ไทยเสนอแผนยุทธศาสตร์ Net Zero ร่วมอนุสัญญา COP26


การจัดงานประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 หรือ COP 26 ( Conference of the Parties ) ระหว่างวันที่ 31 ต.ค. – 12 พ.ย. 64 ซึ่งเป็นเวทีสำคัญระดับโลก ที่มีผู้นำประเทศจากทั่วโลก กว่า 190 ประเทศ จะเข้าร่วมประชุมที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร เพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ หรือที่เรียกว่า Net Zero Emission โดยเร็วที่สุด ผู้นำประเทศที่ยืนยันเข้าร่วมประชุมแล้ว ได้แก่ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โจ ไบเดน, นายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริส จอห์นสัน, ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอมมานูเอล มาครง, นายกรัฐมนตรีแคนาดา จัสติน ทรูโด, นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย สกอตต์ มอร์ริสัน ขณะที่ผู้นำจีน ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง, ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน, นายกรัฐมนตรีอินเดีย นเรนทรา โมดี และผู้นำบราซิล ประเทศลำดับต้นๆ ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อาจจะไม่เดินทางมาประชุมตัวต่อตัว โดยจะส่งผู้แทนเข้าร่วมแทนและจะมีบทบาทชัดเจนในเวทีประชุม

Net Zero เป็นประเด็นเป้าหมายหลักของการประชุม COP 26 คือ การให้แต่ละประเทศเสนอเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่เข้มข้นมากขึ้นกว่าเดิม โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการบรรลุ Net Zero ทั่วโลกภายในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) และควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นโดยเฉลี่ยเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เทียบกับก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

ก๊าซเรือนกระจก

สำหรับประเทศไทย ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทยเมื่อวันอังคารที่ 19 ตุลาคม 2564 และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยประสานงานกลางของไทยในการประชุมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จัดส่งร่างยุทธศาสตร์ดังกล่าวต่อสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาฯ ในการประชุม COP26 โดยมีสาระสำคัญเพื่อตอบสนองต่อการร่วมมือกับประชาคมโลกในการพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 1.5-2 องศาเซลเซียส โดยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเข้มข้นสูงสุดในปี พ.ศ. 2573 มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์โดยเร็วที่สุดภายในครึ่งหลังของศตวรรษนี้ และสุดท้ายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2608

สำหรับยุทธศาสตร์ระยะยาวฯ ของประเทศไทยได้จัดทำโดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน มีการกำหนดเป้าหมายและมาตรการที่ชัดเจนและสอดคล้องตามแนวทางการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยโลก 2 องศาเซลเซียส และการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ทั้งนี้ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและขนส่งอย่างเร่งด่วน รวมถึงการปรับเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตของภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสและเพิ่มมูลค่าการลงทุนในธุรกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายในปี พ.ศ. 2593

นอกจากนี้การดำเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกยังก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วม (co-benefit) เช่น ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศเพิ่มขึ้น ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหัวประชากรลดลง ทำให้มลพิษทางอากาศ ได้แก่ ออกไซด์ของไนโตรเจน คาร์บอนมอนอกไซด์ และ PM 2.5 ลดลง อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศไทยจะสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนทั้งในประเทศและต่างประเทศ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save