอยากเดินทางมาประเทศไทย เพื่อมาหาแรงบันดาล เกี่ยวกับ Medical CBD and Herbs เบื้องต้นจะใช้ “กัญชา” พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่จะก้าวมาอยู่แถวหน้าของพืชหลักเศรษฐกิจของไทย มาสร้างแรงบันดาลใจสู่นักท่องเที่ยวทั่วโลก ประกอบกับการอ้างอิงข้อมูลจาก Google 74% ของนักท่องเที่ยว วางแผนเที่ยวด้วยออนไลน์ ซึ่งส่วนใหญ่ คือนักท่องเที่ยวคนรุ่นใหม่ ประเทศไทยจึงเป็นประเทศมีศักยภาพสูงและควรผลักดันการเติบโตของ Tech Tourism โดยเฉพาะธุรกิจที่มีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวแบบหรูหรา (Luxury Travel) ซึ่งลักษณะของ Luxury Travel Tech คือ การให้บริการแพลตฟอร์มที่ออกแบบแพกเกจการท่องเที่ยวเฉพาะบุคคล แบบ Exclusive และ Personalization เพื่อสร้างประสบการณ์ในการท่องเที่ยว

อีกทั้งประเทศไทยเป็นอันดับที่ 5 ของโลกด้าน Medical Tourism จากข้อมูลในปี พ.ศ.2562 ก่อนเกิด COVID-19 ประเทศไทยมีรายได้จากกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์มากถึง 630 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในส่วนของการพัฒนาด้าน Health Tech โดยเปรียบเทียบกับ 4 ประเทศในอาเซียน พบว่าประเทศไทยมีจำนวนการสนับสนุนสูงที่สุด นอกจากจำนวนเม็ดเงินของการลงทุน ทั้งนี้แพลตฟอร์มทางการแพทย์ ที่เป็น Mega Trend ของโลกคือ การแพทย์ที่เชื่อใน Green Medicine และ นวัตกรรมเพื่อการแพทย์ทางเลือกสมัยใหม่ ที่เชื่อว่า คนทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาแบบ Alternative Medical จากทั่วโลกได้ จึงมุ่งเน้นการศึกษา และวิจัยด้านพืชที่รักษาโรค และนวัตกรรมของศาสตร์ชะลอวัยด้านความสวยงาม การรักษาโรคและยับยั้งโรคบางชนิด ที่จะช่วยทำให้คนไทยและคนทั่วโลกมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคลดลง ซึ่งทาง เวิลด์ เมดิคอลฯ ได้ให้ความสนใจพืช กัญชา เป็นพิเศษอันดับแรกเนื่องจากตลาดมีความต้องการ มีงานวิจัยจำนวนมากรองรับตลอด และสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศได้ดีกว่าพืชชนิดอื่นๆ ซึ่งช่วยจะให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

สำหรับการทำงานเพื่อใช้กัญชาเป็นพืชสมุนไพรสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ ขณะนี้ได้

มีทีมงานทั้งภาครัฐ มหาวิทยาลัยพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกัญชา
ส่งออกผลิตภัณฑ์ Green Medicine ไปทั่วโลก
สำหรับการทำงานเพื่อใช้กัญชาเป็นพืชสมุนไพรสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ ขณะนี้ได้ร่วมกับทีมงานทั้งภาครัฐ มหาวิทยาลัยหรือนักวิจัยเพื่อทำตลาดเชิงรุก ส่งออกผลิตภัณฑ์ Green Medicine ไปทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่เป็นพันธมิตรประเทศแรกที่สนใจและร่วมลงนามความร่วมมือเพื่อศึกษาพัฒนากัญชาเพื่อให้ได้คุณสมบัติส่งออกตามที่ประเทศญี่ปุ่นต้องการภายในงาน “The Global Medical Cannabis and Herbs Forum” ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 ณ My Ozone เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

ในอนาคตมองตลาดส่งออกที่ประเทศเยอรมนีและสหรัฐอเมริกาไว้ แต่จะต้องดูข้อกฎหมายการค้าประกอบการทำการค้าขายระหว่างประเทศประกอบการตัดสินใจทำการค้าด้วย ทั้งนี้จะเริ่มปักหมุดทำการวิจัยกัญชาครบวงจรในพื้นที่เขาใหญ่เป็นพื้นที่แรก เพราะมีความเหมาะสมทั้งสภาพอากาศ สภาพดินและเกษตรกรในพื้นที่ให้การตอบรับจากการลงพื้นที่ให้ข้อมูลเบื้องต้นแล้ว

“ทำอย่างไรให้ทุกภาคส่วนเข้าใจและยอมรับองค์ความรู้ในการนำกัญชามาสกัดเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อนำมาใช้ทางสุขภาพให้มีความปลอดภัย ไม่ใช้เป็นสารเสพติดกับคนทั่วไป อีกทั้งกฎหมายในประเทศไทยที่ไม่เอื้อต่อการนำกัญชามาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ ซึ่งหากกฎหมายยังไม่ชัดเจน อาจจะต้องนำไปผลิตในประเทศที่กฎหมายเอื้อประโยชน์แล้วนำเข้าผลิตภัณฑ์จากกัญชามาจำหน่ายในประเทศไทยอีกที” ศิริญา กล่าว

สบส. สนับสนุนให้ไทยศูนย์กลางอุตสาหกรรมทางการแพทย์
และการท่องเที่ยวครบวงจร
อาคม ประดิษฐ์สุวรรณ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ประเทศไทยพยายามขับเคลื่อน Medical Hub ครั้งแรกในปี พ.ศ.2547 เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางด้านอุตสาหกรรมทางการแพทย์และการท่องเที่ยวครบวงจรให้ได้ จนกระทั่งในปีพ.ศ.2556 ได้จัดงาน Medical Hub Expo ครั้งแรกขึ้น ภายใต้ 4 ฐาน คือ 1.Medical Service Hub 2.Wellness Hub 3.Academic Hub และ 4.Product Hub ซึ่งภายหลังจากการจัดงานมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาใช้บริการทั้ง 4 ยุทธศาสตร์สูงถึง 1,200,000 ครั้ง ซึ่งถือว่าสูงมาก ถัดจากนั้นในปีพ.ศ.2559 ได้พัฒนายุทธศาสตร์ Medical Hub เข้า ครม.เป็นครั้งแรก และครม.ได้เห็นชอบพร้อมทั้งตั้งคณะกรรมการในการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม จากนั้นมีการนำเรื่องสมุนไพรไทยที่มีอยู่เข้าไปประกอบในยุทธศาสตร์การทำงานด้วย จนกระทั่งปีพ.ศ. 2561 ประเทศไทยมีผู้รับบริการชาวต่างชาติมาใช้บริการด้าน Medical เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า ประมาณ 3,200,000 ล้านครั้ง แสดงถึงการยอมรับการบริการของไทยและเพิ่มขึ้นมากขึ้นทุกๆปี และช่วงที่มากที่สุดหลังสถานการณ์น้ำท่วมเป็นต้นมาอยู่ที่ประมาณ 50,000,000 ครั้ง เพิ่มขึ้นกว่า 50 %

“หวังว่าการจัดงานในครั้งนี้ภายใต้ Green Medicine เพื่อพัฒนาประเทศไทยในการสร้างมูลค่าเพิ่มของการเป็นผู้นำทางด้านสุขภาพอนามัยนานาชาติ ซึ่งขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนประมาณ 400 แห่ง คลินิกทางการแพทย์ประมาณ 3,200 แห่ง โรงพยาบาลของรัฐประมาณ 1,000 แห่งโรงพยาบาลส่งเสริมตำบลอีกหลายหมื่นแห่งและสถานที่นวด สปาครบวงจรที่ได้รับอนุญาตหลายพันแห่งพร้อมที่จะร่วมกันช่วยพลิกฟื้นให้จำนวนนักท่องเที่ยว ซึ่งลดลงจากสถานการณ์ COVID-19 กลับมาท่องเที่ยวในประเทศไทยโดยเฉพาะการท่องเที่ยวทางการแพทย์ครบวงจรที่นับจากนี้จะเน้นใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาที่มีหลักฐานทางวิชาการรองรับเข้ามาผสมผสานทั้งกัญชาที่ปลดล็อกแล้วเพื่อการท่องเที่ยว กัญชาเพื่อการแพทย์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการด้านสุขภาพด้วยกัญชามากขึ้น

ชี้ตลาดกัญชาในญี่ปุ่นมีมูลค่า 1,300 ล้านบาท
JCA พร้อมวิจัยพัฒนากัญชาร่วมกับผู้ประกอบการไทย
ดร.โทชิฮิโระ อิโต้ ประธานสมาคม JCA (Japan Cannabinoid Association) กล่าวว่า JCA มีหน้าที่ส่งเสริม ดูแล และสร้างตลาดกัญชาที่ปลอดภัยถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากกฎหมายญี่ปุ่นมีความเข้มงวด กฎหมายปราบปรามกัญชาจะอยู่เหนือกว่ากฎหมายอาหารและยา โดยการใช้กัญชงและกัญชาหรือ CBD จะต้องถูกต้องตามกฎหมายคือ THC ต้องเป็น 0 และ CBD ต้องสกัดจากลำต้นหรือเมล็ดเท่านั้น สำหรับตลาดกัญชาของประเทศญี่ปุ่นเริ่มต้นเมื่อเดือนเมษายน 2563 ที่ผ่านมา และตอนนี้ตลาดมีการขยายตัว โดยมูลค่ากัญชาในญี่ปุ่นปัจจุบันอยู่ที่ 4,000 ล้านเยนหรือเท่ากับ 1,300 ล้านบาท และคาดว่าในอนาคตญี่ปุ่นจะกลายจะเป็นตลาดใหญ่อันดับ 5 ของโลก

นอกจากนี้ญี่ปุ่นกำลังมองหาแหล่งผลิตในต่างๆเพิ่มเติม เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถผลิตปลูก สกัดกัญชาได้ตามกฎหมาย และโชคดีที่ได้พันธมิตรภาคเอกชนของไทยในการผลิต สกัดกัญชาภายหลังจากประเทศไทยมีการปลดล็อกกัญชง กัญชา ซึ่ง JCA มีความตั้งใจที่จะร่วมวิจัยพัฒนาและแนะนำผู้ประกอบการไทยเกี่ยวกับกฎหมายกัญชาของญี่ปุ่น เพื่อให้ร่วมกันทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save