หัวเว่ย (Huawei) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Huawei Day 0 Green Forum ภายใต้หัวข้อ “จุดประกายอนาคต” (Lighting up the Future) ในฐานะผู้นำการประชุมโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (MWC) 2565 ณ เมืองบาร์เซโลนา ดร.ฟิลิป ซอง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของหัวเว่ย แคเรียร์ (Huawei Carrier) ขึ้นกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการพัฒนาสีเขียว” ซึ่งระบุว่า “การพัฒนาสีเขียวกลายเป็นคำติดปาก เช่นเดียวกับกลศาสตร์คลาสสิกของนิวตัน ไปจนถึงทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ วิวัฒนาการของมันจะวนเวียนอยู่ในระหว่างความเข้าใจผิดและความจริง เราต้องก้าวข้ามความเข้าใจผิดทั้ง 5 ประการโดยเร็วที่สุด เพื่อเร่งดำเนินการพัฒนาสีเขียวของอุตสาหกรรม ICT”
ความเข้าใจผิดประการแรก : อุตสาหกรรม ICT มีส่วนทำให้เกิดการปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้น
รายงาน SMARTer2030 ของโครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมโลก (GeSI) ระบุว่า คาดว่าอุตสาหกรรม ICT จะคิดเป็นเพียง 1.97% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกภายในปี 2573 ที่สำคัญกว่านั้น อุตสาหกรรมอื่นคาดว่าจะลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนลง 20% ด้วยการใช้เทคโนโลยี ICT ซึ่งมีปริมาณรวมมากกว่าถึง 10 เท่าของการปล่อยคาร์บอนของอุตสาหกรรม ICT ค่าการการลดคาร์บอนไดออกไซด์นี้เรียกว่า คาร์บอนแฮนด์พริ้นท์ (Carbon handprint) โดยขนาดของมันทำให้โครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT มีความสำคัญมากขึ้นในยุทธศาสตร์ระดับชาติ หัวเว่ยเองคาดการณ์ว่า 1 ยอตตะไบต์ของข้อมูลทั่วโลกจะถูกจัดเก็บบนคลาวด์ภายในปี 2573 ซึ่งหมายความว่าสามารถลดการปล่อยปริมาณคาร์บอนได้ 150 ล้านตันต่อปี หากโครงสร้างพื้นฐานในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบออปติกทั้งหมดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ค่าการลดคาร์บอนไดออกไซด์จะมีปริมาณจะเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 200 ล้านต้น ซึ่งมากพอที่จะครอบคลุมพื้นที่ทั่วทวีปยุโรป
ความเข้าใจผิดประการที่ 2: การมุ่งเน้นการปล่อยมลพิษในห่วงโซ่อุปทานมากเกินไป โดยมองว่าเป็นสาเหตุที่ใหญ่ที่สุดของการปล่อยคาร์บอนสำหรับอุปกรณ์เครือข่าย
ตามที่ ดร.ซองอธิบายระหว่างการนำเสนอ หากดูวงจรชีวิตทั้งหมดของอุปกรณ์เครือข่าย มีการปล่อยคาร์บอนเพียง 2% เท่านั้นในระหว่างการผลิต ขณะที่อีก 80-95% เกิดขึ้นระหว่างการใช้งาน ดังนั้น ดร.ซองจึงเสนอแนะว่า หลักสำคัญในการลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรม ICT คือการนำเทคโนโลยีที่เปี่ยมนวัตกรรมมาใช้พัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
ความเข้าใจผิดประการที่ 3: การพัฒนาสีเขียวนั้นเป็นเรื่องของพลังงานสีเขียวเท่านั้น
แม้ว่าการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมจะมีความสำคัญต่อการพัฒนาสีเขียวในอุตสาหกรรม ICT แต่การปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานของเครือข่ายเทเลคอมอย่างเป็นระบบก็สร้างประโยชน์ได้มหาศาลเช่นกัน ดังนั้น หัวเว่ยจึงได้เปิดตัวโซลูชันสีเขียว 3 ระดับเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานของเครือข่ายในการประชุมครั้งนี้ด้วย “ไซต์งานสีเขียว เครือข่ายสีเขียว และการทำงานสีเขียว” (Green Site, Green Network, and Green Operation) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายบรรลุเป้าหมาย “ได้บิตมากกว่า ด้วยวัตต์น้อยลง” (More Bits, Less Watts)
ความเข้าใจผิดประการที่ 4: ประสิทธิภาพพลังงานของเครือข่ายคือผลรวมของประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์เทเลคอมที่เครือข่ายนั้นใช้
การประเมินประสิทธิภาพพลังงานของชุดอุปกรณ์เพียงชุดเดียว ย่อมไม่เพียงพอสำหรับการวางแผนตามสถานการณ์และการตัดสินใจดำเนินโครงการก่อสร้างได้อย่างครอบคลุม ที่ผ่านมาหัวเว่ยได้แนะนำให้มีการจัดตั้งระบบตัวบ่งชี้แบบมาตรฐาน (NCI) ที่เป็นแบบอย่างเดียวกัน เพื่อให้สามารถประเมินและกำหนดนโยบายประหยัดพลังงานได้อย่างแม่นยำสำหรับทั้งเครือข่าย ด้วยการใช้ตัวชี้วัดประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์สื่อสารหลัก, อุปกรณ์สนับสนุนที่ไซต์งาน, เครือข่ายขนส่ง และศูนย์ข้อมูล
ความเข้าใจผิดประการที่ 5: การประหยัดพลังงานไม่ควรส่งผลกระทบต่องประสิทธิผลเครือข่ายในด้านใด ๆ เลย
ความเป็นจริงคือฟีเจอร์พลังงานต่าง ๆ นั้นส่งผลกระทบต่อตัวชี้วัดเครือข่าย อย่างไรก็ตาม เราสามารถนำฟีเจอร์เหล่านี้มาปรับใช้ด้วยการลดอัตราสูงสุดและตัวชี้วัดอื่น ๆ โดยไม่ส่งผลต่อประสบการณ์ของผู้ใช้จริง ในเยอรมนีมีการใช้โซลูชันปิดระบบแบบอัจฉริยะในห้างสรรพสินค้า ณ เวลาเที่ยงคืน ซึ่งแม้ว่าจะทำให้อัตราสูงสุดลดลงเล็กน้อย แต่ก็ลดการใช้พลังงานตามสถานที่เหล่านี้ได้มากถึง 10% โดยที่ผู้ใช้ไม่ได้รับผลกระทบ
ในการกล่าวสรุปปิดงาน ดร.ซองได้มอบคำแนะนำ 5 ประการสำหรับการพัฒนาสีเขียวในภาคอุตสาหกรรม ICT: “ประการแรกคือเราควรพัฒนาอุตสาหกรรม ICT อย่างแข็งขันเพื่อเอื้อให้เกิดการพัฒนาสีเขียวในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ประการที่สอง เราต้องหันมาใส่ใจการปล่อยคาร์บอนของโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ในระหว่างการใช้ด้วย มิใช่แค่ระหว่างการผลิต ประการที่สาม ระบบโซลูชัน “ไซต์งานสีเขียว เครือข่ายสีเขียว และการทำงานสีเขียว” จะช่วยให้ผู้บริหารเครือข่ายสามารถปรับปรุงความจุเครือข่ายได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงประหยัดพลังงานที่ใช้ต่อบิตเพื่อบรรลุเป้าหมาย “ได้บิตมากกว่า ด้วยวัตต์น้อยลง” ประการที่สี่ เราจะต้องจัดตั้งระบบตัวชี้วัดประสิทธิภาพพลังงานที่แบบอย่างเดียวกันเพื่อให้สามารถเข้าใจถึงปัญหาหลักๆ ในการใช้พลังงาน และประการที่ห้าก็คือ จำนวนวัตต์ที่ใช้ในขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ใช้”
การประชุม MWC22 ณ เมืองบาร์เซโลนา จะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. จนถึง 3 มี.ค. ที่บาร์เซโลนา ประเทศสเปน โดยหัวเว่ยจะร่วมนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชันต่าง ๆ ที่บูธ 1H50 ในฟีรา แกรน วีอา ฮอลล์ 1 (Fira Gran Via Hall) ด้วยการร่วมมือกับผู้ให้บริการทั่วโลก, ผู้เชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรม และผู้นำทางความคิด เราจะพูดคุยถึงประเด็นต่าง ๆ เช่น แนวโน้มของอุตสาหกรรม, แนวทางในอนาคต และการพัฒนาสีเขียว เพื่อสร้างวิสัยทัศน์สำหรับอนาคตของเครือข่ายดิจิทัล สามารถรับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://carrier.huawei.com/en/events/mwc2022