PEA ร่วมกับ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) และเดลต้า ยกระดับการชาร์จรถไฟฟ้าทั่วไทย –หนุนแผนรัฐมีรถไฟฟ้า 1.2 ล้านคัน ในปี ’79


การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) จับมือบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เดินหน้าสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้า (EV) สถานีชาร์จ และแอปพลิเคชันของ PEA สำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อเร่งผลักดันให้เกิดการใช้ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ผ่านการแบ่งปันข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าจากมิตซูบิชิ มอเตอร์ส และที่ตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของเดลต้า โดยสามารถใช้งานผ่านแอปพลิเคชันของ กฟภ. เพื่อค้นหาและเข้าใช้งานเครือข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของเดลต้าที่ครอบคลุมทั่วไทยได้อย่างง่ายดาย

MOU
จากซ้าย เลิศชาย แก้ววิเชียร ผู้ช่วยผู้ว่าการธุรกิจและการตลาด PEA, โมะริคาซุ ชกกิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บจก. มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) และแจ็คกี้ จาง ประธานบริหาร บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย)

เลิศชาย แก้ววิเชียร ผู้ช่วยผู้ว่าการธุรกิจและการตลาด การไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค (PEA) กล่าวว่า PEA สนองนโยบายด้านยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้ครอบคลุมเส้นทางการคมนาคมในเส้นทางหลัก ทุก 100 กิโลเมตร ทั่วประเทศ จำานวน 62 สถานี ภายในปี พ.ศ. 2564 เพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าผ่าน PEA’s Mobile Application โดยผู้ใช้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสามารถค้นหาสถานี จองคิว สั่งชาร์จ และหยุดชาร์จ ได้อย่างง่ายดาย

โมะริคาซุ ชกกิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) มีความ ยินดีที่ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค และเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) โดยบริษัทฯ เชื่อมั่นว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะผลักดันให้เกิดการขยายจำนวนสถานีชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงรถพีเอชอีวีไปทั่วประเทศไทยอย่างรวดเร็ว เพิ่มความสะดวกสบายคลายข้อกังวลในเรื่องของข้อจำกัดด้านระยะทางการขับขี่ เป็นการส่งเสริมให้คนไทยหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น

“ความร่วมมือครั้งนี้ ระหว่างมิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) กับพันธมิตรที่มีความแข็งแกร่งและเป็นองค์กรชั้นนำด้านธุรกิจพลังงานไฟฟ้าอย่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการค้นหาสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ผ่านแอปพลิเคชันของ กฟภ. และช่วยมอบความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย ในการติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านให้กับผู้ใช้รถยนต์มิตซูบิชิ เอาต์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ที่ไม่ใช่เป็นเพียงรถเอสยูวีแบบปลั๊กอินไฮบริด รุ่นแรกของโลกเท่านั้น แต่ยังเป็นรถพีเอชอีวีที่ขายดีที่สุดในโลกอีกด้วย และสามารถใช้ได้ทั้งพลังงานไฟฟ้าและน้ำมัน” โมะริคาซุ ชกกิ กล่าว

แจ็คกี้ จาง ประธานบริหาร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ ร่วมงานกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และมิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) เพื่อนำประเทศไทยสู่การขับขี่รถยนต์ที่ใช้พลังงานสะอาดและ มอบประสบการณ์การขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าที่สะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น ด้วยความสามารถหลักอันโดดเด่นด้านการแปลงกระแสไฟฟ้าและ การจัดการพลังงานของเดลต้าฯ ทำาให้เราสามารถพัฒนาโซลูชันการชาร์จประสิทธิภาพสูง พร้อมมาตรฐานความปลอดภัยที่ผ่านการใช้งานจริงและได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งที่ผ่านมาเดลต้าฯ ได้รับความไว้วางใจจากผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าระดับโลกอย่างมิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) รวมถึงผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก

สำหรับการดำเนินงานของทั้ง 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย การไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค จะให้การสนับสนุนการใช้งานแอปพลิเคชันของ PEA และมอบบริการตรวจสอบระบบไฟฟ้าแรงต่ำ ณ สถานที่ติดตั้งจริง (ที่อยู่อาศัย และสำานักงาน) รวมถึงการติดตั้งระบบไฟฟ้าเพื่อเตรียมพร้อมสำาหรับ ที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ขณะที่มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จะให้ข้อมูลด้านการตลาดและผลิตภัณฑ์รถยนต์ไฟฟ้าประเภทปลั๊กอินไฮบริด พีเอชอีวี ข้อมูลสถานีชาร์จ (สถานที่ตั้งและชนิดของเครื่องชาร์จ) และร่วมพัฒนา แบ่งปันฐานข้อมูลความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าให้กับ PEA

ส่วนเดลต้าฯ ภายหลังการวางจุดตำแหน่งสถานีชาร์จของเดลต้าฯ ผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าสามารถใช้แอปพลิเคชันของ PEA เพื่อดำนินการจอง สั่งงาน การเริ่มต้น และหยุดชาร์จไฟ ตลอดจนชำาระเงินผ่านแอปพลิเคชัน ภายใต้ความช่วยเหลือและสนับสนุนจากเดลต้าฯ แล้ว เดลต้าฯ จะส่งข้อมูล จากเครื่องชาร์จไปยังเซิร์ฟเวอร์ของ PEA ตามมาตรฐาน OCPP (Open Charge Point Protocol)

ความร่วมมือของ PEA และ 2 บริษัทชั้นนำในครั้งนี้ ช่วยสนับสนุนแผนพัฒนาด้านพลังงานไฟฟ้าของรัฐบาลไทย ที่กำหนดเป้าหมายให้มีรถยนต์ไฟฟ้า 1.2 ล้านคัน (ทั้งประเภทปลั๊กอินไฮบริดและใช้แบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว) บนท้องถนนภายในปี พ.ศ. 2579 โดยทั้ง 3 พันธมิตรจะร่วมมือกันเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ขับขี่ชาวไทย ทั้งใน เรื่องความรู้พื้นฐานของระบบรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานด้านการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าต่อไป


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 103 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2564 คอลัมน์ Automotive โดย กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save