สมาคมวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) และ IEEE Power & Energy Society – Thailand Chapter และ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดสัมมนาเชิงวิชาการ ในหัวข้อ “โรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อเศรษฐกิจฐานราก: นโยบาย ข้อกำหนด การออกแบบ ติดตั้ง ควบคุมและบำรุงรักษา” Community Power Plants for Local Economy: Policy, Regulation, Design, Installation, Operation and Maintenance ในวันที่ 13 – 15 มกราคม 2563 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ
ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน ภายใต้นโยบายพลังงานเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชุมชน ในรูปแบบสานพลังประชารัฐ โดยมีเป้าหมายที่จะให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในด้านพลังงาน เพื่อขับเคลื่อนโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ โดย กพช. มุ่งหวังที่จะทำให้คนในชุมชน มีรายได้จากการเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า มีรายได้จากการจำหน่ายวัสดุทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างความเข้มแข็งในชุมชน รวมทั้งช่วยลดการย้ายถิ่นฐานของแรงงาน เกิดการจับจ่ายใช้สอยใช้สอยในพื้นที่ ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจสามารถนำไฟฟ้าที่ผลิตได้ สร้างมูลค่าเพิ่มในการประกอบอาชีพของชุมชน ซึ่ง กพช. ได้มอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาศึกษาและกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ของโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน ซึ่งตามกรอบนโยบายที่คณะกรรมการ กพช. ได้เห็นชอบ เช่น เป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้า พื้นที่ที่ไม่มีข้อจำกัดทางด้านระบบส่งและระบบจำหน่าย รวมทั้งได้มอบหมายให้ กบง. พิจารณารูปแบบที่เหมาะสมถึงการเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รวมทั้งภาคเอกชนที่สนใจร่วมลงทุนกับชุมชน เพื่อช่วยด้านการบริหารจัดการโรงไฟฟ้าให้เกิดความยั่งยืนต่อไป โดยมีกำหนดเริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบไม่เกินปี 2565 จากการประเมินเบื้องต้น พบว่า โรงไฟฟ้าชุมชนมีมากกว่า 1,000 พื้นที่ทั่วประเทศไทย ที่มีศักยภาพดำเนินการ ทางกระทรวงพลังงานกำลังพิจารณาให้ดำเนินการในรูปแบบของโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) ไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ เพื่อประหยัดต้นทุนการขนส่งวัตถุดิบ ส่วนเชื้อเพลิงจะเป็นแบบผสมผสาน (Hybrid) ระหว่างเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) เชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ (Biogas) และพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV) เพื่อช่วยให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่ำและลดภาระการอุดหนุนค่าไฟฟ้าในอนาคต
สมาคมวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) และ IEEE Power & Energy Society – Thailand Chapter และ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้จัดให้มีการสัมมนาเชิงวิชาการ “ โรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อเศรษฐกิจฐานราก – นโยบาย ข้อกำหนด การออกแบบ ติดตั้ง ควบคุมและบำรุงรักษา ” ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน โดยการสนับสนุนวิชาการจาก พพ., สกพ., BOI, กฟผ., กฟภ., กฟน., ผู้ออกแบบและผู้ผลิตอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีพลังงานชีวมวล ชีวภาพ และพลังงานแสงอาทิตย์, บริษัทผู้ประกอบการ และ สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในงานภาคปฏิบัติโดยตรง
วัตถุประสงค์
- สร้างความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานการผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน (Hybrid) ระหว่างเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) เชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ (Biogas) และพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV) แก่ผู้สนใจลงทุน ผู้ให้บริการออกแบบและติดตั้ง ตลอดจนวิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิต ใช้ และจำหน่ายไฟฟ้าอย่างยั่งยืน
- ได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประเมิน ทดสอบ บำรุงรักษา ปัญหาอุปสรรคในการเชื่อมต่อกับระบบและสัญญารับซื้อไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวง และเทคนิคการแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย
- เปิดโอกาสให้ปรึกษา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าอบรมทุกคนและรับทราบแนวทางในการดำเนินการผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน (Hybrid) ระหว่างเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) เชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ (Biogas) และพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV)
กลุ่มเป้าหมาย
- วิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงไฟฟ้าชุมชน
- ผู้ให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแบบผสมผสาน (Hybrid) ระหว่างเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) เชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ (Biogas) และพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV) สำหรับโรงไฟฟ้าชุมชน
- ผู้สนใจลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้าโรงไฟฟ้าชุมชน
- บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง และบุคคลทั่วไปที่สนใจ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทรศัพท์ 0-2354-5333 ต่อ 500 / 503 (คุณภัทรกันต์ / ศิริภักตร์)
e-mail : seminar@greennetworkseminar.com
ดูรายละเอียดหัวข้อการบรรยายและลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ www.greennetworkseminar.com/powerplant