“เอซ กรีน รีไซคลิง” เตรียมเปิดตัวโรงงานรีไซเคิล แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน 4 แห่งทั่วโลก


“เอซ กรีน รีไซคลิง” (ACE Green Recycling) หรือเอซ (ACE) บริษัทเทคโนโลยีรีไซเคิลสัญชาติสหรัฐฯ เตรียมเปิดตัวโรงงานรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน ใหม่ 4 แห่ง ที่มุ่งใช้เทคโนโลยีรีไซเคิลปลอดมลพิษอันเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรีไซเคิลอีกปีละกว่า 30,000 ตัน ส่งเสริมการใช้พลังงานไฟฟ้าทั่วโลก

เอซ กรีน รีไซคลิง ประกาศแผนสร้างและบริหารจัดการโรงงานรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนใหม่ 4 แห่ง โดยมีศักยภาพในการรีไซเคิลตามที่วางแผนไว้ปีละกว่า 30,000 ตัน โรงงานใหม่ทั้ง 4 แห่งนี้จะมุ่งเจาะตลาดรีไซเคิลที่ก่อนหน้านี้ยังไม่ได้รับการตอบสนองเต็มที่ และเปิดโอกาสให้ตลาดระดับภูมิภาคได้สัมผัสกับโซลูชันรีไซเคิลที่ปลอดมลพิษและเป็นกลางทางคาร์บอน เพื่อสนับสนุนการใช้แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนทั่วโลก ปัจจุบัน แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนเป็นที่นิยมใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก ทั้งยังทำหน้าที่เป็นโซลูชันจัดเก็บพลังงานแบบกริดด้วย

ปัจจุบัน เอซกำลังวางแผนตั้งโรงงานในประเทศไทย อินเดีย และสหรัฐอเมริกา โดยตั้งใจให้มีศักยภาพในการรีไซเคิล 10,000 ตันระหว่างอินเดียกับไทย และ 20,000 ตันในสหรัฐอเมริกา สำหรับการดำเนินการในอินเดียนั้นคาดว่าจะเปิดฉากในไตรมาสสามของปี 2565 ด้วยกำลังการรีไซเคิลเบื้องต้นปีละ 1800 ตัน ส่วนไทยและสหรัฐอเมริกาคาดว่าจะเดินเครื่องได้ในปี 2566 โดยคาดว่าจะเดินเครื่องได้อย่างเต็มรูปแบบในโรงงานทุกแห่งได้ภายในปี 2568

เมื่อไม่นานมานี้ เอซได้ประกาศแผนสร้างนิคมรีไซเคิลแบตเตอรี่แบบตะกั่ว-กรดและแบบลิเธียม-ไอออน ในรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา และในเวลาต่อมาก็ได้ประกาศแผนจัดตั้งโรงงานในเอเชีย ปัจจุบัน เอซกำลังเดินหน้าสู่การเป็นผู้เล่นระดับโลกในด้านการรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน ทางบริษัทยังเตรียมนำเทคนิครีไซเคิลแบบโลหวิทยาสารละลาย (hydrometallurgical) อันเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทมาใช้ ซึ่งผสานรวมกรรมวิธีแบบอุณหภูมิต่ำและไม่ก่อมลพิษเข้ากับอัตราการกู้คืนที่สูงถึง 98% นอกจากนี้ เอซยังกู้คืนโลหะมีค่า เช่น ทองแดงและอลูมิเนียมได้ด้วย และรองรับสารเคมีที่ใช้กันมากที่สุดในแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนได้หลายประเภท และเพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายในการส่งเสริมสิ่งแวดล้อม กรรมวิธีดังกล่าวยังไม่ก่อให้เกิดขยะมูลฝอยหรือของเสียที่เป็นพิษ

นอกเหนือจากทองแดงและอลูมิเนียมแล้ว วัสดุที่กู้คืนได้ยังรวมถึงซัลเฟตและคาร์บอเนตของโคบอลต์ แมงกานีส และนิกเกิล ทั้งหมดนี้ทำให้โรงงานของเอซ “เป็นมิตรกับผู้ใช้” เพื่อนำไปใช้ในแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนยุคใหม่

นิชเชย์ ชาดา (Nishchay Chadha) ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทเอซ กล่าวว่า “เรามีแผนจัดตั้งโรงงานใหม่ 4 แห่งนี้ โดยจะงัดใช้ประสบการณ์ด้านซัพพลายเชนระดับโลกของเราอย่างมีกลยุทธ์รองรับ เพื่อตอบสนองตลาดในอเมริกาเหนือและเอเชีย ซึ่งเรามีประสบการณ์ตรงและมีความสัมพันธ์เหนียวแน่นมาก ๆ อยู่แล้ว” ปัจจุบัน เอซกำลังหารือกับว่าที่หุ้นส่วนเพื่อทำข้อตกลงเรื่องการจัดหาขยะแบตเตอรีและซื้อขายผลิตภัณฑ์ เพื่อรับประกันว่าจะมีแบตเตอรีให้รีไซเคิลอย่างต่อเนื่องและหาลูกค้ามารอรับวัสดุผลิตแบตเตอรีเกรดวางจำหน่ายได้

เมื่อดำเนินการเต็มรูปแบบแล้ว เอซคาดว่าจะสร้างงานทางตรงและทางอ้อมได้ถึง 100 ตำแหน่งแก่เศรษฐกิจในพื้นที่

เมื่อตลาดรีไซเคิลแบตเตอรีลิเธียม-ไอออนในระดับโลกนั้นยังเบาบาง บรรดาผู้รับจ้างผลิต (OEM) ผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และนักลงทุนเชิงกลยุทธิ์ ต่างมีความหวังว่าโซลูชันรีไซเคิลที่ยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมจะเป็นที่ต้องการอย่างมากเนื่องด้วยเหตุผล 3 ประการด้วยกัน

การที่แบตเตอรีลิเธียม-ไอออนมีการนำไปใช้มากขึ้นอย่างก้าวกระโดด ไม่ว่าจะจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นที่แพร่หลายอยู่แล้ว ไปจนถึงยานยนต์ไฟฟ้าที่แพร่หลายและได้รับความนิยมเรื่อย ๆ ต่างส่งเสริมให้แบตเตอรีลิเธียม-ไอออนเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นอกจากนี้ นโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้ “ผู้ผลิตต้องแสดงความรับผิดชอบ” ส่งผลให้บรรดาผู้ผลิตแบตเตอรีต้องรีบหาโซลูชันรีไซเคิลที่มีความยั่งยืน ซึ่งช่วยลดผลกระทบที่การผลิตแบตเตอรีมีต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด และเมื่อซัพพลายเชนทั่วโลกยังคงเปราะบางจนทำให้ราคาผันผวนขึ้นลงรุนแรง เหล่าผู้เล่นตลอดห่วงโซ่มูลค่าต่างมองหาวิธีเพิ่มความหลากหลายให้กับแหล่งที่มาของวัสดุทำแบตเตอรี ให้ห่างจากภูมิภาคที่มีปัญหาทางการเมืองบ่อยครั้ง

ดร. วิพิน เทียกี (Dr Vipin Tyagi) ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของเอซ กล่าวว่า “เอซนำเสนอโซลูชันรีไซเคิลแบตเตอรีลิเธียม-ไอออนที่ปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์ เพื่อขจัดความกังวลทั้งหมด ส่งเสริมซัพพลายเชนในพื้นที่ และมอบความน่าเชื่อถือของวัสดุแบตเตอรีที่มีคุณค่า การยกระดับเทคโนโลยีของเราในระดับสากลจะช่วยส่งเสริมการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างยั่งยืนในการเดินทางและการผลิต”

เอซจะใช้เงินทุนและร่วมมือกับนักลงทุนทางกลยุทธ์และนักลงทุนทางการเงิน เพื่อจัดตั้งโรงงานตามที่วางแผนไว้

ทั้งนี้ เอซเป็นผู้บุกเบิกระดับแถวหน้าในการรีไซเคิลด้วยกรรมวิธีโลหวิทยาสารละลายกับแบตเตอรี่แบบตะกั่ว-กรด และได้นำเทคโนโลยีของบริษัทมาใช้แล้วในระดับพาณิชย์ร่วมกับผู้รีไซเคิลและผู้เล่นระดับแนวหน้าในอุตสาหกรรม โดยมีแผนในการเดินเครื่องที่โรงงานแห่งใหม่ทั่วเอเชีย ยุโรป และตะวันออกกลางภายในต้นปี 2566


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save