GULF ผนึกรัฐวิสาหกิจจีน SHK เซ็น MOU กฟผ. รับซื้อไฟฟ้าพลังงานน้ำ สปป.ลาว 770 เมกะวัตต์


บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จีดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (GULF) แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565 ว่า บริษัทฯ และ Sinohydro (Hong Kong) Holding Ltd. (SHK) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Power Construction Corporation of China Ltd. (POWERCHINA) มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจรับซื้อไฟฟ้า (Tariff MOU) ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ Pak Lay กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เรื่องความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าใน สปป.ลาว และเป็นไปตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 61-80 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1)

น.ส.ยุพาพิน วังวิวัฒน์ กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จีดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (GULF) กล่าวว่า บริษัทฯ ขอแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทราบว่า เมื่อวันที่ 24 ม.ค.2565 บริษัทฯ และ Sinohydro (Hong Kong) Holding Ltd. (SHK) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Power Construction Corporation of China Ltd. (POWERCHINA) ซึ่งมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ร่วมกันลงนามบันทึกความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้า (Tariff MOU) สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ Pak Lay กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เรื่องความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าใน สปป.ลาว และเป็นไปตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1) ทั้งนี้บริษัทฯ และ SHK มีแผนที่จะดำเนินการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อพัฒนาโครงการฯ ซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำโขง เมืองปากลาย แขวงไชยะบุรี สปป.ลาว มีกำลังการผลิตติดตั้ง 770 เมกะวัตต์ซึ่งมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) ในวันที่ 1 ม.ค.75 โดย กฟผ. จะเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการในอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ย 2.6989 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง ซึ่ง บริษัทร่วมทุนจะดำเนินการเจรจารายละเอียดเงื่อนไข และลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าร่วมกับ กฟผ. ต่อไป

สำหรับโครงการฯ เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบน้ำไหลผ่านตลอดปี (Run-of-the-River) ที่ไม่มีการกักเก็บน้ำในรูปแบบของเขื่อนประเภทอ่างเก็บน้ำ (Reservoir) และไม่มีการเบี่ยงน้ำออกจากแม่น้ำโขง แต่ใช้การไหลของน้ำตามธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า โดยที่ปริมาณน้ำไหลเข้าเท่ากับปริมาณน้ำไหลออก ดังนั้น โครงการฯ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำในแม่น้ำโขง การเข้าลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำดังกล่าว เป็นการตอบสนองนโยบายของภาครัฐที่มุ่งสู่พลังงานสะอาด ภายหลังการประชุม COP26 ที่ประเทศไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ โดยตั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ( Carbon Neutral) ภายในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ.2593) และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 (พ.ศ.2608)

โดยบริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Cimate Change) และการลดการปล่อยก๊ซเรือนกระจก (Decarbonization) โดยจะมุ่งเน้นการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ และทิศทางพลังงานโลกที่มีเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊ซเรือนกระจก เพื่อต่อต้านผลกระทบเชิงลบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ยังสอดคล้องกับการลงทุนในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของบริษัทฯ ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด โดยเฉพาะธุรกิจศูนย์ข้อมูล (Data Center) ซึ่งลูกค้ารายใหญ่อย่าง Hyperscaler มีความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานสะอาดเป็นหลัก โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามทิศทางพลังงานโลก


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save