คอร์สแอร์ โชว์เทคโนโลยีไพโรไลซิส เปลี่ยนขยะพลาสติกเป็น Bio-oil ใช้ผลิตดีเซล ตั้งเป้าพัฒนาเป็นวัตถุดิบผลิตพลาสติกในอนาคต


กรุงเทพฯ : คอร์สแอร์ กรุ๊ป (Corsair Group) บริษัทผู้พัฒนาโซลูชั่นธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมีฐานการดำเนินงานทั้งในไทยและเนเธอร์แลนด์ ชู “เทคโนโลยีไพโรไลซิส (Pyrolysis Technologies)” ซึ่งสามารถเปลี่ยนขยะพลาสติกให้เป็นน้ำมันชีวภาพขั้นสูง (Advanced Bio-oil) เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงทางเลือก พร้อมตั้งเป้าผลิตน้ำมันชีวภาพขั้นสูงทั้งหมด 100% เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติกใหม่ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกที่จะถูกนำไปฝังกลบและลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ และเปิดรับการร่วมมือเป็นพันธมิตรทั้งกับองค์กรธุรกิจและหน่วยงานรัฐบาล เพื่อเยียวยาปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกันอย่างยั่งยืน

ยูสซี เว็คโค ซาโลรานตา ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คอร์สแอร์ กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า ขยะพลาสติกถือเป็นปัญหาที่เรื้อรังมายาวนาน โดยเฉลี่ยมนุษย์สร้างขยะพลาสติกราวคนละ 50 กิโลกรัมต่อปี โดยเฉพาะประเทศไทยมีการสร้างขยะพลาสติกปีละมากกว่า 2 พันล้านกิโลกรัม แต่มีการนำไปรีไซเคิลไม่ถึง 10% อีกทั้งสถานการณ์ COVID -19 ซึ่งมาพร้อมอุปสงค์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกต่อหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์ปกป้องสุขภาพส่วนบุคคล ส่งผลถึงการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกและพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยระบุว่าสถานการณ์ COVID -19 ทำให้ปริมาณขยะพลาสติกในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นถึง 60% ขณะที่อัตราการผลิตพลาสติกรายปียังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมียอดผลิตทั่วโลกมากกว่า 370 ล้านเมตริกตันต่อปี หากแนวโน้มยังคงเป็นเช่นนี้ ภายในปี ค.ศ. 2050 ขยะพลาสติกกว่า 12 พันล้านตันจะทับถมอยู่ในหลุมขยะฝังกลบและปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ

คอร์สแอร์ กรุ๊ป มีสำนักงานใหญ่สาขายุโรปในกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ และมีสำนักงานใหญ่สากลตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ บนเนื้อที่ 6,400 ตารางเมตร มีพนักงานเกือบ 100 คน โดยโรงงานเริ่มดำเนินการในเดือนสิงหาคม 2563 ทั้งนี้บริษัทฯ ใช้เทคโนโลยีไพโรไลซิสที่เปลี่ยนขยะพลาสติกที่ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันกำมะถันต่ำ ปัจจุบันมีกำลังการผลิตราว 200,000 ลิตรต่อเดือน สามารถรีไซเคิลขยะพลาสติกได้ 400,000กิโลกรัมต่อเดือน

บริษัทฯ ใช้เทคโนโลยีไพโรไลซิส ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีความล้ำหน้ามากที่สุดในอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยให้สามารถแปรสภาพพลาสติกประเภทต่าง ๆ ซึ่งถูกโยนทิ้งในแต่ละวันและต้องนำไปฝังกลบให้กลายเป็นน้ำมัน

“พลาสติกที่ใช้ในชีวิตประจำวันล้วนผลิตจากน้ำมัน งานของคอร์สแอร์คือการเปลี่ยนสภาพของขยะพลาสติกเหล่านั้นให้กลับไปเป็นน้ำมันในรูปแบบของเหลว โดยเริ่มจากการลำเลียงขยะพลาสติกลงในเครื่องไพโรไลซิส (Pyrolysis Machine) ซึ่งสามารถรองรับขยะพลาสติกได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นถุงพลาสติก พลาสติกห่อหุ้ม และบรรจุภัณฑ์ หลังจากนั้น เครื่องจะให้ความร้อนแก่ขยะพลาสติกเหล่านั้นเพื่อให้เกิดควันและก๊าซ ก๊าซไวไฟที่ได้ในขั้นตอนนี้จะถูกรวบรวมและนำไปใช้เพื่อสร้างความร้อนในขั้นตอนการแปรสภาพขยะพลาสติกต่อไป ส่วนควันที่เกิดขึ้นจะลอยผ่านระบบกลั่นและเปลี่ยนเป็นของเหลว ซึ่งน้ำมันชีวภาพถูกสร้างขึ้นด้วยกระบวนการนี้” ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คอร์สแอร์ กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว

สำหรับน้ำมันกำมะถันต่ำที่ได้นี้เรียกว่าน้ำมันชีวภาพขั้นสูง (Advanced Bio-Oil/ Advanced Biofuel) มีลักษณะเหมือนน้ำมันดิบและสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และนํ้ามันอากาศยาน ปัจจุบันมีโรงกลั่นขนาดเล็กนำน้ำมันจากบริษัทฯ ไปผสมเป็นน้ำมันดีเซล

นอกจากนี้ น้ำมันชีวภาพขั้นสูงบางส่วนที่ผลิตได้ยังหมุนเวียนกลับมาใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับเครื่องจักรไพโรไลซิส โดยไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากภายนอก ซึ่งในอนาคต คอร์สแอร์จะผลิตไฟฟ้าจากความร้อนของเครื่องจักรเหล่านี้ในตัวเอง เพื่อสร้างระบบนิเวศพลังงานที่เพียงพอสำหรับป้อนภายในโรงงาน
“เป้าหมายหลักของคอร์สแอร์ คือ การนำน้ำมันชีวภาพขั้นสูงที่ผลิตทั้งหมด 100% สามารถใช้ผลิตพลาสติกใหม่ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกที่จะถูกนำไปฝังกลบและลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนี้สามารถทำสำเร็จในวัสดุประเภทแก้ว กระดาษ และเหล็กแล้ว ทั้งนี้จากกระบวนการผลิตคาดว่าน่าจะสามารถนำไปผลิตพลาสติกใกล้เคียงกับที่นำมารีไซเคิล ปัจจุบันมีบริษัทกำลังศึกษาและพัฒนาด้านนี้อยู่” ยูสซี เว็คโค ซาโลรานตา กล่าว

ในปีหน้า โรงงานจะขยายพื้นที่อีก 10,000 ตารางเมตร ด้วยเงินลงทุนเพิ่มอีก 75 ล้านเหรียญ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการผลิตให้ได้มากกว่า 1,000,000 ลิตรต่อเดือน ซึ่งจะสามารถรีไซเคิลขยะพลาสติกได้ถึง 2 ล้านกิโลกรัมต่อเดือน และคาดว่าในปีหน้าจะมีพนักงานเพิ่มขึ้นเป็น 200 คน แบ่งเป็นพนักงานคนไทย 150 คน ประกอบด้วย พนักงานในโรงงาน ด้านโลจิสติกส์ และคัดแยกพลาสติก ที่เหลือ 50 คน เป็นคนต่างชาติ

ปัจจุบันบริษัทฯ ได้ทำงานร่วมกับบริษัทและองค์กรชื่อดังของไทยหลายแห่ง อาทิ ไมเนอร์ กรุ๊ป, เซ็นทารา กรุ๊ป, ชาเทรียม โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท, โรงเรียนนานาชาติ โชรส์เบอรี่, บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน), แดรี่โฮม และอีกหลายแห่ง

ยูสซี เว็คโค ซาโลรานตา กล่าวถึงธุรกิจคอร์สแอร์ในสหภาพยุโรป (EU) ว่า บริษัทฯ ได้เริ่มตั้งโรงงานในประเทศสโลวาเกีย และก่อสร้างในไตรมาส3 ของปีนี้ คาดว่าจะใช้เวลาสร้างและดำเนินการภายใน 2 ปี สามารถผลิตน้ำมันได้ 700,000 ลิตรต่อเดือน และรีไซเคิลขยะพลาสติกได้ 13.5 ล้านกิโลกรัมต่อปี ขณะนี้ EU ได้ออกกฎระเบียบให้โรงงานพลาสติกจะต้องใช้พลาสติกรีไซเคิลไม่น้อยกว่า 30% ของการผลิตพลาสติกทั้งหมด คาดว่ากฎระเบียบนี้จะนำมาใช้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคตนี้

“ถึงเวลาแล้วที่เราต้องยืนหยัดและร่วมแก้ไขปัญหามลภาวะจากขยะพลาสติก เราทุกคนสามารถสร้างความแตกต่างได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีใหม่ที่เรามีอยู่ เราจึงพร้อมต้อนรับบริษัท พันธมิตรทางการเงิน องค์กร และหน่วยงานรัฐบาลที่มีอุดมการณ์เดียวกัน นี่คือช่วงเวลาที่เราต้องร่วมมือกันสร้างสรรค์วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่าเพื่อทุกชีวิต” ยูสซี เว็คโค ซาโลรานตา กล่าวทิ้งท้าย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save