จับมือกับไต้หวันเพื่อมุ่งสู่อนาคตสีเขียวที่ยั่งยืน


ความเป็นมาของพลังงานหมุนเวียนของไต้หวัน

ไต้หวัน“ เป็นผู้นำและหนึ่งในประเทศที่มีนวัตกรรมที่ก้าวหน้าที่สุดในโลกในการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว โดยผลิตเซลล์ Photovoltaic (PV Cells) คุณภาพสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก ผลิตไฟ LED เป็นอันดับ 2 ของโลก ใช้วัสดุสีเขียวจาก PET ที่รีไซเคิลแล้วเพื่อผลิตเป็นผ้าเป็นอันดับ 1 ของโลก อีกทั้งมีมูลค่าการส่งออกจักรยานเป็นอันดับ 2 ของโลก และบริษัทอุปกรณ์ด้านสิ่งแวดล้อมกว่า 8,000 บริษัท โดยมีมูลค่าการส่งออกต่อปี 999.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี พ.ศ. 2562

ไต้หวันให้ความสำคัญสูงสุดกับการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวโดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียน ซึ่งในระหว่างการปราศรัยเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในวาระการดำรงตำแหน่งสมัยที่สองของประธานาธิบดีไช่ (Tsai) เธอได้มอบหมายให้พัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนของไต้หวันต่อไป ภายใต้การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนนี้ไต้หวันจึงกำลังมีส่วนร่วมในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศ

1. นโยบายของรัฐบาล

ในการเข้าร่วมประชาคมระหว่างประเทศเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รัฐบาลไต้หวันตั้งเป้าหมายว่าภายในปี พ.ศ. 2568 พลังงาน 20 เปอร์เซ็นต์จะมาจากพลังงานหมุนเวียน โดยพลังงานหมุนเวียนส่วนใหญ่จะมาจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม

2. สถานะปัจจุบันของพลังงานหมุนเวียนในไต้หวัน

ไต้หวันครองอันดับสองของโลกด้านการผลิตเซลล์ Photovoltaic ทั้งหมดและสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 9 GW ต่อปี ครอบคลุมห่วงโซ่มูลค่าเซลล์ Photovoltaic ทั้งหมด ตั้งแต่ซิลิคอนเวเฟอร์ไปจนถึงซิลิคอน เซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบางไปจนถึงระบบ PV ทั้งระบบ

  • พลังงานแสงอาทิตย์

รัฐบาลไต้หวันอนุมัติแผนส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์ระยะเวลา 2 ปี เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559 โดยพลังงาน 20 เปอร์เซ็นต์ที่จะมาจากพลังงานหมุนเวียนภายในปี พ.ศ. 2568 นั้น เกือบ 66 เปอร์เซ็นต์จะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาไต้หวันได้ส่งเสริมการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนอย่างจริงจัง โดยมีบริษัทและเทคโนโลยีด้านพลังงานสีเขียวเพิ่มขึ้นทุกปี ในบรรดาบริษัทและเทคโนโลยีเหล่านี้อาจกล่าวได้ว่า Photovoltaic นั้นอยู่ในอันดับต้นๆ ของการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนของไต้หวัน สำนักงานพลังงานและกระทรวงเศรษฐกิจของไต้หวัน ได้ระบุว่าโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำตามปกติในปี พ.ศ. 2562 ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายไฟฟ้าชนิด Photovoltaic ไว้ที่ 20 GW ในปี พ.ศ. 2568 ประกอบด้วยแบบหลังคา 3 GW และแบบพื้นดิน 17 GW เพื่อส่งเสริมการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ต่อไป

จากข้อมูลกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนของบริษัทพลังงานของไต้หวัน ระบุว่าเมืองไถหนาน ทางตอนใต้ของไต้หวันติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์เป็นจำนวนมากที่สุด โดยมีกำลังการผลิตในส่วนที่ติดตั้งแล้วสูงสุด 150 MW ตามด้วยเมืองชางฮัว เป็นอันดับสองด้วยกำลังการผลิตประมาณ 100 MW

การเพิ่มขึ้นของจำนวนอุปกรณ์ของพลังงานหมุนเวียนยังสะท้อนให้เห็นถึงปริมาณการผลิตไฟฟ้า ด้วยการเพิ่มขึ้นของพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้พลังงานแสงอาทิตย์กลายเป็นแหล่งไฟฟ้าสำรองของไต้หวัน

  • พลังงานลม

พลังงานลมของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้ไต้หวันบรรลุเป้าหมายพลังงานหมุนเวียนภายในปีพ.ศ. 2568 อีกด้วย เมื่อโครงการ Formosa ระยะ 1 และระยะ 2 แล้วเสร็จ ลมนอกชายฝั่งจะให้พลังงานหมุนเวียน 120 MW ตามด้วย 376 MW ที่ได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานลม Hailong และ 640 MW จาก WPD ส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานลม Yunlin จะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2564 ทำให้กำลังการผลิตพลังงานลมในอนาคตของไต้หวันรวมถึงปริมาณพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดจะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก

ไต้หวันกลายเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่งเชิงพาณิชย์เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ปัจจุบันมีการวางแผนโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่งไว้ทั้งหมด 5 แห่ง และแนวคิดที่มุ่งมั่นสร้างพลังงานลมนอกชายฝั่งที่มีกำลังผลิต 5.5 GW ภายในปี พ.ศ. 2568 ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ไต้หวันบรรลุเป้าหมายด้านพลังงานหมุนเวียน ปัจจุบันมีบริษัทระหว่างประเทศหลายแห่งที่ตั้งสำนักงานอยู่ในไต้หวัน รวมถึงนักพัฒนาต่าง ๆ เช่น Orsted เดนมาร์ก, WPD เยอรมนี, Macquarie ออสเตรเลีย, JERA ญี่ปุ่น และผู้ผลิตกังหัน Siemens-Gamesa, MHI-Vestas และอีกมากมาย บริษัทเหล่านี้ช่วยให้ไต้หวันสร้างห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เพื่อให้ไต้หวันกลายเป็นผู้จัดจำหน่ายกังหันลมนอกชายฝั่งในอนาคตต่อไป และด้วยพลังงานมากมายที่มาจากพลังงานหมุนเวียน การจัดเก็บพลังงานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง

  • การจัดเก็บพลังงาน

ไต้หวันมีบริษัทสัญชาติไต้หวันที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น Celxpert, STL, J.S. Power, Tatung & DELTA ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายแบตเตอรี่ให้กับแบรนด์ต่างประเทศรายใหญ่ของโลก และยังเป็นบริษัทที่ได้เข้าสู่อุตสาหกรรมการจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ เราหวังว่าความร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับประเทศชั้นนำด้านพลังงานหมุนเวียนและการจัดเก็บพลังงานจะช่วยให้ไต้หวันเร่งมือและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้มากขึ้นเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

3. บริษัทพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมของไต้หวัน

บริษัทพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมของไต้หวันมีตั้งแต่บริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกไปจนถึงบริษัทซึ่งเพิ่งเริ่มแตกไลน์บริษัทใหม่เพื่อรองรับความต้องการด้านพลังงานลมนอกชายฝั่งของไต้หวัน

บริษัท United Renewable Energy (URE) นับเป็นบริษัทพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวันและเป็นหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก บริษัทดังกล่าวเกิดจากการควบรวมกิจการของ Neo Solar, Gintech และ Solartech ผลิตภัณฑ์บางส่วนของบริษัทได้แก่ BiFi Solar Module, 6 “Mono-crystalline 6 Bus Bar, Photovoltaic Modules รวมถึงการจัดเก็บพลังงาน บริษัท Ta Ya Green Energy Technology จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2557 และมี “Touch Solar Power” เป็นโรงงานพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรกของบริษัทฯ ที่มีกำลังการผลิตรวม 2.39 MW นอกจากนี้บริษัทฯ ยังเป็นผู้จำหน่ายสายไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วยสายไฟฟ้าทนความร้อน สายไฟฟ้าทนไฟ สายไฟปลอดสารตะกั่วหุ้มพีวีซี และอื่น ๆ

นอกจากนี้ Ta Ya ยังช่วยให้บริษัทในไต้หวันสามารถสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้โมเดล PV-ESCO ส่วนบริษัท Century Iron & Steel Industrial จำกัด เป็นหนึ่งในผู้ผลิตโครงสร้างเหล็กรายใหญ่ที่สุดในไต้หวัน สำหรับพลังงานลมนอกชายฝั่ง CT ได้สร้าง “หอสังเกตการณ์อุตุนิยมวิทยา” ที่ใช้ในการรวบรวมความเร็วลม ทิศทางลม และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับการสร้างโรงงานพลังงานลมนอกชายฝั่ง CT อยู่ในธุรกิจการผลิตและประกอบกังหันลมนอกชายฝั่ง DWTEK เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ทางทะเลรายแรกของไต้หวัน ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ยานพาหนะใต้น้ำที่ทำงานจากระยะไกล (ROV), ตัวคอนเนคเตอร์ใต้ทะเล, ไฟ LED, เซนเซอร์ระบบนำทาง และอื่น ๆ

Ecolohas ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2541 เป็นบริษัทที่มีทีมเทคนิคที่แข็งแกร่งในด้านการสื่อสารพลังงานและการกระจายพลังงาน ในด้านพลังงานหมุนเวียน ให้บริการการวางแผน การออกแบบ และการก่อสร้างระบบจัดเก็บพลังงาน บริษัท Chung-Hsin Electric and Machinery Manufacturing Corp. (CHEM) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2499 เพื่อผลิตมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในส่วนของอุปกรณ์ไฟฟ้า วิศวกรรม และการบริหารจัดการที่จอดรถ ด้วยการเติบโตอย่างต่อเนื่องนี้ ทำให้บริษัทฯ เข้าสู่อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนและธุรกิจไมโครกริดในส่วนของระบบจัดเก็บพลังงาน

4. TAITRA

สภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกไต้หวัน (Taiwan External Trade Development Council : TAITRA) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2513 เพื่อช่วยส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ เป็นองค์กรส่งเสริมการค้าที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่สำคัญที่สุดในไต้หวันและได้รับการสนับสนุนร่วมกันจากรัฐบาล สมาคมอุตสาหกรรม และองค์กรเอกชน www.taitra.org.tw

สภาการค้าไต้หวันฯ ร่วมกับ Green Trade Project Office ขอเชิญท่านผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมรับชมการนำเสนอผลิตภัณฑ์ในงาน “Livestream Launch – Taiwan Greentech & Environmental Solution” ในวันพุุธที่ 25 พ.ย. 2563 เวลา 14.00-15.00 (ตามเวลาไทย) สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://taitra.surveycake.biz/s/eLGY6 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณภัทรพงศ์ 02-651-4470


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save